ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

27 กพ. 67 : ก.แรงงานเตรียมปรับค่าแรงรอบ 2 ลุ้นหลายจังหวัดแตะ 400 บาท ,ThaiPBS

27 ก.พ. 2567 กระทรวงแรงงานจะพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรอบ 2 รมว.แรงงานระบุบางจังหวัดอาจได้ค่าจ้าง 400 บาท คาดว่าปี 2570 ค่าจ้างขั้นต่ำจะอยู่ที่ 600 บาท ขณะที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระบุ หากค่าแรงพุ่ง 600 เตรียมปิดโรงงาน แนะรัฐช่วยลดค่าครองชีพแทน


แรงงานตัดเย็บเสื้อกาวด์ทางการแพทย์ใน จ.สิงห์บุรี ได้รับค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต่ำวันละ 341 บาท และบางส่วนได้รับค่าจ้างเป็นชิ้นงาน ผู้บริหารบริษัท ระบุว่า ขณะนี้ค่าแรงปรับตัวสูงขึ้นแต่ยังพอแบกรับได้ แต่หากสูงไปกว่านี้ หรือ ไปถึงระดับ 600 บาท ธุรกิจคงไปต่อไม่ไหว เพราะต้นทุนปัจจุบันสูงอยู่แล้ว


ขณะที่ความสามารถการผลิตของแรงงานเท่าเดิม โดยเห็นว่า รัฐควรเปลี่ยนแนวคิด การปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ต้องปรับให้สูง เป็นการควบคุมราคาสินค้า หรือดูแลค่าครองชีพแทน


นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุว่า วันนี้ (27 ก.พ.2567) จะมีการประชุมอนุกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำรอบ 2 และใช้คำว่า "เพื่อเป็นของขวัญสงกรานต์" ให้กับผู้ใช้แรงงาน


จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการค่าจ้างชุดใหญ่เพื่อพิจารณาสูตรปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำที่จะนำมาใช้ก่อนจะส่งให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด นำสูตรไปพิจารณาว่าพื้นที่ไหน สาขาอาชีพอะไรที่ควรได้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทบ้าง ส่วนจังหวัดที่เหลือให้ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศไปรอบแรกเมื่อปี 2566 และปี 2570 ค่าแรงขั้นต่ำจะไปอยู่ที่ 600 บาท


นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ระบุว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำรอบ 2 เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยในอดีต มีการปรับปีละ 1 ครั้ง ซึ่งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำรอบนี้คงไม่ง่าย เพราะมีเงื่อนไขต่างๆ กำหนดไว้ เช่น การพิจารณาจะต้องผ่านกลไกของไตรภาคี มีสูตรการกำหนดค่าจ้าง เช่น เงินเฟ้อ


นอจากนี้ยังเห็นว่า การปรับค่าจ้างตามทักษะฝีมือ สามารถทำได้และเป็นไปได้มากที่สุด แต่การปรับตามเขตหรือพื้นที่ ต้องมีข้อมูลชัดเจนและคำนึงความสามารถนายจ้างด้วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หากปรับค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์ ระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว และยังมีผลให้ต้องขยับค่าแรงทั้งกระดาน เช่น หากค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท แรงงานที่เคยได้ 400 บาท ต้องปรับฐานเพิ่มเพื่อเป็น 450 บาทเป็นต้น



03/Mar/2024

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา