ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

2 มีค. 67 : "ผู้ประกันตนเจ็บป่วย" ประกันสังคม ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา , กรุงเทพธุรกิจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคม “กรณีเจ็บป่วย” ได้รับความคุ้มครองด้วยการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมทุกโรค ทุกความเจ็บป่วย 


โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน กว่า 267 แห่ง สะดวก ครบ จบ ในครั้งเดียว และผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับบริการได้ในโรงพยาบาลทุกขนาดตั้งแต่ปฐมภูมิถึงตติยภูมิที่อยู่ภายใต้การลงนามความร่วมมือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเลือกเข้ารับการรักษาของผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่
 

ปี 2566 ที่ผ่านมา สปส. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ลดความเสี่ยงของโรค NCDs หรือโรคเรื้อรังให้กับผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น ผ่านโครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกฯ และตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 นี้ ได้ปรับเพิ่ม รายการตรวจสุขภาพให้มีความถี่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับปัจจัยด้านอายุและความจำเป็นในการตรวจ 


เช่น ให้ผู้ประกันตนที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจน้ำตาล ไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะ รวมถึงการตรวจ X-ray ตามหลักเกณฑ์อัตราที่กำหนด “ทุกปี” ซึ่งจะให้สิทธิเฉพาะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเท่านั้น เป็นการตรวจ “เสริม” จากการตรวจสุขภาพพื้นฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้คนไทยทุกสิทธิ


ทันตกรรม สามารถเข้าถึงการรักษาดูแลสุขภาพฟันในสถานพยาบาลหรือคลินิก ทั้งรัฐ เอกชน ได้อย่างสะดวก ทั้งในและนอกเวลาราชการ โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และในปี 2667 นี้ สปส. ยังเพิ่มโครงการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ อำนวยความสะดวกในการรับบริการรักษาดูแลสุขภาพฟัน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของผู้ประกันตน
         

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาฟรี 72 ชั่วโมง ทั้งในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน สำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ รักษาฟรี 72 ชั่วโมง กรณีสถานพยาบาลเอกชน เบิกได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และให้สถานพยาบาลที่รักษาแจ้งสถานพยาบาลตามสิทธิของผู้ประกันตนให้รับผิดชอบดูแลรักษาตั้งแต่รับแจ้ง จนสิ้นสุดการรักษา โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย


สำนักงานประกันสังคมได้มอบสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลอื่น ๆ เช่น


1. การปลูกถ่ายไขกระดูก (การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต) สำหรับการรักษามะเร็งโรคเลือด 8 ชนิด สิทธิประกันสังคมสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ฯ ครอบคลุมทั้งวิธีการปลูกถ่าย โดยใช้เนื้อเยื่อตนเอง เนื้อเยื่อพี่น้องร่วมบิดามารดา และเนื้อเยื่อของผู้บริจาคผ่านสภากาชาดไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึงรายละ 1,300,000 บาท “ฟรี”


2. เพิ่มการเข้าถึงการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่อง CPAP โดยจ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) และค่าตรวจการนอนหลับ (Sleep test) สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งถือเป็นโรคที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนำมาซึ่งความอันตรายแก่ชีวิตอีกด้วย


เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวในตอนท้ายว่า จะเห็นได้ว่าสำนักงานประกันสังคมได้พัฒนาสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่องอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค ทุกความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกันตน และทุกสิทธิการรักษาจะไม่ด้อยกว่าสิทธิการรักษาโรคในระบบการประกันสุขภาพอื่นของไทย ดังนั้น ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจ และให้สิทธิประกันสังคมเป็นทางเลือกหลักในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ผู้ประกันตนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป



03/Mar/2024

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา