ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

2 มีค. 67 : ร่างใหม่ "ประกันสังคม" อัปสิทธิผู้ประกันตน ขณะที่ปี 66 เงิน 2.4 ล้านล้านบาท , กรุงเทพธุรกิจ

  • ปี 2566 เงินกองทุนประกันสังคม จำนวนกว่า 2.4 ล้านล้านบาท และกองทุนเงินทดแทน จำนวนราว 76,000 ล้านบาท เป็นเงินสมทบจากลูกจ้าง นายจ้าง รัฐบาลนำไปลงทุนสุทธิ 1.55 ล้านล้านบาท

 

  • สัดส่วนการนำเงินกองทุนไปลงุทน มี 12 หลักทรัพย์ของกองทุนประกันสังคม ผลตอบแทน 8 แสนล้านบาท  และ 9 หลักทรัพย์ของกองทุนเงินทดแทน

  • กางร่างกฎหมายประกันสังคมใหม่ ฉบับที่เจอปมดราม่าเรื่องแก้มาตั้งบอร์ดแทนเลือกตั้ง แต่พบว่ามีเรื่องการเพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตนด้วย

 

  • ก่อนหน้านี้ไม่นานมีการออกมาระบุว่า กระทรวงแรงงานมีการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ โดยมีกำหนดให้บอร์ดประกันสังคมส่วนของผู้แทนนายจ้างและผู้แทนผู้ประกันตนมาจากการแต่งตั้ง แทนการเลือกตั้ง ทั้งที่เพิ่งมีการเลือกตั้งครั้งแรกไปไม่นาน


“กรุงเทพธุรกิจ”ตรวจสอบพบว่า ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่มีการกล่าวถึง ผ่านความเห็นชอบของครม.ตั้งแต่ปี 2565  แต่มีการยุบสภา กฎหมายจึงตกไป ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างพิจารณา ที่อาจจะมีเสนอนำเข้าพิจารณาในครม.อีกรอบ


และมีส่วนที่ระบุว่า “หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา ซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้ประกันตน หญิงและชาย คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส”


มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการแต่งตั้งบอดร์ดแทนการเลือกตั้งเกิดขึ้น  แต่ในร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมใหม่นี้ ยังมีส่วนที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนด้วย


แจงที่มาบอร์ดประกันสังคม


ประเด็นเรื่องที่มาของคณะกรรมการประกันสังคม  นายพิพัฒน์  รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าววว่า ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับนี้ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการเดิมที่กำหนดให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทน ฝ่ายผู้ประกันตนต้องมาจากการเลือกตั้งแต่อย่างใด

 

เนื่องจากร่าง พ.ร.บ. ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อกำหนดให้วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีเจตนาเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในกรณีที่เกิดสถานการณ์ที่มีเหตุสุดวิสัย เช่น กรณีที่มีโรคระบาด หรือเกิดภัยพิบัติอันอาจกระทบการเลือกตั้งฯ

 

ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ได้กำหนดให้ออกเป็นประกาศกระทรวง ในการกำหนดวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน โดยจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา และให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ดประกันสังคม) ก่อนที่จะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เสนอ(ครม.)ให้ความเห็นชอบ

 

“ขอยืนยันว่า หลักการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนยังคงมีอยู่เช่นเดิม ขอให้ทุกฝ่ายมีความมั่นใจว่า สำนักงานประกันสังคมดำเนินงาน โดยผู้ประกันตนได้รับประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ”นายพิพัฒน์กล่าว


เงินกองทุนประกันสังคม 2 ล้านล้านบาท


เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ในไตรมาส 4 ของปี  2566 สำนักงานประกันสังคม(สปส.) เปิดเผยข้อมูลกองทุนประกันสังคม มีเงินลงทุนสะสม 2,439,912 ล้านบาท เป็นเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาลนำไปลงทุน 1,551,479 ล้านบาท ผลตอบแทนสะสมจากการลงทุน 888,433 ล้านบาท  


สัดส่วนการลงทุนกองทุนประกันสังคม


แยกการลงทุนตามประเภทหลักทรัพย์ ปี 2566 เป็น 12 หลักทรัพย์ ได้แก่


1.เงินสดและพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้น 1 %

2.ตราสารหนี้ไทย  60%

3.ตราสารหนี้ประเทศ กลุ่มตลาดเกิดใหม่ 1.15 %

4.ตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก 10.70 %

5.ตราสารทุนไทย  9.65 %

6.ตราสารทุนต่างประเทศ กลุ่มตลาดเกิดใหม่ 3%

7.ตราสารทุนต่างประเทศ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว 9 %

8.อสังหาริมทรัพย์ไทย 1 %

9.อสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 1.75 %

10.โครงสร้างพื้นฐานไทย  0.20 %

11.โครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศ 0.55%

12.สินทรัพย์นอกตลาด 2 %


ภาพรวมสัดส่วนเงินลงทุน เป็นหลักทรัพย์ในประเทศ 72.41 % หลักทรัพย์ต่างประเทศ 27.59 % เป็นหลักทรัพย์เสี่ยง 25.63 % และหลักทรัพย์มั่นคงสูง 74.37 %


กองทุนเงินทดแทน 7.6หมื่นล้านบาท


กองทุนเงินทดแทน รองรับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ สูญหายหรือตายอันเนื่องมาจากการทำงาน 

 

เงินสมทบสะสมจากนายจ้าง 48,874 ล้านบาท ผลตอบแทนสะสมจากการลงทุน 27,312 ล้านบาท

 

สัดส่วนเงินลุงทุนภาพรวม เป็นหลักทรัพย์ในประเทศ 76.50 % หลักทรัพย์ต่างประเทศ 23.50 % เป็นหลักทรัพย์เสี่ยง 18.11 % และหลักทรัพย์มั่นคงสูง 81.89 % แยกตามประเภทหลักทรัพย์เป็น


1.เงินสดและพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้น 2.5%

2.ตราสารหนี้ไทย  65%

3.ตราสารหนี้ต่างประเทศ 15 %

4.ตราสารทุนไทย  6 %

5.ตราสารทุนต่างประเทศ 5%

6.อสังหาริมทรัพย์ไทย 3 %

7.อสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 1.50 %

8.โครงสร้างพื้นฐานไทย  0.50 %

11.โครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศ 1.50%


สิทธิผู้ประกันตนในร่างใหม่ประกันสังคม


หลักการในการเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ว่าด้วยกฎหมายประกันสังคมที่ใช้บังคับในปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ที่ผ่านมายังคงส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของผู้ประกันตนในการดำรงชีพ


ร่างใหม่ "ประกันสังคม" อัปสิทธิผู้ประกันตน  ขณะที่ปี 66 เงิน 2.4 ล้านล้านบาท


ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันทางสังคม และได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสังคมที่มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น มีสาระสำคัญ อาทิ


ขยายอายุขั้นสูงผู้ประกันตน


1. การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยการขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จากเดิม 15-60 ปี เป็น 15-65 ปี


2.การให้ผู้ที่รับเงินบำนาญชราภาพสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อได้ โดยได้รับความคุ้มครองใน 3 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย


เงินสงเคราะห์คลอดบุตร


3.การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ โดยให้ผู้ประกันตนหญิงที่คลอดบุตรได้รับเงินสงเคราะห์กรณีคลอดบุตรเพิ่ม จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน ซึ่งสอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ที่ให้ลูกจ้างหญิงสามารถลาคลอดได้เป็นระยะเวลา 98 วัน

ผู้ทุพพลภาพได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่ม จากเดิม 50% เป็น 70%


เพิ่มความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตรในช่วง 6 เดือน ที่ผู้ประกันตนออกจากงาน


ผู้ประกันตนที่อายุไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน


ผู้ประกันตนเลือกได้รับเงินบำนาญ-บำเหน็จ


4.การปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ มาตรการ 3 ขอ


ขอเลือก ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน เมื่ออายุครบ 55 ปี สามารถเลือกรับเป็นเงินบำนาญ หรือเงินบำเหน็จได้


ขอคืน กรณีท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเกิดพิบัติภัยอย่างร้ายแรงอันส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้ประกันตนหรือผู้ซึ่งมีเงินสมทบกรณีชราภาพ สามารถขอรับเงินชราภาพบางส่วนได้


ขอกู้ ผู้ประกันตนที่มีเงินสมทบกรณีชราภาพ สามารถนำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินที่มีความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมได้


นอกจากนี้ ยังให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถขอรับเงินบำนาญล่วงหน้าได้ไม่เกิน 60 เดือน


5.ผู้ประกันตนหรือผู้ซึ่งมีเงินสมทบกรณีชราภาพซึ่งจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 60 เดือนสามารถยื่นคําขอนําเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่มีความตกลงกับสํานักงานเพื่อใช้ในการดํารงชีพของผู้ประกันตนได้


เพิ่มอัตราเงินทดแทนขาดรายได้


7. แก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดอัตราเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพจากร้อยละ50ของค่าจ้างเป็นร้อยละ70ของค่าจ้าง


8.เพิ่มเติมการกําหนดสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพื่อให้ผู้ประกันตนมีสิทธิขอรับเงินบํานาญชราภาพล่วงหน้าได้บางส่วน


9. แก้ไขมาตรการการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้าง ซึ่งไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบอันเป็นเท็จ  เป็นต้น



03/Mar/2024

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา