ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กรมการจัดหางานยันไทยมีความพร้อมแก้แรงงานต่างด้าวขาดแคลน ส่งดีมานด์นำเข้าตาม MOU แล้วเกือบ 1.5 แสนคน และผ่อนผันให้แรงงานเดิมอยู่ต่อ
วันที่ 6 เมษายน 2565 จากกรณีแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้ประชาชนมีความกังวลในเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งการตั้งขอสังเกตถึงกระบวนการนำเข้าแรงงานข้ามชาติว่ามีความพร้อมและความรวดเร็วเพียงพอหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีการบริหารจัดการอย่างป็นระบบ และคำนึงถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานของนายจ้าง สถานประกอบการ และความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
1. การเปิดให้นำเข้าแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) มาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU
ล่าสุดมีการยื่นดีมานด์ขออนุญาตจ้างคนต่างด้าวคนตามระบบ MOU แล้ว 167,961 คน โดยแบ่งเป็นนายจ้างที่มีความต้องการจ้างแรงงานสัญชาติเมียนมา 117,029 คน กัมพูชา 38,933 คน และลาว 11,999 คน มีการอนุญาตตามคำร้องและส่งให้ประเทศต้นทางรวม 144,709 คน ซึ่งแรงงานสัญชาติกัมพูชาและลาวมีการทยอยเข้ามามาทำงานตาม MOU แล้วอย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 6 พันคน
อย่างไรก็ดีแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาซึ่งเป็นที่ต้องการของนายจ้างมากที่สุด ยังคงติดอุปสรรคด้านความพร้อมในการจัดส่งแรงงานจากผลกระทบความไม่สงบภายในประเทศเมียนมา ซึ่งการนำเข้าแรงงานข้ามชาติถือเป็นความร่วมมือ 2 ฝ่าย ทั้งประเทศไทย และประเทศต้นทางของแรงงาน ดังนั้น ฝ่ายไทยไม่สามารถแก้ไขให้ได้
2. การผ่อนผันอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) ที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน 2,132,469 คน สามารถขออนุญาตทำงานและขออยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ
เป็นทั้งการรักษาจำนวนแรงงานที่มีอยู่ในประเทศ และเพิ่มจำนวนแรงงานไปพร้อมกัน ส่วนการตั้ง One Stop Service ณ ประเทศต้นทาง เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เพราะเกี่ยวข้องถึงการบริหารจัดการของรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ
นายไพโรจน์กล่าวด้วยว่า ขอความร่วมมือนายจ้างหรือสถานประกอบการที่คิดจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ให้คำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของคนในประเทศ ลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่จ้างแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาโดยผิดกฏหมาย
“กรมการจัดหางานมีกระบวนการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมาตรการใช้กำลังแรงงานที่มีอยู่ในประเทศเป็นลำดับแรก โดยมีการวางแผนให้ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวในระบบการทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีในวาระต่าง ๆ หากดำเนินการตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องหลบซ่อน มีสวัสดิการและสิทธิตามกฎหมายแรงงานไม่ต่างจากคนไทย” อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...