ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประเทศไทยหลังกฎอัยการศึก: อนาคตอยู่ในมือ “ประยุทธ์” คนเดียว

 

ในทางกฎหมายแล้ว การประกาศ “กฎอัยการศึก” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ถือว่ามีความถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ เพราะใช้อำนาจตาม “พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457″ และไม่ได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งเหมือนการรัฐประหาร

 

 

แต่ในทางปฏิบัติ “กฎอัยการศึก” ก็มีความใกล้เคียงกับ “รัฐประหารซ่อนรูป” หรือ “รัฐประหารครึ่งใบ” (ตามแต่จะเรียกกัน) เพราะ “ฝ่ายทหาร” ภายใต้การบังคับบัญชาของกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการ ได้มีอำนาจด้านความมั่นคงภายในเหนือ “รัฐบาล” ที่ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ซึ่งมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎอัยการศึก) ผ่าน ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่มีฝ่ายการเมืองและตำรวจเป็นกำลังสำคัญ

 

 

นอกจากนี้ การประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้ยังมีการควบคุมสื่อ เฝ้าระวังจุดยุทธศาสตร์ในกรุงเทพ รวมถึงเรียกหัวหน้าส่วนราชการและทูตต่างชาติเข้ามาชี้แจง ในรูปแบบเดียวกับการรัฐประหารครั้งก่อนในปี 2549 แทบจะทุกประการ

 

 

สิ่งที่ต่างไปมีเพียงแค่รัฐธรรมนูญและรัฐบาลรักษาการณ์ยังอยู่ เพียงแต่ว่าจะยังอยู่แบบมีความหมายหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

 

 

SIU ประเมินว่าความเคลื่อนไหวของฝ่ายทหาร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของม็อบ กปปส. โดยตรง แต่ในแง่ฟากฝั่งทางการเมืองนั้นมีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน อย่างไรก็ตาม การประกาศกฎอัยการศึกของฝ่ายทหารถือเป็น “ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้” ถ้ามองจากม็อบทั้งสองฝ่าย ทำให้ม็อบทั้งสองฝ่ายเลือกจะอยู่ในที่ตั้งและ “ประเมินสถานการณ์” ก่อนวางแผนเคลื่อนไหวในขั้นต่อไป

 

 

ผลกระทบของการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้

 

ระยะสั้น (ภายในสัปดาห์นี้) กฎอัยการศึกจะทำให้ม็อบทั้งสองฝ่ายไม่กล้าขยับตัว และลดแรงปะทะของมวลชนทั้งสองฝ่ายลงได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การประกาศกฎอัยการศึกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบทันที

 

 

ระยะกลาง (1-2 เดือน) กฎอัยการศึกไม่ได้แก้ปัญหา “สุญญากาศทางการเมือง” ที่ขาดรัฐบาลตัวจริงและสภาผู้แทนราษฎรมาปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศ แต่เป็นการเพิ่ม “คนกลาง” ที่มีอำนาจปลายกระบอกปืนเข้ามาเร่งให้เกิดการเดินหน้าต่อเพื่อแก้ปัญหา “สุญญากาศทางการเมือง” ได้เร็วขึ้น

 

ระยะยาว (1-3 ปี) กฎอัยการศึกไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของการเมืองไทยในระยะยาว ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและแสวงหา “สถาปัตยกรรมใหม่ทางการเมืองไทยในอนาคต” และอาจเป็นปัจจัยลบที่บั่นทอนอนาคตของประเทศไทยในเชิงประชาธิปไตยด้วยซ้ำ

 

กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีอายุครบ 100 ปีในปี 2557 นี้พอดี กฎหมายฉบับนี้ออกในสมัยรัชกาลที่ 6 ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเล็กน้อย ประเทศกำลังอยู่ในช่วงสงคราม ทำให้กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจฝ่ายทหารในการตรวจสอบหรือค้นหา “ศัตรู” ได้ทันที

 

 

คำถามคือ “ศัตรู” ของทหารไทยในปี 2457 และ “ศัตรู” ของทหารไทยในปี 2557 เป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่

 

 

ความเก่าแก่ของกฎอัยการศึกฉบับนี้อีกประเด็นหนึ่งคือ การเลิกกฎอัยการศึกนั้น ฝ่ายทหารไม่สามารถทำเองได้ ต้องอาศัย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น (เพราะในช่วงที่ออกกฎอัยการศึก ประเทศไทยยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์มีอำนาจเต็มที่)

 

 

การประกาศกฎอัยการศึกปี 2457 ในปี 2557 จึงหมายความว่า พลเอกประยุทธ์ไม่มี “ทางลงด้วยตัวเอง” เหลือแล้ว และต้องเดินหน้าแก้ปัญหาของประเทศต่อไปให้สำเร็จ ก่อนจะอาศัย “พระบรมราชโองการ” ยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

 

 

ระหว่างที่ทั้งโลกกำลังจับตา “อนาคตประเทศไทยในมือประยุทธ์” SIU ประเมินว่าทางเลือกของ พล.อ.ประยุทธ์ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ

 

 

แนวทางแรก

 

พล.อ.ประยุทธ์ สามารถอาศัยสถานะ “คนกลาง” และอำนาจตามกฎอัยการศึก หารือกับหน่วยงานทางการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ ฝ่ายค้าน วุฒิสภา กกต. รวมถึงมวลชนทั้งสองฝ่าย ในการกำหนด “วันเลือกตั้งใหม่” เพื่อให้ประเทศไทยมีสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มโดยเร็ว

 

SIU ประเมินว่าถ้า พล.อ.ประยุทธ์ เลือกแนวทางนี้ พรรคเพื่อไทยจะยินดีไม่ส่งคนของตระกูลชินวัตรลงเลือกตั้งเพื่อเลี่ยงการเผชิญหน้า พรรคประชาธิปัตย์จะกลับคืนสู่สนามเลือกตั้ง ส่วนม็อบ กปปส. ถึงแม้ไม่เห็นด้วยเต็มที่ แต่ก็น่าจะยินดีสนับสนุนการเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกมากกว่าการเลือกตั้งตามปกติ ส่วนคนเสื้อแดงก็น่าจะยอมรับได้ถ้าได้รับคำสัญญาว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

 

หลังการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลพรรคเพื่อไทย (ที่น่าจะชนะการเลือกตั้งมากที่สุด) จะเสนอกระบวนการปฏิรูปการเมืองและแก้รัฐธรรมนูญตามที่มีหลายฝ่ายเสนอมาก่อนหน้า และใช้เวลาอีก 1-2 ปีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก่อนยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

 

แนวทางที่สอง

 

แต่ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ยึดโยงกับการเลือกตั้งว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาของประเทศ และหาทางตั้ง “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (เช่น อาจใช้อำนาจตาม ม. 7 หรือ เสนอชื่อโดยวุฒิสภา) ถึงแม้จะสามารถตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ ก็ย่อมจะต้องเผชิญกับการต่อต้านจากคนเสื้อแดงอย่างรุนแรง การใช้กฎอัยการศึกจะเป็นตัวเร่งให้คนเสื้อแดงหันไปใช้ยุทธศาสตร์ใต้ดิน และอาจนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน จนลุกลามกลายเป็น “สงครามกลางเมือง” ที่ยืดเยื้อยาวนานตามที่หลายฝ่ายเคยทำนายกันไว้

 

สถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้ต้องถือว่าอยู่บน “ทางแพร่ง” ว่าจะไปในทิศทางใด และท้ายที่สุดแล้ว อำนาจการตัดสินใจเลือกอนาคตประเทศไทย ก็อยู่ในมือของผู้ชายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เพียงคนเดียวเท่านั้น

 

 

ข้อมูลจาก

http://www.siamintelligence.com/thailand-martial-law/



20/May/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา