ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

10 มิถุนายน 2565 กระทรวงแรงงานประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ระบุในประกาศว่า


ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 16 สาขา โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ข้อ 2 ในประกาศนี้ “มาตรฐานฝีมือ” หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน


ข้อ 3 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้


(1) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างติดตั้งยิปซัม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเก้าสิบห้าบาท


(2) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสี่สิบห้าบาท


(3) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท


(4) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างสีอาคาร ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท


(5) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท


(6) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาทและระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท


(7) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท


(8) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบห้าบาท


(9) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องถม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยยี่สิบห้าบาท


(10) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท


(11) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาผู้ประกอบขนมอบ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าบาท


(12) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยหกสิบห้าบาท


(13) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท


(14) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมสตรี ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท


(15) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมบุรุษ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสามสิบบาท


(16) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท


ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (16) คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง


ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น


ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใดไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็น ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว


เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565



13/Jun/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา