ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

จะทำยังไงเมื่อเป็นหนี้แล้วถูกฟ้อง ?

น่าจะมีหลายคนที่อาจจะเป็นกังวลอยู่ว่า ถ้าเรื่องหนี้สินของเรามันล่วงเลยมาจนการฟ้องร้องไปถึงกรมบังคับคดีแล้ว เราจะต้องทำยังไงกันบ้าง เรามาเรียนรู้ขั้นตอนการบังคับคดีไปด้วยกันเลย

 

แต่ก่อนที่จะถึงขั้นตอนของการบังคับคดี เรามาดูกันก่อนดีกว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างก่อนที่เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับคดีกับ เรา เมื่อเรามีการค้างชำระหนี้สินตั้งแต่ 1 งวด เจ้าหนี้จะทวงถาม เช่น โทรศัพท์ ส่งหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ สงคนทวงถามตามที่อยู่ของเรา หรือที่ทำงาน หลังจากทวงถามแล้วยังไม่ได้รับการชำระหนี้อีก ก็จะไปสู่ขั้นตอนของการฟ้องร้องคดี เมื่อเราได้รับจดหมายการฟ้องร้องคดีแล้วก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเราถูกฟ้อง เป็นคดีอะไร จากนั้นก็ไปปรึกษาทนายความเพื่อหาวิธีการกันต่อไป

 

ที่สำคัญคือ เราต้องไปศาลและต่อสู้คดี ไม่เช่นนั้นแล้วศาลจะถือว่าลูกหนี้ขาดนัดและศาลจะพิจารณาคดีโดยฟังเจ้าหนี้ ฝ่ายเดียว ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้มีโอกาสชนะคดีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังไม่หมดหนทางเสียทีเดียว  กรณีที่เราแพ้คดีเพราะไม่ไปศาลนั้น  เราอาจจะยื่นคำร้องให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับคำบังคับคดี

 

หลังจากที่ศาลตัดสินให้ลูกหนี้ชำระหนี้  เจ้าหนี้ก็จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อขออายัดทรัพย์ของลูกหนี้  โดยศาลจะส่งหมายบังคับคดีมาที่กรมบังคับคดี  เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาตั้งเรื่องยึดทรัพย์ของลูกหนี้  ซึ่งระหว่างนี้ลูกหนี้ก็สามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยคดีได้  สำหรับทางฝั่งเจ้าหนี้ก็ต้องยึดทรัพย์ของลูกหนี้ภายใน 10 ปี  เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี ไปแล้วเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์จากลูกหนี้ได้อีก

 

แล้วเมื่อเราถูกเจ้าหนี้เข้ายึดทรัพย์  สิ่งที่ต้องทำก็คือ ตรวจสอบจำนวนหนี้และทรัพย์สินที่จะถูกยึดว่าถูกต้องหรือไม่  ถ้าไม่ถูกต้องก็ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องตรวจสอบราคาทรัพย์ที่ถูกยึดไปด้วยว่า ราคาของทรัพย์สินที่ถูกยึดไปนั้นไม่ได้ถูกประเมินจนต่ำเกินไป  ถ้าเราเห็นว่าราคาต่ำเกินไปก็ควรจะต้องแจ้งต่อพนักงานบังคับคดีพร้อมหลัก ฐานราคาของทรัพย์สินที่ถูกต้องเพื่อให้มีการประเมินและทำราคาของทรัพย์สิน ให้ถูกต้อง

 

หลังจากที่ถูกยึดทรัพย์ไปแล้ว เจ้าหนี้ก็ไปขออนุญาตศาลเพื่อนำทรัพย์สินที่ยึดมาได้ออกขายที่จะเรียกว่า ขายทอดตลาด ซึ่งในขั้นตอนนี้หากเราเป็นลูกหนี้เราก็ควรที่จะหาคนที่สนใจมาสู้ราคาเพื่อ ให้การขายทรัพย์สินในครั้งนี้ได้ราคาตามที่เราต้องการ  และในขณะเดียวกันเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ก็จะให้คนของตัวเข้าไปประมูลทรัพย์สิน นั้นออกมาในราคาถูก  เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำ คือ เราต้องเข้าร่วมการขายทรัพย์สินของเราด้วยทุกครั้ง หากเห็นว่าราคาที่ขายทรัพย์สินนั้นต่ำจนมากเกินไป  เราก็สามารถคัดค้านการขายได้  ซึ่งตามกฎหมายแล้วจะอนุญาตให้ทางฝั่งลูกหนี้สามารถเข้าคัดค้านได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

 


แล้วเมื่อผ่านการยึดทรัพย์สินเพื่อไปขายทอดตลาดทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว  แต่ก็ยังไม่สามารถชำระหนี้สินได้หมด  และถ้ามีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท ก็จะถูกฟ้องล้มละลายเป็นขั้นตอนต่อไป โดยก่อนที่จะถูกฟ้องล้มละลายนั้นก็สามารถที่จะขอเจรจาประนอมหนี้กันก่อนก็ ได้  ถ้าหากไม่สำเร็จศาลก็สั่งพิทักษ์ทรัพย์สินเด็ดขาดและรายงานศาลให้เป็นบุคคล ล้มละลาย  และเมื่อถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้วล่ะก็จะต้องไปรายงานตัวต่อศาลเป็น ระยะเวลา 3 ปี แต่ถ้าไม่ไปรายงานตัวศาลก็สั่งให้เพิ่มเป็น 5 ปี อีกทั้งการทำธุรกรรมต่างๆ การเดินทางออกนอกประเทศก็จะต้องขออนุญาตจากพนักงานบังคับคดี ไม่เช่นนั้นก็จะถือว่าทำผิดกฎหมายได้

 

แต่ก็มีสิ่งที่ลูกหนี้จะต้องรู้ไว้ด้วยอีกเรื่องก็คือ การยึดทรัพย์นั้นมีบางอย่างที่เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถมายึดจากลูกหนี้ได้ ก็คือ เบี้ยเลี้ยงชีพตามที่กฎหมายกำหนด เงินเดือน ค่าราชการ เช่น เงินเดือนค่าจ้างบำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นๆ ในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ และเงินสงเคราะห์บำนาญหรือบำเหน็จที่หน่วยงานราชการได้จ่ายให้กับคู่สมรส หรือญาติที่มีชีวิตของลูกหนี้

 

ทั้งนี้แล้วถ้าหากเราเป็นลูกหนี้ที่คิดว่ากำลังจะมีปัญหาในการผ่อนชำระ แล้วล่ะก็ ให้รีบติดต่อกับธนาคาร เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขก่อนที่เราจะกลายเป็นหนี้เสียและมีเรื่องฟ้องร้อง ต่อศาลกันก่อนดีกว่า

 

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub 13 พ.ค. 59



15/May/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา