ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

10 มกราคม 66 : ส่องแนวโน้ม และความท้าทาย "ตลาดแรงงานไทย" ในปีกระต่าย , ไทยรัฐออนไลน์

ปีเสือผ่านพ้นไป ตลาดแรงงานไทยเริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวและบริการที่สามารถกลับมาลืมตาอ้าปากได้ ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง และการควบคุมการเดินทางเข้า-ออกประเทศ


โดยล่าสุดอัตราการว่างงานไทยลดลง 4 ไตรมาสติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 1.2% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยช่วงก่อนการระบาดโควิดที่ราว 1% จากเคยทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดโควิดที่ 2.3% ณ ไตรมาส 3 ปี 2564 สอดคล้องกับรายได้แรงงาน จำนวนคนทำงานต่ำระดับและชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยที่ปรับดีขึ้นเช่นกัน


อย่างไรก็ดี แม้ตัวเลขที่ออกมาอาจดูเหมือนภาวะจ้างงานดีขึ้น แต่มองไปข้างหน้าความไม่แน่นอนยังรออยู่มากทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ บทความนี้จึงอยากชวนติดตามประเด็นความท้าทายของตลาดแรงงานไทยตลอดปีใหม่นี้


ความท้าทาย 1  การจ้างงานฟื้นเปราะบางและไม่ทั่วถึง


ในระยะต่อไปแม้ภาพรวมสถานการณ์ตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่จะเป็นไปแบบไม่ทั่วถึง (Uneven) โดยการจ้างงานกลุ่มธุรกิจที่ตอบโจทย์การฟื้นตัวการบริโภค หรือสอดรับเทรนด์โลกจะฟื้นตัวได้ดีกว่า เช่น การจ้างงานในภาคโรงแรมที่ยังต่ำกว่าก่อนการระบาดอยู่ราว 1 แสนคนจะทยอยปรับดีขึ้น เนื่องจากมีแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ดี


จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเร่งขึ้นจากความต้องการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในระดับสูงและจีนยกเลิกนโยบาย Zero-COVID อีกทั้ง การท่องเที่ยวในประเทศเติบโตกลับไปใกล้ระดับก่อนโควิด ส่งผลดีโดยตรงต่อการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการที่ใช้แรงงานมาก


ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจโลกชะลอลงมากภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น บางประเทศหลัก (เช่น สหรัฐฯ และยุโรป) จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้การส่งออกและการลงทุนของไทยชะลอลงตาม การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมจึงอาจมีความเสี่ยงฟื้นตัวช้าและเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดต่างประเทศ


ความท้าทาย 2  แรงงานตึงตัวและขาดแคลน


วิกฤติโควิดส่งผลให้แรงงานราว 6 แสนคนออกนอกระบบประกันสังคม (ม.33) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นวงกว้างทุกอุตสาหกรรม โดย ณ ปัจจุบัน จำนวนแรงงานในระบบยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด ถึงกว่า 2 แสนคน สะท้อนให้เห็นว่าแรงงานคืนถิ่นเข้าภาคเกษตรหลังจากตกงานช่วงการระบาดยังกลับมาทำงานนอกภาคเกษตรไม่เต็มที่


แม้แรงงานภาคเกษตรบางส่วนจะทยอยกลับเข้ามาทำงานในภาคนอกเกษตรในปีนี้ เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการที่ฟื้นตัวประกอบกับแนวโน้มรายได้ภาคเกษตรที่จะเติบโตชะลอลงมากเทียบกับปี 2565 แต่การฟื้นตัวครั้งนี้อาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เนื่องจาก


1. แรงงานที่เคยเป็นลูกจ้างเอกชน รวมถึงแรงงานย้ายถิ่นเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอิสระมากขึ้นจนล่าสุดสูงกว่าก่อนโควิดถึง 1.5 ล้านคนแล้ว นอกจากนั้นตัวเลขผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานยังสูงกว่าก่อนโควิดค่อนข้างมาก โดยกว่า 75% เป็นกลุ่มแรงงานอายุน้อยสะท้อนอุปสรรคในการหางานทำของแรงงานจบใหม่และอาจมุ่งหางานอิสระแทน


2. แรงงานต่างด้าวเริ่มกลับมาทำงานหลังจากที่เคยลดลงในช่วงปี 2564 ถึง 6.5 แสนคน แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับช่วงก่อนโควิดราว 1.4 แสนคน ส่งผลให้ธุรกิจ (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่แรงงานต่างด้าวหายไปมากสุด)


หาแรงงานยากขึ้นในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา การขาดแคลนแรงงานในภาคโรงแรมและบริการ รวมถึงธุรกิจกลุ่มที่เคยพึ่งพาแรงงานต่างด้าวมากอาจต้องเสียต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นในระยะสั้นหากต้องเปลี่ยนจากการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานไทยซึ่งค่าแรงแพงกว่า


ความท้าทาย 3  ของ (ยังคง) แพงแต่ค่าแรงไม่แน่นอน


ในปีที่ผ่านมาเงินเฟ้อเร่งสูงทำให้แรงงานจำนวนมากต้องเผชิญภาวะรายได้โตไม่ทันรายจ่ายจนนำไปสู่ปัญหาสภาพคล่อง แม้ในปีนี้เงินเฟ้อจะชะลอลงบ้างแต่อาจไม่เร็วนักจากราคาพลังงานที่ยังสูง กอปรกับเศรษฐกิจอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นยิ่งซ้ำเติมภาระค่าใช้จ่าย


กลับกันรายได้ของแรงงานยังมีความไม่แน่นอนจากตลาดแรงงานที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ แม้จำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยเริ่มกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิดทำให้รายได้แรงงานโดยรวมฟื้นตัว แต่หากมองถึงรายได้ที่แท้จริงของลูกจ้างเอกชน (หักเงินเฟ้อ) กลับพบว่าขยายตัวเพียง 0.8% ในไตรมาสสองและหดตัว -0.8% ในไตรมาสสามปี 2565


สะท้อนถึงกำลังซื้อของแรงงานที่ยังน่าห่วง โดยเฉพาะแรงงานอาชีพอิสระที่ความมั่นคงทางรายได้ รวมถึงสวัสดิการน้อยกว่าแรงงานในระบบและอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเหมือนการจ้างงานในระบบ


ความท้าทายการฟื้นตัวตลาดแรงงานเหล่านี้เป็นโจทย์เร่งด่วนให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการออกมาตรการระยะสั้นและยาวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างตลาดแรงงานให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยหลังพ้นวิกฤติอย่างมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยในปีกระต่ายจะกระโดดได้สูงกว่าปีเสือ


บทความโดย ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ หรือ SCB EIC
eic@scb.co.th | EIC Online: www.scbeic.com 



15/Jan/2023

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา