ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เปิดนโยบายพรรคการเมือง พรรคไหนให้สิทธิแรงงานอย่างไรบ้าง
วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงาน ปีนี้ 2566 มีการเลือกตั้งใหญ่ ไทยรัฐพลัส จึงเปิดนโยบาย พรรคก้าวไกล, พรรคเพื่อไทย, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังประชารัฐ ที่ยื่นต่อ กกต.มีเนื้อหากับสิทธิแรงงานอย่างไร
วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงาน แต่ปี 2566 นี้แตกต่างออกไป เป็นปีที่มีการเลือกตั้งใหญ่ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของคนไทยทุกคน เพราะหน้าตาของรัฐบาลที่มีส่วนสำคัญต่ออัตราค่าแรง ค่าครองชีพต่างๆ
ไทยรัฐพลัส ชวนชาวแรงงานทุกคนมาดูนโยบายของแต่ละพรรคที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงาน ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมนี้ ว่าแต่ละพรรคคิดยังไง ต้องการแก้ไขเพิ่มสิทธิ หรือแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเข้าคูหาครั้งนี้
สำหรับข้อมูลนโยบายที่ได้หยิบยกใส่มาในบทความชิ้นนี้อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เปิดเผยนโยบายหาเสียงของทุกพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 57 กำหนดให้พรรคการเมืองที่โฆษณานโยบายที่ต้องใช้จ่ายเงิน ชี้แจงข้อมูลต่อวงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ, ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย และผลกระทบและความเสี่ยงในการดำเนินนโยบาย ต่อ กกต.
สามารถดูนโยบายของทุกพรรคการเมืองที่ส่งให้กกต. ได้ที่ https://www.ect.go.th/ect_th/news_page.php?nid=20499
พรรคก้าวไกล
1.รัฐต้องจ้างงานคนพิการ 20,000 คน
2.สิทธิลาคลอด 180 วัน พ่อและแม่
3.ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน
4.ปรับค่าแรงขึ้นทุกปี เริ่มทันทีวันละ 450 บาท
5.ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเกินต้องได้โอที
6.แรงงานทุกกลุ่มตั้งสหภาพได้สอดคล้องหลักองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
7.ประกันสังคมถ้วนหน้าเจ็บป่วยได้เงินชดเชยและค่าเดินทางหาหมอ
8.แพลตฟอร์มเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนฟรีไม่จำกัด มีระบบจัดหางาน
9.คูปองเสริมทักษะและเปลี่ยนอาชีพ 5,000 บาทต่อปี
สำหรับ พรรคก้าวไกล นโยบายได้แบ่งไว้หลายหมวด ซึ่งข้อ 1-3 อยู่ในหมวด สร้างสังคมเท่าเทียม แต่เนื่องจาก 1 นโยบายมีความเกี่ยวพันกันในหลายมิติและทั้ง 3 ข้อนี้ก็จัดว่าเกี่ยวข้องกับแรงงานเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ข้อ 4-9 เป็นนโยบาย สวัสดิการทำงาน โดยพรรคก้าวไกลได้ระบุวงเงินที่จะใช้ไว้ 56,000,000,000 บาท ซึ่งเป็นเงินรัฐที่จะต้องสมทบให้กับประกันสังคมถ้วนหน้าและคูปองเสริมทักษะ (ตัวเลข ณ ปี 2567)
พรรคก้าวไกล ยังเขียนว่า ที่มาของงบประมาณในการทำเรื่องสวัสดิการทำงาน มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่และปรับปรุงภาษี ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 650,000 ล้านบาทต่อปี
โดยงบประมาณที่รัฐจะช่วยสมทบเงินประกันสังคมแบ่งเบาภาระ SME จากผลของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16,000 ล้านบาท จะใช้เพียงปีแรกเท่านั้น ดังนั้นงบประมาณจริงๆ ที่ใช้ต่อปีประมาณ 40,000 ล้านบาท
พรรคเพื่อไทย
1.ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท สำหรับในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า ไม่ใช้วงเงินงบประมาณ แต่จะสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตสูงในระดับที่เพียงพอทำให้นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างที่สูงได้
2.จบปริญญาตรี 25,000 บาท ส่วนนโยบายคนจบปริญญาตรี การดำเนินการจะมาจากการบริหารงบประมาณรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขนาดของรัฐราชการ แต่เพิ่มผลิตภาพ สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง
3.สนับสนุนและให้สิทธิประโยชน์การจ้างงานของผู้สูงอายุ วงเงินที่ต้องใช้ดำเนินการ คือ 500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและใช้สิทธิประโยชน์การจ้างงานผู้สูงอายุ ยืดอยู่การเกษียณ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพยังสามารถอยู่ในตลาดแรงงานได้
พรรครวมไทยสร้างชาติ
1.เพิ่มเงินสมทบภาครัฐให้แรงงานในระบบประกันสังคมมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท วงเงินที่ต้องใช้ 29,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แรงงานในระบบประกันสังคม ซึ่งงบในส่วนนี้ก็เป็นงบประมาณประจำปี
2.ช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดถึงอายุ 10 ปี แรงงานในระบบประกันสังคมจะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณในโครงการนี้ 4,000 ล้านบาท อยู่ในส่วนของกองทุนประกันสังคมไม่มีผลกระทบต่องบประมาณประจำปี หรือเงินกองทุนประกันสังคม
3.พัฒนาระบบจ้างงานรายชั่วโมง และระบบประกันสังคมถ้วนหน้าทุกอาชีพ โดยจัดทำระบบการจ้างงานรายชั่วโมงในระบบประกันสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานของคนรุ่นใหม่ และขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมทุกอาชีพ
4.ใช้มาตรการภาษีที่ใช้ให้ภาคเอกชนจ้างพนักงานผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น
5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในช่วงวัย
พรรคประชาธิปัตย์
1.ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน ดังนี้
ปรับอัตราค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ
ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองเด็กและสตรีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล
กำหนดสิทธิลาคลอดแก่แม่ ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และให้พ่อลาหยุดเพื่อร่วมดูแลลูกเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยได้รับเงินชดเชยค่าจ้างจากความร่วมมือระหว่างนายจ้างและสำนักงานประกันสังคม
ยกระดับการดำเนินงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจากเลิกกิจการให้ได้รับเงินชดเชย
ส่งเสริมให้มีศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในสถานประกอบการ
ส่งเสริมการรวมตัวของลูกจ้าง เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการตัวเอง
2.ขยายสิทธิและสวัสดิการของแรงงานนอกระบบ ด้วยการยกระดับสิทธิและสวัสดิการในประกันสังคม มาตรา 40
3.จัดให้มีระบบประกันสังคมถ้วนหน้า
4.ส่งเสริมให้มีการจ้างงานรายชั่วโมงในภาคธุรกิจบริการ เพื่อเปิดโอกาสในการหารายได้
5.ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและผู้พิการ
6.ปฏิรูประบบประกันสังคม
สำหรับ พรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนของนโยบายแรงงาน ไม่มีการระบุรายละเอียดงบประมาณและผลการวิเคราะห์นโยบายที่ใช้ในการประกาศโฆษณาไว้ แต่มีการชี้แจงในหมวดอื่น
ในส่วนของพรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐยังไม่ชัดเจนในเรื่องสิทธิของแรงงาน จึงไม่ได้หยิบยกขึ้นมากล่าวถึง
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...