ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่สำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน : ทนายแรงงาน

"เร็วมากครับ เข้าเดือนที่ 3 ของปี 67 แล้ว" เดือนหน้าก็เทศกาลสงกรานต์ เวลาเดินทางมาเร็วมากครับจนแทบตั้งตัวไม่ทัน สำหรับงานคดีแรงงานถาโถมเข้ามาทุกวัน จนไม่มีวันหยุด และจำนวนไม่เคยลดลง ตัวทนายก็ยังคงเหมือนกับทุกวันเฉกเช่นที่ผ่านมายังต้องมีภารกิจต้องทำคดีในทุกวัน ตอนนี้ก็ 100 กว่าคดีในมือ

 

ดังนั้นหากใครที่มีปัญหาเร่งด่วนและต้องการคำตอบ ให้โทรมาถาม หรือจะส่ง E-mail มาถามได้ที่ pornnarai2516@gmail.com เท่านั้น ทนายจะพยายามเปิดเมล์ตอบให้ได้ทุกวัน (ไม่รับปรึกษาทางไลน์หรือช่องทางอื่นใดทั้งสิ้น)

 

สำหรับในส่วนของสำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน   ก็ยังคงอยู่เคียงข้างทุกท่าน และยังยืนยันเช่นเดิมว่า เรายังคงก้าวไปด้วยกันด้วยความมุ่งมั่น เพื่อให้เกิดการคุ้มครองด้านสิทธิและสวัสดิการแรงงานให้ได้อย่างแท้จริง ตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายฉบับต่างๆได้วางบรรทัดฐานไว้

 

บทเรียนสำคัญจากการทำคดีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสิทธิและคุ้มครองแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า "คดีแรงงาน" นั้น ได้ตอกย้ำบทบาทของทนายความ ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการนำไปสู่การเข้าถึงและคุ้มครองสิทธิของแรงงานทุกคน

 

เจตนารมณ์สำคัญของการมีทนายความในการดำเนินคดีต่างๆ ก็เพื่อเป็นไปในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของทุกคน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการต่อสู้คดี และเพื่ออำนวยความยุติธรรม กล่าวได้ว่าทนายความจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการผดุงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม เป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ในการรับใช้ประชาชน

 

เพราะความรักในวิชาชีพกฎหมาย  จึงมาพร้อมกับการทุ่มเทความสนใจ การซักถามและสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด การพยายามแสวงหาพยานหลักฐานให้มากที่สุด อีกทั้งสนใจค้นคว้าคำพิพากษา หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นี้คือกระบวนการเตรียมคดีที่จะนำไปสู่การซักค้านได้อย่างไม่บกพร่อง

 

หน้าที่ของทนายความ จึงคือการนำข้อเท็จจริงขึ้นสู่ศาล ช่วยเป็นปากเป็นเสียงในศาลให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหน หรือว่าทำอะไรมา ช่วยแสวงหาข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด

 

ความสำเร็จของวิชาชีพทนายความ จึงคือการพึงรักษาประโยชน์ของลูกความให้เป็นไปตามกฎหมายที่พึงธำรงความยุติธรรมไว้ให้มากที่สุด

 
นี้จึงเป็นที่มาของการเปิด website แห่งนี้ขึ้นมา ตั้งแต่พฤศจิกายน 2556 ซึ่งได้ก้าวสู่ปีที่ 11 แล้วของการเปิดเวบไซด์นี้ขึ้นมาครับ



หลายต่อหลายครั้งผมพบว่า พี่น้องแรงงานรวมถึงชาวบ้าน คนตัวเล็กตัวน้อย จำนวนมากต้องเสียเงินไปกับการเข้าถึงความรู้-ความเข้าใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม อย่างน้อยก็เป็นหลักพันบาท ว่าตนเองต้องทำอย่างไร อะไร



หรือมิฉะนั้นก็ต้องเดินทางไปยังสำนักงานทนายความต่างๆ รวมถึงการใช้บริการทนายอาสา ซึ่งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางอยู่ดีครับ



ดังนั้น website แห่งนี้ จึงเกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2556  หรือ 10 ปีมาแล้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลด้านกฎหมายให้ทุกท่าน ทั้งข่าวกฎหมาย สรุปกฎหมายฉบับใหม่ บทความต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือปัญหาด้านแรงงาน ที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษ



โดยทุกท่านสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิกแต่อย่างใด ความรู้ เป็นเรื่องของทุกคนที่ควรสามารถเข้าถึงได้ครับ

 

อีกทั้งผมยังได้เปิดกระดานถาม-ตอบปัญหาแรงงาน ที่เปิดให้ทุกท่านเข้ามาตั้งคำถามทุกคำถามที่สงสัย และผมจะเข้ามาตอบให้อย่างกระจ่างทุกวัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เป็นบริการปรึกษาปัญหากฎหมายทุกเรื่อง "ฟรี" โดยเฉพาะปัญหาแรงงานต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของทุกท่านในการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆต่อ ไป

(
กดที่นี่ครับ แล้วไปตั้งคำถามตรงที่เขียนว่า เริ่มหัวข้อใหม่ หรือไปที่หน้าตั้งคำถามได้โดยตรงเลยครับ กดที่นี่ครับ)


และถ้าท่านจำเป็นต้องใช้ทนายความในอนาคต ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งครับที่เราจะก้าวไปบนเส้นทางยุติธรรม เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของทุกคนร่วมกันครับ

ทั้งนี้หากลูกความไม่มีรายได้เลยจริงๆ ก็ยินดีที่จะว่าความให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ

 

โดยในส่วนที่จะไม่คิดค่าใช้จ่ายนั้น ต้องขอเรียนเพิ่มเติมด้วยว่า นอกจากการเป็นทนายความแล้ว ผมยังทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย ขององค์กรแรงงานที่ชื่อว่า "สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.)" ซึ่งเป็นงานอาสาสมัครที่ให้การช่วยเหลือแรงงานที่ถูกกระทำโดยไม่เป็นธรรมจากนายจ้างทั่วประเทศอยู่แล้วด้วยครับ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ในลักษณะงานจิตอาสา
 

ดังนั้นสำหรับท่านที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ให้ทำหนังสือหรือจดหมายหรือโทรศัพท์อย่างเป็นทางการ ขอความช่วยเหลือไปยังคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยตรงเท่านั้น (ไม่ขอรับการติดต่อผ่านทางทนายความโดยตรง ไม่ว่ากรณีใดๆหรือช่องทางใดๆทั้งสิ้น ถ้าติดต่อผ่านทนายความจะมีค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น)

สสรท. เป็นองค์กรที่เกิดจากรวมตัวกันของสหภาพแรงงานทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการฯจะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีๆไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

โดยขอให้แจ้งไปยังคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)

สำนักงานประสานงาน 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์/โทรสาร 02-251-3170

E-mail: tlsc2labour@gmail.com

 

หรือหากท่านประสงค์จะใช้บริการของสำนักงานทนายความอื่นหรือขอคำปรึกษาในการเลือกทนายความ ก็ยินดีที่จะประสานงานและแนะนำให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกันครับ

 

ท่านสามารถอ่านคำแนะนำในการเลือกทนายความได้ที่นี่ครับ
 

 

ด้วยความสมานฉันท์ครับ

ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 081-3424263 (09.30-18.00 น. เท่านั้นครับ บางครั้งจะโทรไม่ติดหรือไม่รับสาย เพราะติดว่าความในศาล)

1 มีนาคม 2567

Email : pornnarai2516@gmail.com



10/Mar/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา