ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
บทวิเคราะห์ฉบับนี้ เป็นบทวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบร่างกฎหมายสองฉบับได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ กับร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ...ที่ สคก.ตรวจพิจารณาแล้ว(เรื่องเสร็จที่ 598/2565) เปรียบเทียบกับ พ.ร.บแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2534 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2544
หากจะมองในเชิงการวิวัฒนาการของกฎหมายเพื่อให้ทันต่อการเป็นพลวัตของสังคมที่หมุนไปตามกระแสเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) ถือได้ว่าเป็นบาทก้าวสำคัญในพัฒนาการของกฎหมายที่ผ่านการตรวจจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา (สคก.) แล้ว
โดยในบางประเด็นส่งผลดีต่อขบวนการแรงงานและในขณะเดียวกันก็มีหลายประเด็นที่ยังมีข้อกังขาดูเหมือนว่าจะตัดอำนาจการต่อรองหรือลดทอนบทคุ้มครองลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานลง ซึ่งจะเป็นปัญหาทั้งในส่วนของผู้ปฎิบัติและผู้มีส่วนได้เสียในอนาคตได้ โดยจะได้วิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้นทั้งในส่วนที่เห็นว่าดีขึ้นและส่วนที่น่ากังวล
ผู้วิเคราะห์ขอให้นิยาม ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ...ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฏีกา (สคก.) ฉบับนี้ว่า “ฉบับขี้เมา” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้ร่างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะเป็นผู้นิยมชมชอบในการดื่มสุราแต่อย่างใด! และเหตุใด จึงใช้นิยามนี้?
จากการวิเคราะห์ในภาพรวม อาจกล่าวได้ว่า ร่างฯฉบับนี้ มีทั้งที่ “ก้าวไปข้างหน้า” และ “ก้าวถอยหลัง” เฉกเช่นลักษณะการเดินของคนเมาที่เดินหน้าสองก้าวถอยหลังสามก้าว และมีหลายมาตราที่ยกของเดิมที่อยู่ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาโดยไม่ปรับแก้หรือเปลี่ยนข้อความใดๆ ซึ่งสามารถแยกแยะข้อที่สำคัญได้ดังนี้
อ่านบทวิเคราะห์ต่อทั้งฉบับได้ที่ link นี้ครับ bytanaipornnarailabourrelation.pdf
เปิดนโยบายพรรคการเมือง พรรคไหนให้สิทธิแรงงานอย่างไรบ้าง วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแ...
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ตรวจสอบกรณีที่มีการระบุว่า กทม. เลื่อนทำทะเบียนและบัตรประจำตัวแรงงานต...
แรงงานต้องรู้ เปิดตัวอย่าง หนังสือข้อตกลง WFH หลัง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ประกาศใช้ ภายหลัง พระราชบัญญั...
‘แรงงานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน’ (Essential workers หรือ Key workers) คือคนทำงานที่มีควา...
รมว.แรงงาน สั่ง ปลัดแรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงานที่ต้องการ พร้อมจัดฝึกอบรมอย...
ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...
อ่านได้ที่นี่ CLICK : กดอ่านตรงนี้...
ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให...