ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รัฐบาลอนุมัติ “แผนกองทุนสำรองเลี้ยงขีพภาคบังคับ” นายจ้างในไทยพร้อมหรือยัง By BrandInside admin 18/03/2017

โครงสร้างประชากรของไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นโยบายที่ออกมาเพื่อรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เช่น การส่งเสริมการออมเงินแบบระยะยาวเพื่อใช้ในวัยชรา เพื่อให้แน่ใจว่ารายได้หลังเกษียณอายุจะเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ดังนั้น รัฐบาลจึงเห็นชอบหลักการให้เริ่ม “ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ” ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป

แม้รายละเอียดการดำเนินงานจะยังไม่แน่ชัด เพราะต้องรอให้รัฐสภาพิจารณาและสรุปการปรับเปลี่ยนกฎหมายอีกระยะหนึ่ง แต่อย่างที่รู้อยู่แล้วว่าไทยมีอัตราการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว แผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุ และสนับสนุนให้วัยแรงงานมีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ

 

แผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จ่ายสมทบเริ่มต้น 3%

สำหรับโครงสร้างแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ 3% ของเงินเดือน และเพิ่มจนถึง 10% ของเงินเดือนภายในปีที่ 10 โดยเงินเดือนมีเพดานสูงสุดที่ 60,000 บาทต่อเดือน (ประมาณ 1,714 ดอลล่าร์)

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ลูกจ้างมีรายได้ค่าจ้างต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน (ประมาณ 286 ดอลล่าร์) ให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเพียงฝ่ายเดียว สำหรับการบริหารดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ ยังไม่มีการยืนยันรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่จะทำหน้าที่บริหารดูแลการลงทุนดังกล่าวแต่อย่างใด

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า รัฐบาลเตรียมกำหนดใช้แผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับในปี 2561 เป็นปีแรก โดยจะเริ่มจากบริษัทที่มีลูกจ้างจำนวน 100 คนขึ้นไปก่อน จากนั้นจะทยอยกำหนดใช้กับทุกบริษัทมีลูกจ้างจำนวน 1 คนขึ้นไปตั้งแต่ปีที่ 6 ของการบังคับใช้กฎหมายนี้

3 แนวทางกระทบนายจ้าง

บริษัทต่าง ๆ ที่มีกองทุนส่วนตัวอยู่แล้ว อาจไม่ต้องสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับเพิ่มเติมอีก แต่อาจต้องพิจารณาปรับแผนที่มีอยู่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีรายละเอียดสำหรับนายจ้าง

1. โครงสร้างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน

นายจ้างที่มีแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว ควรตรวจสอบทบทวนโครงสร้างการจ่ายเงินสมทบปัจจุบันของตนใหม่ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากรัฐบาลเพิ่มอัตราขั้นต่ำของการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก 2% เป็น 3% สำหรับกองทุนที่ดำเนินการโดยบริษัทเอกชน และอาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่นายจ้างจะพิจารณากองทุนสำรองเลี้ยงชีพขององค์กรอย่างครอบคลุมในแง่ของโครงสร้างกองทุนโดยรวมและกลยุทธ์ในการลงทุน เพื่อให้แน่ใจว่ายังสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร

2. การเปลี่ยนจากแผนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้เป็นแผนสมทบเงินที่กำหนดไว้

บริษัทหลายแห่งในประเทศไทยยังคงใช้ แผนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ (defined benefit plans) ทำให้บริษัทไม่สามารถทราบค่าใช้จ่ายที่มีต่อบริษัทได้จนกว่าจะมีการจ่ายผลประโยชน์เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุ และเนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับเป็น แผนสมทบเงินที่กำหนดไว้ (defined contribution plans) นายจ้างจึงควรพิจารณาโครงสร้างแผนที่มีอยู่ และประเมินว่าควรมีการปรับแก้หรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น เช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนต่างๆ ทั่วโลก บริษัทในประเทศไทยควรพิจารณาไตร่ตรองถึงการปรับเปลี่ยนแผนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ ไปเป็นแผนสมทบเงินที่กำหนดไว้ว่าดีหรือไม่ ซึ่งนี่อาจเป็นโอกาสดีที่ควรพิจารณาหากยังไม่ได้เปลี่ยน การเปลี่ยนแผนอาจช่วยให้บริษัทลดภาระหนี้สินระยะยาวจากสมุดบัญชีบริษัท รวมทั้งทำให้บริษัทบริหารงบกำไรขาดทุนได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และลดความเสี่ยงระยะยาวในเรื่องการขึ้นอัตราเงินเดือนและผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย

3. การกำหนดใช้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับในอนาคต

คาดการณ์ว่า บริษัทที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนจะต้องดำเนินการตามแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับนี้ ในขณะที่บริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว ไม่ต้องดำเนินการ แม้ในขณะนี้จะมีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับการดำเนินการแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ บริษัทต่างๆ ก็จำเป็นต้องพิจารณาทบทวนแผนสวัสดิการสำหรับผู้เกษียณอายุที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงระเบียบข้อบังคับและการกำกับดูแลสวัสดิการด้วย

ศึกษาไว้ก่อน เตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ

แม้รายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับจะยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่สิ่งสำคัญที่นายจ้างในประเทศไทยต้องตระหนักถึง คือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดกับแผนงานด้านสวัสดิการและค่าใช้จ่ายของบริษัท

ผลสำรวจเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อสวัสดิการองค์กร ประจำปี 2558/2559 (2015/2016 Global Benefits Attitudes Survey) ของวิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน เผยว่า 43% ของลูกจ้างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีความกังวลใจเกี่ยวกับอนาคตทางการเงินของพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในประเทศไทยเช่นกัน

แผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ จึงออกมาเพื่อผลักดันส่งเสริมให้เกิดการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุมากขึ้น และเปิดโอกาสให้นายจ้างได้พิจารณาทบทวนการจัดการดูแลและความเหมาะสมในการสนับสนุนความต้องการทางการเงินในระยะยาวของลูกจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ที่มา: วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน



18/Mar/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา