ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
1. ทำเป็นหนังสือ โดยวิธีการพิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือ ส่งมาถึง ท่านประธานศาลฎีกา
สำนักประธานศาลฎีกา
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2 , 8 - 9
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กทม. 10210
2. ผู้ร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม ยื่นหนังสือด้วยตนเองที่ส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักประธานศาลฎีกา อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องและดำเนินการ เสนอผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้นต่อไป
3. หนังสือร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม ให้มีรายละเอียด ดังนี้
3.1 ชื่อ – ชื่อสกุล และที่อยู่ปัจจุบัน ของผู้ร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม
3.2 ชื่อ – ชื่อสกุล ตำแหน่ง สังกัด ของผู้ถูกร้องเรียนกล่าวหา
3.3 ระบุข้อกล่าวหาการกระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม
3.4 บรรยายการกระทำความผิดอย่างละเอียด เช่น การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อใด มีพยานบุคคลรู้เห็นเหตุการณ์หรือไม่ และได้ร้องเรียนต่อหน่วยงานใดหรือไม่ อย่างไร และผลเป็นประการใด
3.5 กรณีขอความเป็นธรรมในคดี ให้ระบุรายละเอียด ดังนี้
* คดีแพ่ง/อาญา หมายเลขคดีดำ หมายเลขคดีแดง (ถ้ามี)
* ของศาลใด
* ชื่อโจทก์/จำเลย
* เรื่อง/ฐานความผิดใด
* บรรยายถึงเหตุที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
3.6 ข้อความในหนังสือ ต้องใช้ถ้อยคำและภาษาสุภาพ อ่านง่าย ไม่หยาบคาย หรือส่อไปในทาง
เสียดสี ใส่ร้าย หรือดูหมิ่นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
4. ลงลายมือชื่อ และเขียนชื่อ – ชื่อสกุล ด้วยตัวบรรจง พร้อมแจ้งที่อยู่ของผู้กล่าวหาให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน/ขอความเป็นธรรมและติดต่อกลับ ผู้ร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม ควรแจ้งชื่อ – ชื่อสกุล และที่อยู่ ที่แท้จริง
5. โดยส่งหนังสือมาที่
สำนักประธานศาลฎีกา
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2 , 8 - 9
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสื่ กทม. 10210
6. หากมีข้อสงสัยหรือขัดข้องประการใด สอบถามได้ที่ ผู้อำนวยการสำนักประธานศาลฎีกา หมายเลขโทรศัพท์ 0 2142 4299 ส่วนกฎหมายและระเบียบ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2142 4323 0 2142 4327
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...