ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

19 เมษายน 66 : แม้วิกฤติโรคระบาดจะคลี่คลาย แต่อย่าละเลย ‘แรงงานที่จำเป็น’ , ไทยรัฐออนไลน์

‘แรงงานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน’ (Essential workers หรือ Key workers) คือคนทำงานที่มีความสำคัญต่อชุมชนและสังคม ซึ่งนอกเหนือจากสถานการณ์ปกติที่พวกเขาต้องคอยทำงานเพื่อให้ผู้อื่นมีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันแล้ว พวกเขาก็ยังต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่แนวหน้าในช่วงวิกฤติ ภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ, การระบาดของโรคร้ายแรง ฯลฯ 


ตัวอย่างของอาชีพแรงงานที่จำเป็น ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข, แพทย์, พยาบาล, พนักงานดูแลเด็กและผู้สูงอายุ, พนักงานภาคสาธารณูปโภค, พนักงานภาคบริการ, พนักงานขนส่ง, พนักงานทำความสะอาด และอาชีพอื่นๆ ที่มีความสำคัญในการสร้างความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้คนทั่วไป


ILO เน้นย้ำความสำคัญของแรงงานที่จำเป็น


รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ชี้ว่า ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องปรับปรุงสภาพการทำงาน และรายได้ของแรงงานที่จำเป็น หลังจากที่พวกเขาเคยมีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤติโควิด-19


จากรายงาน World Employment and Social Outlook 2023: The Value of Essential Work ที่เผยแพร่เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2023 เน้นย้ำถึงขอบเขตทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ต้องพึ่งพาแรงงานที่จำเป็น รวมทั้งการที่พวกเขาถูกประเมินค่าต่ำเกินไป มีสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ เกิดการเข้าและออกจากอาชีพบ่อยครั้ง ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในภาคนี้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการให้บริการขั้นพื้นฐานแก่คนในสังคม 


โดยรายงานระบุว่า การปรับปรุงสภาพการทำงาน และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ (ทั้งการผลิต, ขนส่ง และบริการ) ภาคการดูแลสุขภาพ และภาคส่วนสำคัญอื่นๆ ให้มากขึ้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคม


แรงงานที่จำเป็นพบได้ใน 8 กลุ่มอาชีพหลัก คือ คนทำงานในอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ, คนทำงานด้านสุขภาพ, พนักงานร้านค้าปลีก, พนักงานรักษาความปลอดภัย, คนทำงานใช้แรงกาย, พนักงานทำความสะอาดและสุขาภิบาล, พนักงานขนส่ง, ช่างเทคนิคและพนักงานธุรการ


ในช่วงวิกฤติโควิด-19 แรงงานที่จำเป็น มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าอาชีพอื่นๆ โดยอัตราการเสียชีวิตนั้นมีแบบแผนแตกต่างกันไป เช่น คนทำงานในภาคขนส่งมีอัตราการตายสูงกว่าบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งการค้นพบนี้เผยให้เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OSH) ให้แก่แรงงานที่จำเป็น


จาก 90 ประเทศที่ ILO มีข้อมูล พบว่า ราว 52 เปอร์เซ็นต์ของการจ้างงานทั้งหมด เป็นการจ้างงานแรงงานที่จำเป็น แต่ในประเทศที่มีรายได้สูง สัดส่วนการจ้างแรงงานที่จำเป็นก็จะลดลงอยู่ที่ประมาณ 34 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เป็นเพราะประเทศที่มีรายได้สูง มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากกว่า และมีสัดส่วนคนทำงานในภาคการเกษตรน้อยกว่า


ส่วนประเทศที่มีรายได้น้อย มีแรงงานที่จำเป็นเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพ แต่ในประเทศที่มีรายได้สูง มีแรงงานจำเป็นในภาคส่วนนี้สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประเทศที่มีรายได้สูงยังต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติอย่างมากในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม และการทำความสะอาด


นอกจากนี้ ผู้หญิงยังถูกคิดเป็นสัดส่วน 38 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานที่จำเป็นทั้งหมดทั่วโลก และแม้ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมเพียงน้อยนิดในงานด้านการรักษาความปลอดภัยและการขนส่ง แต่ในงานที่สำคัญอย่างภาคสาธารณสุข มีผู้หญิงทำงานคิดเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 และงานภาคการค้าปลีกมีผู้หญิงทำงานอยู่กว่าครึ่งเลยทีเดียว


ในช่วงวิกฤติโควิด-19 แรงงานที่จำเป็น มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าอาชีพอื่นๆ โดยอัตราการเสียชีวิตนั้นมีแบบแผนแตกต่างกันไป เช่น คนทำงานในภาคขนส่งมีอัตราการตายสูงกว่าบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งการค้นพบนี้เผยให้เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OSH) ให้แก่แรงงานที่จำเป็น


ค่าจ้างต่ำ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน สภาพการทำงานที่ย่ำแย่


รายงานของ ILO ชี้ว่า กว่า 29 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานที่จำเป็นทั่วโลก ได้รับค่าจ้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้ว แรงงานที่จำเป็นมีรายได้น้อยกว่าอาชีพอื่นๆ ถึง 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่องว่างด้านค่าแรงนี้กว่า 2 ใน 3 เป็นผลมาจากระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่น้อยของแรงงานที่จำเป็น 


ในแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ มีสัดส่วนได้รับค่าจ้างต่ำถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ส่วนภาคทำความสะอาดอยู่ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ งานในภาคส่วนเหล่านี้มักจะจ้างแรงงานข้ามชาติจำนวนมากอีกด้วย โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้สูง


แรงงานที่จำเป็นเกือบ 1 ใน 3 มีสัญญาจ้างแบบชั่วคราว แม้ว่าจะมีความแตกต่างของประเทศและภาคส่วนงานอยู่ก็ตาม โดยในอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ แรงงานกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ มีสัญญาจ้างชั่วคราว และคนทำงาน 1 ใน 3 ที่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำความสะอาด ก็มีสัญญาจ้างชั่วคราวด้วยเช่นกัน


โดยทั่วไปงานทำความสะอาดและงานรักษาความปลอดภัย มักจะเป็นจ้างจากภายนอก (outsource) ซึ่งการจ้างงานลักษณะนี้ก็เริ่มคืบคลานไปยังภาคส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะงานคลังสินค้าและการดูแลสุขภาพ


รายงานของ ILO ชี้ว่า กว่า 29 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานที่จำเป็นทั่วโลก ได้รับค่าจ้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้ว แรงงานที่จำเป็นมีรายได้น้อยกว่าอาชีพอื่นๆ ถึง 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่องว่างด้านค่าแรงนี้กว่า 2 ใน 3 เป็นผลมาจากระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่น้อยของแรงงานที่จำเป็น


แรงงานที่จำเป็นมากกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ในประเทศที่มีรายได้น้อย มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน โดยเกือบ 42 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานที่จำเป็นทั่วโลก ทำงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ พวกเขายังมีตารางเวลางานที่ไม่สม่ำเสมออีกด้วย


เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานที่จำเป็นในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ขาดการคุ้มครองทางสังคม ซึ่งในประเทศที่มีรายได้น้อยนั้น การคุ้มครองทางสังคมก็มีอยู่อย่างจำกัด แรงงานที่จำเป็นในประเทศรายได้น้อย เข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมได้เพียงร้อยละ 17 เท่านั้น แต่ที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือ แรงงานที่จำเป็นที่ประกอบอาชีพอิสระในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด แทบจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมเลย


นอกจากนี้ พวกเขายังไม่ได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอ โดยมีแรงงานที่จำเป็นน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางระดับล่าง ที่ได้รับการฝึกอบรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา


แรงงานที่จำเป็นยังมีความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งอันตรายทางกายภาพและชีวภาพ รวมถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต ในช่วงที่เกิดโรคระบาด รวมถึงเกิดการล่วงละเมิดทางวาจาและการคุกคามแรงงานที่จำเป็นเพิ่มขึ้นอีกด้วย


การขาดแคลนตัวแทนเพื่อเป็นปากเป็นเสียง ก็เป็นปัญหาที่สำคัญด้วยเช่นกัน รายงานของ ILO ชี้ว่า อัตราการรวมกันเป็นสหภาพแรงงานของแรงงานที่จำเป็น ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ เป็นอย่างมาก


สร้างหลักประกันให้แก่แรงงานที่จำเป็น


“พนักงานดูแลสุขภาพ, แคชเชียร์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, พนักงานส่งของ, พนักงานไปรษณีย์, คนเดินเรือ, คนทำความสะอาด และคนอื่นๆ ที่จัดหาอาหารและสิ่งของจำเป็น ยังคงทำงานของพวกเขาวันแล้ววันเล่า แม้ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง” กิลเบิร์ต เอฟ ฮวงโบ (Gilbert F. Houngbo) ผู้อำนวยการใหญ่ ILO กล่าว 


“การให้คุณค่ากับแรงงานที่จำเป็นเหล่านี้ หมายถึง การทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับค่าจ้างที่เพียงพอ และทำงานในสภาพที่ดี โดยงานที่มีคุณค่าเป็นเป้าหมายสำหรับคนทำงานทุกคน แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานที่จำเป็นเหล่านี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่จัดหาสิ่งจำเป็นและบริการที่สำคัญ ทั้งในช่วงเวลาปกติ และช่วงเวลาที่เลวร้าย” 


เพื่อให้แน่ใจว่า บริการที่จำเป็น จะมีความต่อเนื่องในระหว่างการแพร่ระบาดในอนาคต หรือวิกฤติอื่นๆ เช่น ภัยธรรมชาติ รายงานของ ILO แนะนำให้ภาครัฐลงทุน หรือกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มกำลังการผลิต และทรัพยากรบุคคลของภาคส่วนเหล่านี้ให้มากขึ้น เนื่องจากการลงทุนที่ต่ำเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสุขภาพและอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ ก่อให้เกิดการขาดแคลนตำแหน่งงานที่มีคุณภาพ ซึ่งบ่อนทำลายทั้งความยุติธรรมทางสังคมและความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ


ILO แนะนำให้ภาครัฐลงทุน หรือกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มกำลังการผลิต และทรัพยากรบุคคลของภาคส่วนเหล่านี้ให้มากขึ้น เนื่องจากการลงทุนที่ต่ำเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสุขภาพและอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ ก่อให้เกิดการขาดแคลนตำแหน่งงานที่มีคุณภาพ ซึ่งบ่อนทำลายทั้งความยุติธรรมทางสังคมและความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ


นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเรียกร้องให้ :


ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการคุ้มครองอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OSH) ครอบคลุมทุกสาขาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและคนทำงานทั้งหมด มีการระบุหน้าที่และสิทธิที่ชัดเจน โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ตัวแทนคนทำงาน และนายจ้าง


เพิ่มค่าจ้างให้แรงงานที่จำเป็น และลดช่องว่างค่าจ้างระหว่างแรงงานที่จำเป็นกับอาชีพอื่นๆ ซึ่งอาจผ่านการเจรจาต่อรองโดยสหภาพแรงงาน หรือผ่านกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ


รับประกันชั่วโมงการทำงานที่ปลอดภัย และคาดการณ์ได้ ผ่านการเจรจาต่อรองร่วมกันโดยสหภาพแรงงาน หรือผ่านกฎหมายข้อบังคับต่างๆ


ปรับปรุงกฎหมายเพื่อแรงงานทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสถานะการจ้างงาน และข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ให้ได้รับความคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะการลาป่วยที่ได้รับค่าจ้าง


เพิ่มการเข้าถึงการฝึกอบรม เพื่อให้แรงงานที่จำเป็นสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการทำงาน

 

อ้างอิง :

World Employment and Social Outlook 2023: The value of essential work (ILO, March 2023)

Ensure decent work for key workers (ILO, 15 March 2023)



25/Apr/2023

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา