ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

14 ตุลาคม 2565 : ย้ำ!จ้างแรงงานต่างด้าว ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ภายในวันที่ 15 ต.ค. นี้ , กรุงเทพธุรกิจ

กรมการจัดหางาน เร่งรัดนายจ้างชำระเงิน + ขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ภายในกำหนด 15 ต.ค. 65 พร้อมแจงแนวทางการดำเนินการตามมติครม. ระยะที่ 3


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 65 กำหนดให้นายจ้างที่ใช้แรงงาน 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่ยังมีสถานะ “ไม่ถูกต้อง” แต่ประสงค์จะทำงานอย่างถูกต้อง ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงระยะ คือ


ช่วงที่ 1 วันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2565 ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน


ช่วงที่ 2 วันที่ 16 สิงหาคม - 15 ตุลาคม 2565 ชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารกรุงไทย และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนายทะเบียนจะออกใบรับคำขออนุญาตทำงาน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานและใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานคู่กัน แสดงว่าได้รับการผ่อนผันให้ทำงานได้ จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 


ช่วงที่ 3 วันที่ 16 สิงหาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566 จัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ตรวจสุขภาพ 6 โรค ยื่นเอกสาร/พิจารณาอนุมัติในระบบ จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ โดยขณะนี้ใกล้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการระยะที่ 2 


ดังนั้นเพื่อให้แรงงานข้ามชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของนายจ้าง สามารถอยู่และทำงานต่อไปได้โดยถูกกฎหมาย นายจ้าง/สถานประกอบการจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถดำเนินการในขั้นตอนถัดไป 


กำชับนายจ้างเร่งชำระเงิน ยื่นขออนุญาตแรงงานต่างด้าว


การเปิดโอกาสให้แรงงาน 4 สัญชาติ ที่ยังมีสถานะ “ไม่ถูกต้อง” ที่ทำงานอยู่กับนายจ้างในประเทศไทย ก่อนมีมติครม.วันที่ 5 ก.ค. 65 ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง จะช่วยลดปัญหาขาดแคลนแรงงานของนายจ้าง/สถานประกอบการ ผลักดันแรงงานต่างด้าวที่เคยอยู่ใต้ดินเข้าสู่ระบบ รัฐเกิดรายได้และสามารถบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


"ขอกำชับนายจ้าง/สถานประกอบการ เร่งดำเนินการชำระเงิน และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน 15 ตุลาคมนี้ เพื่อสามารถดำเนินการในขั้นตอนถัดไประหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 13 ก.พ. 66” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว


ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า หลังจากนายจ้าง/สถานประกอบการชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารกรุงไทย โดยมีค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 900 บาทแล้ว จะต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ตามแบบ บต.50 พร้อมแนบเอกสารประกอบการยื่นคำขออนุญาตทำงานตามแบบ อ.4


โดยนายทะเบียนจะออกใบรับคำขออนุญาตทำงาน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานและใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานคู่กัน แสดงว่าได้รับการผ่อนผันให้ทำงานได้ จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 


ย้ำดำเนินการตามขั้นตอนภายใน 15 ต.ค.นี้


หลังจากได้รับใบรับคำขออนุญาตทำงานฯและใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม ให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม โดยใช้หลักฐานดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ 


กรณีทำงานกับนายจ้างในกิจการที่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ในระหว่างที่ยังไม่เกิดสิทธิประกันสังคมต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข หรือซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชน ซึ่งต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่ได้รับจากการทำประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข


กรณีคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในกิจการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข 


จากนั้นนำหลักฐานการทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าวมายื่นต่อนายทะเบียน เพื่อรับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงาน นำคนต่างด้าวไปดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ตรวจสุขภาพ 6 โรค ยื่นเอกสาร/พิจารณาอนุมัติในระบบ จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566

 

“มติครม. 5 ก.ค. 65 เปิดโอกาสให้แรงงาน 4 สัญชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้อง อยู่และทำงานได้ถึง 13 ก.พ. 68 โดยแรงงานข้ามชาติกลุ่มดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 66 ก่อน และหากประสงค์ทำงานต่อไป ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ และยื่นขอตรวจลงตรา VISA ภายใน 13 กุมภาพันธ์ 66 เพื่อนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่เกิน 13 ก.พ. 67 ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 13 ก.พ. 68” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว 

 

ทั้งนี้นายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

 



17/Oct/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา