ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

28 กพ. 67 : จับมือ 4 หน่วยงาน เพิ่มทักษะแรงงาน เข้าถึงประกันสังคม และสร้างฐานข้อมูลรองรับ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน , รัฐบาลไทย

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดตัวแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย วาระปี 2566 - 2570 โดยมี คุณออคตาเวียนโต ปาซาริบู รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และ สปป. ลาว นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย นายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 


ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานที่มีคุณค่าของประเทศไทยวาระปี 2566 - 2570 ในการนี้มี นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติ ผู้แทนองค์กรนายจ้างและลูกจ้าง ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ


นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานกล่าวเปิดงานเปิดตัวแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย หรือ Decent Work Country Programme วาระปี 2566 - 2570 ในวันนี้ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ ILO และไตรภาคี ที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ แผนงานและนโยบายของแต่ละประเทศ 


โดยกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายในประเด็นที่ไตรภาคีให้ความสำคัญสูงสุด แผนงาน Decent Work ฉบับนี้ถือเป็นแผนงานฯ ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย หลังจากแผนงานฯ ฉบับที่ 1 วาระปี 2562 - 2565 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาของแรงงานของประเทศไทยมาแล้ว 


โดยแผนงานฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดประเด็นความสำคัญ 3 ประการ คือ อนาคต เข้าถึง และเชื่อมต่อ ได้แก่ 1) อนาคต คือ การพัฒนาทักษะฝีมือตลาดแรงงานไทยให้ทันต่อตลาดและอุตสาหกรรมของโลกที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต 2) เข้าถึง คือ เสริมสร้างระบบประกันสังคม ให้สิทธิคุ้มครองในทุกกลุ่ม สร้างความมั่นคงให้แรงงานนอกระบบ กลุ่มเปราะบาง โดยสร้างโอกาสที่เท่าเทียม  และ 3) เชื่อมต่อ คือ พัฒนาฐานข้อมูล Big Data ระหว่างหน่วยงาน การเสริมความแข็งแกร่งในการจัดการข้อมูล ยกระดับการสื่อสารเชื่อมต่อในทุกด้าน ระหว่างหน่วยงานและสาธารณชน


นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลไทยและกระทรวงแรงงานมีการดำเนินการที่สอดคล้องและสนับสนุนแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า ภายใต้นโยบาย “ทักษะดี มีงานทำ ประกันสังคมเด่น เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” เข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม พัฒนาทักษะฝีมือในทุกระดับอย่างมีมาตรฐาน สร้างโอกาสอาชีพในทุกช่วงวัย ดูแลสวัสดิการ และรายได้ที่มั่นคง แก่แรงงานทุกกลุ่ม 


โดยมีเป้าหมายในการขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย ผมในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย วาระปี 2566 - 2570 ในความมุ่งมั่นของทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง และ ILO ที่จะร่วมมือกันดำเนินการตามแผนงาน Decent Work จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ


 “แผนงาน Decent Work จะไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยการดำเนินงานของกระทรวงแรงงานเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง ILO และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคม ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจากทุกท่าน 


ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยจะสามารถดำเนินงานตามกรอบบันทึกความเข้าใจได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ นอกจากนี้ แผนงานดังกล่าวยังให้ความสำคัญในการสร้างงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Jobs) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายๆ ภาคธุรกิจ เช่น การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาทักษะที่จะนำไปสู่ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน” นายพิพัฒน์ กล่าว



03/Mar/2024

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา