ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๐๘/๒๕๖๐
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการบริษัทจำเลย สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา มีการต่อสัญญาหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายต่อสัญญาถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ต่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ๑๘๐ วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๔๙๕,๐๐๐ บาท แต่จำเลยไม่จ่าย ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ๒,๙๗๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า โจทก์เคยทำงานกับจำเลยเป็นลูกจ้างตำแหน่ง Executive เกษียณอายุวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ เมื่อเกษียณแล้ว โจทก์จ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมายและเลขานุการของจำเลยเพื่อให้บริการและให้ความช่วยเหลือจำเลย ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า การที่โจทก์ทำงานให้จำเลยไม่ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน พิพากษา
ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎีกา เห็นว่า การพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยจะมีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างลูกจ้างกันตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในคดี และบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๗๕ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
มิใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าฝ่ายรับจ้างตกลงทำงานให้ฝ่ายว่าจ้าง และฝ่ายว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ และผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานทั้งหมดให้แก่ฝ่ายรับจ้างเท่านั้น
คดีนี้ภายหลังโจทก์เกษียณอายุแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาฉบับใหม่กับโจทก์ ระบุว่าจำเลยจ้างโจทก์ต่อไปตามสัญญาจ้างที่ปรึกษา (Consultancy Service Agreement) เป็นผู้รับจ้างอิสระในการให้บริการแก่โจทก์ ไม่ได้เป็นการแต่งตั้งเป็นพนักงาน การทำงานไม่อยู่ภายในกรอบระเบียบ กำหนดเวลาทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของจำเลย แสดงว่าโจทก์รับทำการงานให้จำเลยโดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจการบังคับบัญชา ไม่มีเวลาทำงานปกติ
นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่สัญญาในเรื่องจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๗๕ และไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างกันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย
พิพากษายืน
รมว.แรงงาน สั่ง ปลัดแรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงานที่ต้องการ พร้อมจัดฝึกอบรมอย...
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน จ...
ปีเสือผ่านพ้นไป ตลาดแรงงานไทยเริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวและบร...
ในภาวะที่เงินกีบอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2565 ชาวลาวจำนวนมากเผชิญกับราคาสินค้าที่พุ่งสูงแ...
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยยังคงถูกสังคมโลกจับจ้องมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือ การใช้แรงงาน...
อ่านได้ที่นี่ CLICK : กดอ่านตรงนี้...
ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให...