ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมมีสิทธิดังต่อไปนี้

1. แจ้งหรือขอให้เจ้าพนังงานแจ้งให้ญาติหรือบุคคลที่ไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ถูกควบคุม

2. พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

3. ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เข้าฟังการสอบปากคำของตนในชั้นสอบสวน

4. ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติได้ตามสมควร

5. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วย

 

เมื่อมีการยื่นฟ้องต่อศาลเป็นจำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้

1.  ได้รับการพิจารณาด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม

2.  แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา

3.  ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

4.  ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ

5.  ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม

6.  ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน

 

การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล

การขอประตัว คือ การขออนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย พ้นการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาล ตามระยะเวลานานเกินกว่าความจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี

 

การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล จะทำได้ในชั้นใดบ้าง ?

1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ยังมิได้ถูกฟ้อง ให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวนหรือพักงานอัยการแล้วแต่กรณี

2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาล และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่ศาล

3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้วให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่ศาล

 

กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ขอประกันมีสิทธิประการใดบ้าง ?

ผู้ขอประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ดังนี้

1. คำสั่งของศาลชั้นต้นให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1

2. คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา

 

คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ให้ประกันตัวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด

ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอประกันตัวใหม่

 

คดีที่ถูกฟ้องต้องใช้วงเงินประกันเท่าไร ?

สามารถขอตรวจสอบวงเงินประกันในการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือเว็บไซด์ของศาล

 

หลักประกันใดบ้างที่สามารถใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ?

1. เงินสด

2. หลักทรัพย์อื่น เช่น

-  โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3)

-   พันธบัตรรัฐบาล สลากออกสิน

-   สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร

-   หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร

-   หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย

3.  บุคคลเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์

-   ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างทางทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา

-   เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ (ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันเฉพาะตนเองหรือญาติใกล้ชิด) โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

-  ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่นแพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ฯลฯ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหามหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ สำหรับกรณีความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทำสัญญาประกัน ได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

 

หลักฐานที่ใช้ประกอบการประกันตัว

1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาของผู้ต้องหาหรือจำเลยและของผู้ขอประกัน

2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้ต้องหา จำเลย และผู้ขอประกัน

3. หากผู้ประกันสมรสแล้ว ต้องให้คู่สมรสให้ความยินยอมพร้อมใบสำคัญการสมรส สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรสหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ หากหย่าจากคู่สมรสแล้ว ให้นำใบสำคัญการหย่า พร้อมสำเนา หากคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว นำใบมรณบัตรหรือทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนามายื่น

3. หากมีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ให้นำใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล พร้อมสำเนามายื่น

4. ในกรณีวางสมุดเงินฝากประจำของธนาคาร ต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันของธนาคาร ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน มายื่น

5. ในกรณีวางโฉนดที่ดิน น.ส. 3 ก. น.ส.3 ต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้อง ที่ ซึ่งออกให้ไม่เกิน 4 เดือน มายืน

6. ในกรณีที่ประกันด้วยตำแหน่งหน้าที่ ให้นำหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับ อัตราเงินเดือนที่เป็นปัจจุบันไม่เกิน 1 เดือนมายื่น

·   ในกรณีที่ใช้หลักทรัพย์และบุคคลเป็นหลักประกันจะต้องวางเงินจำนวน 2,500 บาท ต่อการประกันจำเลย 1 คน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีกรณีมีการผิดสัญญาประกัน

·   กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่น(ญาติ) นำหลักฐานของตนมาประกัน ใบมอบอำนาจต้องทำ ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งที่ดินตั้งอยู่ โดยมีนายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราเป็น สำคัญด้วย

 

เรียบเรียงโดย : ทนายพรนารายณ์  ทุยยะค่าย 22 พฤศจิกายน 2556



22/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

14 มกราคม 66 : ก.แรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงาน จัดอบรมเร่งด่วน, ไทยรัฐออนไลน์ 14 มกราคม 66 : ก.แรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงาน จัดอบรมเร่งด่วน, ไทยรัฐออนไลน์

รมว.แรงงาน สั่ง ปลัดแรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงานที่ต้องการ พร้อมจัดฝึกอบรมอย...

11 มกราคม 66 : ก.แรงงาน ชวนผู้ประกันตน ม.33 ที่อยากผ่อนบ้านดอกเบี้ยถูกรีบจองสิทธิ สามารถยื่นของสิทธิได้ถึง 19 ธ.ค.66 , ประกันสังคม 11 มกราคม 66 : ก.แรงงาน ชวนผู้ประกันตน ม.33 ที่อยากผ่อนบ้านดอกเบี้ยถูกรีบจองสิทธิ สามารถยื่นของสิทธิได้ถึง 19 ธ.ค.66 , ประกันสังคม

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน จ...

10 มกราคม 66 : ส่องแนวโน้ม และความท้าทาย 10 มกราคม 66 : ส่องแนวโน้ม และความท้าทาย "ตลาดแรงงานไทย" ในปีกระต่าย , ไทยรัฐออนไลน์

ปีเสือผ่านพ้นไป ตลาดแรงงานไทยเริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวและบร...

6 มกราคม 66 : “เข้าไทย” จุดหมายต่อไปของคนลาวในวันที่เงินกีบอ่อนยวบ , BBC NEWS ไทย 6 มกราคม 66 : “เข้าไทย” จุดหมายต่อไปของคนลาวในวันที่เงินกีบอ่อนยวบ , BBC NEWS ไทย

ในภาวะที่เงินกีบอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2565 ชาวลาวจำนวนมากเผชิญกับราคาสินค้าที่พุ่งสูงแ...

23 ธันวาคม 65 : เรารู้อะไรบ้าง เมื่อค้าปลีกยักษ์อังกฤษถูกฟ้องเพราะบังคับใช้แรงงานเมียนมาในแม่สอด , BBC NEWS ไทย 23 ธันวาคม 65 : เรารู้อะไรบ้าง เมื่อค้าปลีกยักษ์อังกฤษถูกฟ้องเพราะบังคับใช้แรงงานเมียนมาในแม่สอด , BBC NEWS ไทย

ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยยังคงถูกสังคมโลกจับจ้องมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือ การใช้แรงงาน...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

update 11-11-65 : คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ update 11-11-65 : คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา