ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

12 ตุลาคม 2565 : ก.แรงงาน เร่งตามเงินประกัน ธ.ก.ส. จ่ายเข้าบัญชีแรงงานเก็บเบอร์รี่สัปดาห์หน้า , เดลินิวส์

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) และนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) 


เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือจากนายธีรศักดิ์ ภักดีนพรัตน์ ชาว จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นตัวแทนที่พาคนงานเก็บเบอร์รี่ที่ฟินแลนด์ 22 คน และที่สวีเดน 27 คน รวมทั้งสิ้น 49 คน เข้ายื่นหนังสือต่อ รมว.แรงงาน เพื่อเรียกร้องให้ช่วยเหลือกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการ 3 ประเด็น คือ 


1.ให้นำเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศไปจ่ายให้คนงานคนละ 30,000 บาท 


2.กกจ. ในฐานะหน่วยที่จัดส่งการส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ ควรกำกับดูแลบริษัทไม่ให้หลอกลวงคนงาน และควบคุมจำนวนแรงงานที่ส่งไปไม่ให้มากเกินความเป็นจริง เพราะทำให้แรงงานมีรายได้กลับมาน้อย 


3. ติดตามค่าจ้างค้างจ่ายจากบริษัท อาร์กติก


นายสุรชัย กล่าวว่า ตามข้อเรียกร้อง ทางกกจ.ขอชี้แจงว่า


ในประเด็นที่ 1 กกจ.ไม่สามารถนำเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศมาจ่ายให้กับคนงานได้ เนื่องจากผิดวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่ในการจัดส่งแรงงานไปฟินแลนด์ บริษัทผู้ประสานงานในประเทศไทยต้องมีการวางเงินประกันรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายให้คนงานไทยคนละ 30,240 บาท โดยวางหลักประกันการเดินทาง (Bank Guarantee) ไว้กับธนาคาร ธ.ก.ส. ซึ่งสามารถนำมาจ่ายให้กับคนงานที่มีรายได้ไม่ถึงจำนวนเงินประกันรายได้ 


ประเด็นที่ 2 เรื่องที่บริษัทได้โควตาคนงานเดินทางไปเป็นจำนวนมากนั้น เรื่องนี้มีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่ายคือ ประเทศปลายทาง กรมการจัดหางาน และกรมการกงสุล ถึงจำนวนแรงงานที่ต้องจัดส่ง โดยในปีนี้ ประเทศต้นทางมีการร้องขอให้ไทยจัดส่งแรงงานมากขึ้น ด้วยเหตุที่ปีนี้ไม่มีแรงงานจากยูเครนเข้าไปเก็บผลไม้ป่า 


ประเด็นที่ 3 เรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ขณะนี้ทางสถานทูตที่ฟินแลนด์กำลังติดตาม ขณะที่ กกจ.ก็ได้ติดตามบริษัทผู้ประสานงานฝ่ายไทยที่ส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศอีกทางหนึ่ง

 

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม จากการแบ่งกลุ่มซักถามข้อมูล ในส่วนของคนงานที่ไปทำงานที่ฟินแลนด์ ได้มีการเจรจากับตัวแทนผู้ประสานฝ่ายไทย ได้ข้อตกลงว่า กกจ.จะเร่งดำเนินการช่วยเหลือนำเงินที่ทางบริษัทวางเป็นหลักประกันไว้ที่ ธ.ก.ส. นำมาชดเชยจ่ายให้กับแรงงานแต่ละคน ตามข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริงโดยจะโอนเข้าบัญชีให้ภายในสัปดาห์หน้า 


สำหรับกรณีคนงานที่ไปทำงานที่สวีเดน สหภาพแรงงานของสวีเดนได้มีเงินประกันรายได้ให้คนงานคนละ 24,000 โครน คิดเป็นเงินไทยกว่า 80,000 บาท กระทรวงแรงงานจะเร่งติดตามนำเงินในส่วนนี้ มาชดเชยให้กับแรงงานที่ได้รับรายได้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ทั้งนี้ แรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งเรื่องรายได้ สวัสดิการ ความเป็นอยู่ สามารถยื่นคำร้องเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในพื้นที่จังหวัดที่อาศัยอยู่ได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

 

ด้านนายธีรศักดิ์ ภักดีนพรัตน์ ชาว จ.อุดรธานี ตัวแทนคนงานเก็บเบอร์รี่ที่มายื่นหนังสือ กล่าวว่า วันนี้เข้าใจและพอใจประเด็นต่างๆ ที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ อธิบายให้ฟัง ในเรื่องของเงินประกันรายได้ โควตาการจัดส่ง และค่าจ้างค้างจ่าย และอธิบดี กกจ.ก็ได้รับปากว่าจะเร่งนำเงินที่บริษัทวางเป็นหลักประกันรายได้ไว้ที่ธนาคาร ธ.ก.ส.มาจ่ายให้กับคนงานภายในวันสัปดาห์หน้า ตนจึงขอขอบคุณกระทรวงแรงงาน ที่เป็นที่พึ่งของแรงงานได้อย่างแท้จริง



17/Oct/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา