ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กฎหมายสามัญประจำบ้าน : ทรัพย์สิน – สามีภริยา

สมัยเด็กครูถวิลกับข้าพเจ้าเคยเรียนหนังสือ ป.4 มาด้วยกัน อยู่วัดกินข้าววัดด้วยกันมา พอโตขึ้น  ครูถวิลก็ไปเป็นครูใหญ่ ส่วนข้าพเจ้าก็ไปเป็นอัยการแผ่นดิน แยกย้ายกันไป

 

ข้าพเจ้ากลับมาบ้านเกิดบ้านนอกคอกนาอีกครั้งหนึ่ง เช้าวันนี้อากาศแจ่มใสดีมาก ตะวันสีแดง คอยๆ ลอยขึ้นที่ขอบฟ้า ข้าพเจ้านั่งจิบกาแฟที่ข้างบ่อน้ำหลังบ้าน ครูถวิลเข้ามานั่งคุยกับข้าพเจ้า  ในฐานะเพื่อนเก่า

 

 “พี่ร่วม ขอปรึกษากฎหมายหน่อยซี”

 

 “เอาเลย”

 

 “คือ ครูสมศรีลูกน้องผม มีแฟนเป็นผู้รับเหมาชื่อแสวง มีลูกชายอายุสามขวบหนึ่งคน คุณแสวงไปมีเมียอีกคนชื่อสวย เป็นนางพยาบาลอยู่ที่จังหวัด คุณแสวงแกซื้อบ้านหนึ่งหลังกับเปิดร้านขายยาให้กับนางพยาบาลด้วย

 

ครูสมศรีถามผมว่า ถ้าเกิดแฟนเขาตายลง ร้านขายยากับบ้านหลังนั้นจะเป็นของใคร ผมก็ตอบไม่ได้ ผมไม่ได้เรียนกฎหมาย พี่ร่วมช่วยบอกผมด้วย ผมจะได้ไปเล่าให้ครูสมศรีฟัง...”

 

ข้าพเจ้ายกแก้วกาแฟขึ้นจิบก่อนจะอธิบายกฎหมายให้เพื่อนเก่าฟัง...

 

 “ถวิล... ต้องแยกออกเป็นสองอย่างระหว่างทรัพย์สินของเมียหลวงกับเมียน้อย เมียหลวงตามกฎหมายนั้นตั้งแต่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง พ.ศ. 2478 มาจนถึง พ.ศ. 2519 ประมาณ 40 กว่าปีแล้ว กฎหมายเขาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไว้สามอย่างด้วยกัน คือ... สินเดิม สินส่วนตัว กับ  สินสมรส...

 

สินเดิม คือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาก่อนจะสมรส เช่น นายดำสามีมีบ้านที่ดินมาก่อนจะแต่งงานกับนางเหลือง นางเหลืองมีรถยนต์ 1 คันมาก่อนจะแต่งงานกับนายดำ อย่างนี้บ้านที่ดินเป็นสินเดิมของนายดำ ส่วนรถยนต์เป็นสินเดิมของนางเหลือง

 

 “เข้าใจครับ”

 

สินส่วนตัว คือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดใช้เป็นของใช้ส่วนตัวของเขา เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ประกอบอาชีพ เช่น กระเป๋ายารักษาโรคของนางพยาบาล เลื่อยตัดไม้ของช่างไม้ที่เขา   ใช้เป็นส่วนตัว พวกนี้เป็นสินส่วนตัวทั้งนั้น...

 

อีกอย่างคือ สินสมรส คือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาระหว่างที่สมรสกันถือว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกัน

 

 “แล้ว...”

 

“เดี๋ยวก่อน... แต่ทุกวันนี้ไม่มี สินเดิม แล้ว มีแต่ สินสมรส กับ สินส่วนตัว...”

 

“อ้าว!”

 

 “เพราะกฎหมายยกเลิกสินเดิมแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2519”

 

ข้าพเจ้าพยักหน้าให้เขาถามต่อ

 

 “แล้วร้านขายยากับบ้านของนางพยาบาลล่ะครับจะเป็นของใคร ถ้าแฟนของครูสมศรีตาย...”

 

 “ขออธิบายหลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก่อน”

 

 “ได้ครับพี่”

 

“สำหรับสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อสามีของครูสมศรีตายลง มรดกของคนตายให้แบ่งดังนี้

 

- สินส่วนตัวของฝ่ายใด ต่างก็แยกออกไป ของใครของมัน

 

- สินสมรสที่เขาได้มาระหว่างสมรส ให้แบ่งออกคนละครึ่งระหว่างสามีภริยา สมมติว่ามีสินสมรสอยู่ 1 ล้าน แบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง ก็ได้คนละ 5 แสน สรุปว่าคุณแสวงสามี (ผู้ตาย) ได้ 5 แสน ครูสมศรี (ภริยาผู้ตาย) ได้ 5 แสน 5 แสนบาทของผู้ตายก็คือมรดกของผู้ตายนั่นเอง...”

 

“แล้วมรดกของผู้ตาย 5 แสนจะแบ่งกันยังไง...”

 

 “ก็แบ่งไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ผู้ตายมีพ่อแม่ลูก พ่อแม่ลูกก็ได้แบ่งคนละส่วนเท่าเท่ากัน

 

 “ขอโทษพี่ร่วม... คุณแสวงแกมีพ่อแม่ ลูกอีกหนึ่งคน ครูสมศรีภริยาด้วย ถ้าคุณแสวงตายลงจะแบ่งกันยังไงครับ ผมงง”

 

“ถวิลอย่างง นี่เป็นคำถามที่ดี นอกจากครูสมศรีจะได้แบ่งสินสมรสไปครึ่งหนึ่งแล้ว 5 แสน... ครูสมศรียังมีสิทธิได้ส่วนแบ่งมรดกของคุณแสวงอีกนะ”

 

 “ได้อีก”

 

“ใช่! ภริยามีสิทธิได้รับมรดกของสามีผู้ตายอีกด้วย ตามส่วนแบ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ถ้าผู้ตายมีลูก ภริยาได้แบ่งมรดกเท่ากับลูกหนึ่งคน ถ้าไม่มีลูกมีแต่พ่อแม่ภริยา ก็ได้แบ่งมรดกครึ่งหนึ่ง ถ้ามีแต่พี่น้องลุงป้าน้าอา ปู่ย่าตายาย ภริยาก็ได้แบ่งถึงสองในสามส่วนของมรดก... กฎหมายเขาเขียนไว้หมดแล้ว...”

 

ครูถวิลยื่นถ้วยกาแฟร้อนให้ข้าพเจ้า

 

 “พี่ร่วม แล้วบ้านกับร้านขายยาของนางพยาบาลที่คุณแสวงให้จะเป็นของใคร ถ้าคุณแสวงตาย...”

 

 “นี่คือปัญหาทรัพย์สินระหว่างสามีกับภริยานอกกฎหมาย ระหว่างคุณแสวงกับนางพยาบาล หลักกฎหมายก็คือทรัพย์สินระหว่างสามีกับภริยานอกกฎหมายนั้น เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคุณแสวงกับนางพยาบาลไม่ใช่สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าคุณแสวงกับนางพยาบาลเขาลงทุนทำมาหากินด้วยกัน สร้างบ้านสร้างร้านขายยาด้วยกัน ทั้งสองต่างก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์สินเหล่านั้น ทั้งสองคนก็เป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นคนละครึ่ง”

 

 “หมายความว่าขณะที่คุณแสวงตาย ดูว่าทรัพย์สินอะไรที่เป็นมรดกของคุณแสวง ก็เอามาแบ่งกันระหว่างครูสมศรีกับทายาทของคุณแสวง...”

 

 “ถูกต้อง”

 

“ส่วนบ้านและร้านขายยาของนางพยาบาลก็ดูว่าถ้าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคุณแสวงกับนางพยาบาลก็ต้องแบ่งให้นางพยาบาลครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งก็เป็นมรดกของคุณแสวง”

 

 “ถูกแล้ว เพราะอีกครึ่งหนึ่งเป็นของนางพยาบาล ไม่ใช่ของนายแสวง...”

 

 “ขอโทษพี่ร่วม... แล้วถ้าเกิดบ้านกับร้านขายยาเป็นของคุณแสวงคนเดียวแล้วคุณแสวงยกให้นางพยาบาลก่อนตายล่ะ... บ้านกับร้านขายยาจะเป็นมรดกของคุณแสวงไหมพี่...”

 

 “ก็ต้องดูว่าขณะที่คุณแสวงตาย คุณแสวงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและร้านขายยารึเปล่าล่ะ ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของคุณแสวง... เพราะสมบัติเหล่านั้นได้ตกไปเป็นของคนอื่นไปแล้วก่อนที่คุณแสวงจะถึงแก่ความตาย”

 

 “ขอบคุณมากนะพี่ร่วม ผมตาสว่างขึ้นเยอะเลย ผมจะไปเล่าให้ครูสมศรีฟังตาม ที่พี่บอก...”

 

ครูถวิลกลับไปแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกสบายใจที่ได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนเก่าและให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชน...

 

HUG Magazine ปีที่ 8 ฉบับที่ 2



25/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา