ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร
 
ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย
6 มีค. 67
 
 
ไม่กี่วันมานี้ ทนายได้รับโทรศัพท์สอบถามวิธีคืนรถยนต์แล้วไม่ถูกฟ้องเรียกค่าส่วนต่างต้องทำอย่างไรไม่ต่ำกว่า 10 สาย ซึ่งก็ได้แนะนำวิธีการและขั้นตอนไป แต่ก็ยังมีคำถามเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ 
 
 
อย่ากระนั้นเลย เอาเป็นว่าทนายขอแนะนำและบอกขั้นตอนการคืนรถกรณีที่ผ่อนไม่ไหว หากดำเนินการเช่นนี้จะไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างแน่นอน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ถูกฟ้องนะครับ 
 
 
เพราะการฟ้องเป็นสิทธิที่จะฟ้องได้ เมื่อถูกฟ้องแล้วท่านต้องไปศาลให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ผิดสัญญาและแน่นอนว่าแนวคำพิพากษาศาลฎีกาได้วางแนวไว้แล้วว่ากรณีการคืนรถตามขั้นตอนนี้ไม่ต้องเสียส่วนต่าง
 
 
มาดูกันเลย 
 
 
อย่างแรก


๑.
ท่านต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อนว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้หรือไม่หากอะไรที่เสียหายก็ไปทำให้ใช้งานได้ แต่ไม่ต้องถึงขนาดเอาเหมือนป้ายแดง เอาแค่สภาพปกติก็พอ แน่นอนว่าเวลาใช้รถก็จะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา หากได้หนังสือยืนยันสภาพจากศูนย์บริการก็จะดีมาก
 
 
๒.เมื่อรถพร้อมแล้ว ก็ให้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญา ขอคืนรถ ย้ำต้องทำเป็นหนังสือ ส่งไปยังบริษัทไฟแนนท์ นัดหมายวัน เวลา และสถานที่ให้เรียบร้อย โดยให้ส่งด้วยวิธีลงทะเบียนตอบรับและเก็บใบตอบรับไว้ และอย่าลืมถ่ายสำเนาเก็บไว้ด้วยนะ มีคำถามต่อว่า “ทนาย...แล้วเขียนยังงัยอ่ะหนังสืออ่ะ?” อย่ากระนั้นเลย ทนายจะแนบตัวอย่างให้ละกัน..จบนะ...
 
 
๓. เมื่อถึงวันนัดหมายก็นำรถยนต์ไปคืน หากบริษัทไฟแนนท์มารับคืนก็ให้ทำบันทึกไว้ว่าเราคืนรถในสภาพสมบูรณ์ขับขี่ได้ปกติ แล้วถ่ายรูปไว้ ส่วนเอกสารที่บริษัทไฟแนนท์ทำมาให้ทำนองว่า จะต้องรับผิดชอบส่วนต่างก็ไม่ต้องกังวล เดี๋ยวค่อยไปว่ากันทีหลังให้ไฟแนนท์รับรถคืนไปก่อน 
 
 
มีคำถามต่อว่า ท่านทนาย แล้วเมื่อถึงวันนัดหมายแล้วไฟแนนท์ไม่ติดต่อมาไม่ยอมรับคืนล่ะทำงัย? ก็ให้ไปที่สถานีตำรวจไปลงบันทึกประจำวันว่าเราได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว แต่ไฟแนนท์ไม่ยอมมารับรถคืนแล้วขอบันทึกประจำวันมา เอาไปถ่ายเอกสารเพิ่มอีกซัก ๑ ใบ จากนั้นไปต่อ
 
 
๔. เดินทางพร้อมรถยนต์ไปที่ “สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี” ในพื้นที่ ซึ่งสามารถสืบค้นได้ทาง Google เลย เมื่อไปถึงก็ไปติดต่อขอ “แบบฟอร์มคำร้อง” วางทรัพย์ หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ก็ได้ ซึ่งก็จะมีคำแนะนำและขั้นตอนต่างๆ และให้เตรียม สำเนาหนังสือขอยกเลิกสัญญาเช่าซื้อและใบแจ้งลงบันทึกประจำวันไว้ติดไปด้วยเพื่อประกอบการยื่นขอวางทรัพย์ 
 
 
ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะมีการถ่ายรูป โน่น นี่ นั้น พร้อมเก็บเงินค่าธรรมเนียม หลักร้อยต้นๆ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หากมีที่จอดเจ้าหน้าที่ก็อาจจะให้จอดที่นั่นเลยหรือถ้าไม่มีก็จะให้เราเอาไปเก็บรักษาเอง เราก็อย่าเอามาใช้ละกันเดี่ยวจะมีปัญหา ซึ่งขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็จะมีหนังสือไปถึงไฟแนนท์ให้มารับรถคืนตามขั้นตอนต่อไป เป็นอันจบ
 
 
๕. คืนแล้วจะไม่ถูกฟ้องแน่นะทนาย???  ก็บอกแล้วงัยว่าการฟ้องเป็นสิทธิของไฟแนนท์ เมื่อไฟแนนท์ฟ้องเราก็ต่อสู้ดิ ไม่เห็นยาก โดยทำคำให้การจำเลยให้การต่อสู้ว่าเราไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้ศาลยกฟ้องและให้จ่ายค่าทนายความแทนเราด้วย ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็ให้ท่านหาทนายไปสู้คดีแทนท่านซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเพราะมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวางแนวไว้อยู่แล้ว 
 
 
เอาตัวอย่างหนังสือขอยกเลิกสัญญาไป
 
 
(ตัวอย่าง)
 
 
หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ
 
 
วันที่.......เดือน..........พ.ศ.........
 
 
เรื่อง บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ขอคืนและส่งมอบรถยนต์คืน
 
 
เรียน กรรมการผู้จัดการ.....(ชื่อบริษัทไฟแนนท์ โดยดูได้ในสัญญา)....
 
 
อ้างถึง สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ฉบับลงวันที่.......
 
 
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับธนาคาร.........โดยเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อ.....รุ่น.....สี.....หมายเลขทะเบียน.......เลขเครื่องยนต์.....เลขตัวรถ.......กับท่านตามสัญญาที่อ้างถึง รายละเอียดท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
 
 
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และข้าฯมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นและ....(จะอ้างเหตุอะไรก็ระบุไป) ส่งผลกระทบทำให้ข้าฯอาจจะไม่สามารถที่จะชำระค่าเช่าซื้อในส่วนที่เหลือได้ 
 
 
ดังนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าฯจึงขอบอกกล่าวขอบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยขอคืนและส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวตามสัญญาเช่าชื้อที่อ้างถึงคืนให้แก่ท่าน และข้าฯขอนัดหมายส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวคืนท่านในวันที่......เดือน.......พ.ศ..... ณ .......(จะคืนที่ใหนก็ระบุสถานที่ไป) ตำบล....อำเภอ....จังหวัด...เวลา.....(ไปให้ตรงเวลานะและถ่ายรูปไว้)....


ทั้งนี้ ให้ท่านหรือผู้แทนท่านซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการ หรือติดต่อประสานงานมายังข้าฯก่อนวันนัดหมายไม่น้อยกว่า ๓ วันเพื่อนัดหมายส่งมอบและรับรถยนต์คืนต่อไป ทั้งนี้ หากท่านได้รับหนังสือฉบับนี้แล้วท่านละเลยเพิกเฉย ไม่ไปรับมอบรถยนต์ตามวัน, เวลาและสถานที่ข้างต้น หรือไม่ติดต่อประสานงานมายังข้าฯ ให้ถือว่าท่านไม่ปฎิเสธการรับรถยนต์คืนอันจะยกเป็นเหตุเพื่อปฎิเสธในการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อได้
 
 
จึงบอกกล่าวมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการ
 
 
ขอแสดงความนับถือ
(นาย.........................)
ผู้เช่าซื้อ


07/Mar/2024

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา