ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

11 พฤษภาคม 2565 : ขึ้นค่าแรงทุบ เศรษฐกิจบอบช้ำ ย้ายฐานผลิต-ลงทุนโรบอต 4 แสนล้านแทนคน , ประชาชาติธุรกิจ

สืบเนื่องจากมหันตภัยไวรัสร้ายเริ่มแพร่ระบาดเมื่อ 2 ปีกว่าผ่านมา จึงทำให้ธุรกิจทั้งระบบล้มหายตายจาก บางองค์กรต้องปรับโครงสร้างขนาดองค์กรให้เล็กลง ขณะที่บางองค์กรจำต้องยุบแผนก หน่วยงาน จนท้ายที่สุดจึงเริ่มใช้เอาต์ซอร์ซ และหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนกำลังคน จนทำให้แรงงานหลายภาคส่วนต้องอพยพถิ่นฐานกลับต่างจังหวัด


ไม่เว้นแม้แต่แรงงานต่างด้าวก็ต้องเดินทางกลับประเทศ ซึ่งถึงทุกวันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากทั่วโลก และประเทศไทยทำท่าว่าจะดีขึ้น แต่กลับมีภัยสงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ จนทำให้ตลาดราคาน้ำมันโลก และตลาดราคาน้ำมันในประเทศไทยเกิดความผันผวน กระทั่งส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยจำต้องหยุดชะงักอีก


ยิ่งมาบวกกับการเรียกร้องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่ต้องการปรับค่าแรงในอัตรา 492 บาทต่อวัน ยิ่งทำให้เกิดความกังวลยิ่งขึ้นด้วยว่าอนาคตของภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่มีจำนวนแรงงานตั้งแต่ 5,000-10,000 คนขึ้นไปคงตกที่นั่งลำบาก


หลายอุตสาหกรรมคงต้องเปิดโครงการ “จำใจจาก” หรือคงต้องปลดพนักงานบางส่วน เพื่อหันไปใช้หุ่นยนต์แทนกำลังคนโดยเร็ว


ค่าแรงปัจจัยเสี่ยงย้ายฐานผลิต


“อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา” กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด บริษัทที่ปรึกษา และพัฒนาผู้นำอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นับจากนี้ไปการบริหารองค์กรยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังคนเยอะอีกต่อไปแล้ว เพราะประสบการณ์จากโควิด-19 ทำให้ผู้นำองค์กรรู้แล้วว่าวิธีการทำงานแบบไฮบริด (hybrid working) เป็นวิธีทำงานดีที่สุด

 

“ผมมองว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาทที่จะมีผลราวเดือนสิงหาคม-กันยายน แม้ทุกคนจะทราบดีว่าถ้าเกิดปรับค่าแรงกันจริง ๆ คงไม่น่าจะถึงในอัตรานี้ แต่กระนั้นก็ทำให้ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำเป็นต้องเตรียมรับมือเพื่อนำหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนกำลังคน

 

ผมว่าตรงนี้น่าจะทำให้แรงงานอีกบางส่วนหายไป ขณะเดียวกันอาจทำให้บางอุตสาหกรรมหาทางออกด้วยการย้ายฐานการผลิตไปผลิตที่ประเทศอื่นที่ค่าแรงถูกกว่า”


ขณะที่บางอุตสาหกรรม หรือบางบริษัทที่มีจำนวนแรงงานไม่มาก อาจปรับโครงสร้างองค์กร โดยหันไปสร้าง project team มากขึ้น ในการหมุนเวียน และสร้างหัวหน้าทีมขึ้นมาเพื่อดูแล และทำโปรเจ็กต์นั้น ๆ ให้แล้วเสร็จ คล้าย ๆ กับการลงแขกของภาคการเกษตร


ดังนั้น ภาพของการรับคนเพิ่มในช่วงเปิดประเทศ จึงมีแต่ภาคธุรกิจบริการ ร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรมท่องเที่ยว แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น ผมมองว่ายังไงเขาต้องนำหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนแน่นอน


เซ็นทรัลใช้หุ่นยนต์เสริมทัพ


“ฤดี เอื้อจงประสิทธิ์” Head of People Branding & Communication กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พนักงานของกลุ่มเซ็นทรัลมีกว่า 7 หมื่นคน เราให้ความสำคัญกับการผสมผสานความหลากหลายในทุก ๆ เจเนอเรชั่น ทั้ง Gen Y Gen X และ Baby Boom


สำหรับแผนบริหารคนปี 2565 กลุ่มเซ็นทรัลตั้งใจปรับเปลี่ยนการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยมุ่งสู่การเป็น digitalize transformation ด้วยการนำเทคโนโลยี และการสื่อสารผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มมาปรับใช้กับการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความคล่องตัว อันสอดคล้องกับเทรนด์การบริหารคนยุคใหม่


“ซึ่งเราจะสื่อสารภายในองค์กรมากขึ้น ทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีมาช่วย เช่น workplace, chat bot รวมถึงระบบ digital HR ที่สามารถให้พนักงานแจ้งเรื่องขาดงาน ลางาน การพักร้อน และการเบิกสวัสดิการต่าง ๆ สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น”


ขณะเดียวกัน ธุรกิจรีเทลของกลุ่มซ็นทรัลตัดสินใจนำหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะ (AI service robot) ที่ตั้งชื่อว่า “น้องเต็มใจ” มาช่วยเสริมทัพ ตามนโยบาย digital transformation ของบริษัท เพื่อช่วยพนักงานที่ท็อปส์ มาร์เก็ต และเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 21 สาขาทั่วประเทศ


ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้หุ่นยนต์ไม่ใช่การแทนที่พนักงาน แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าเชื่อมโลก robotics จนทำให้ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลเป็น center of life ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในยุคโควิด-19 ที่ให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยหุ่นยนต์จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพนักงานแนะนำสินค้าต่าง ๆ ให้ลูกค้า ทั้งยังเป็นผู้ช่วยนำทางลูกค้าไปยังแผนกที่ต้องการ


แสนสิริบริหารต้นทุน-ไม่ปลดพนักงาน


“อุทัย อุทัยแสงสุข” ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วิกฤตโควิด-19 ช่วง 2 ปีผ่านมากระทบหลาย ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งแสนสิริมีการปรับตัวมาโดยตลอด ด้วยการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ทั้งนั้นจะต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น


เราไม่มีนโยบายเอาคนออก ถึงแม้ที่ผ่านมาเป็นช่วงโควิด-19 จะระบาดหนัก และมีการล็อกดาวน์ จนทำให้การดำเนินการก่อสร้างต้องหยุดชะงักก็ตาม


แต่เราจะใช้วิธีบริหารต้นทุนการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด และสามารถจ้างคนได้ ตรงนี้คือความท้าทายอย่างมากในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้ ดังนั้น การออกแบบดีไซน์ที่พักอาศัยจึงต้องทำให้เหมาะสมกับตลาดที่มีอำนาจซื้อในช่วงนี้ เพราะเรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนในองค์กร เพื่อให้มีทักษะตอบโจทย์ธุรกิจในปัจจุบัน


ขณะนี้แสนสิริมีพนักงาน 4,000 คนที่เป็นพนักงาน full time พนักงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็น Gen Y และ Z กว่า 70% ที่สำคัญ ตอนนี้บริษัทไม่มีนโยบาย early retire และเกณฑ์เกษียณอายุคือ 60 ปี ถึงแม้พนักงานบางคน 60 ปีแล้ว แต่มีใจอยากทำงาน และยังมีความสามารถ เราจะพิจารณาให้ทำงานต่อได้เป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งปัจจุบันมีอยู่พอสมควร


EEC ชี้ 5 ปีลงทุนหุ่นยนต์ 4 แสนล้าน


“ดร.ชิต เหล่าวัฒนา” ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ EEC) กล่าวว่า ตามแผนการสร้างดีมานด์สำหรับความต้องการใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติภายในประเทศ ขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น


โดยตั้งเป้า 5 ปีจะต้องมีการลงทุน 400,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีการลงทุนมาแล้วประมาณ 110,000 ล้านบาท ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์(system integrators : SI) มีจำนวนเพิ่มเป็น 300 บริษัท จากเดิมมีเพียงประมาณ 40 บริษัท


โดยนับตั้งแต่ปี 2564 ตามแผนคือการผลักดันให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ใน EEC ประมาณ 9,000-10,000 โรงงานลงทุนปรับเปลี่ยนตัวเองเป็น 4.0 ทั้งการลงทุนเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการนำ 5G ดิจิทัล หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมาใช้


นอกจากนั้น ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รายงานยอดขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพจะเห็นได้ว่าการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในปี 2564 อยู่ที่ 7,910 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 83% จำนวน 53 โครงการ จากปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 4,320 ล้านบาท จำนวน 45 โครงการ


และการลงทุนด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในปี 2564 อยู่ที่ 80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100% จำนวน 5 โครงการ จากปี 2563 ซึ่งไม่มีการลงทุนเลย หรือ 0 บาท 0 โครงการ

 



12/May/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา