ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

‘Gig Worker’ แรงงานอิสระยุค 4.0 ความท้าทายสร้างสมดุลเศรษฐกิจดิจิทัล (1) , ประชาชาติธุรกิจ 21 มีค. 64

นอกรอบ
จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์, เซฮา ยาทิม, Access Partnership

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองในยุคปัจจุบัน ภาพคนขับรถมอเตอร์ไซค์ที่สวมเสื้อแจ็กเกตเพื่อคอยให้บริการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นได้กลายเป็นสิ่งที่คุ้นตา และเห็นได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันคนไทยจำนวนไม่น้อยเริ่มคุ้นชินกับการใช้แอปพลิเคชั่นเรียกรถแทนการโบกเรียกแท็กซี่ตามท้องถนน แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและเดินทาง


รวมถึงบริการเรียกรถผ่านแอป ผู้ใช้บริการลดลงมากในช่วงล็อกดาวน์ แต่ค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังรัฐบาลประกาศผ่อนคลายขณะที่บริการฟู้ดดีลิเวอรี่ได้รับอานิสงส์ในเชิงบวกจากวิกฤต เนื่องจากคนไทยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน หันมาสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นมากขึ้น


เศรษฐกิจดิจิทัลกับการขยายตัวของแรงงานอิสระ


ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งเปิดโอกาสให้มีรูปแบบการทำงานที่เป็นอิสระ หรือที่เรียกกันว่า “Gig Economy” ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริการฟู้ดดีลิเวอรี่ และธุรกิจเรียกรถผ่านแอป ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารายได้ของธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2564-2567 จะเติบโตขึ้นราว 11.3% โดยมูลค่ารวมของตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 329 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 455 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2567


ขณะที่อุตสาหกรรมการให้บริการเรียกรถผ่านแอปในปีที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมสูงถึง 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ทั้งสองบริการได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพ ต้องหันมาพึ่งพาระบบเศรษฐกิจดังกล่าว


ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนที่เข้ามาทำงานในระบบ Gig Economy หรือกลุ่ม “gig worker” ส่วนใหญ่ ต้องการทำเป็น “อาชีพเสริม” เพิ่มช่องทางหารายได้ นอกเหนือจากงานประจำ เหตุผลหลักที่ทำให้รูปแบบของงานประเภทนี้ได้รับความนิยม คือ


1) ค่าตอบแทนที่น่าพอใจ และ 2) ความอิสระและเวลาในการทำงานที่ยืดหยุ่น


อย่างไรก็ดี จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยอันเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 คนที่หันมาทำงานในรูปแบบนี้เพื่อเป็นแหล่งรายได้หลักมีจำนวนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้มีคนขับหรือไรเดอร์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระหน้าใหม่หลั่งไหลเข้ามาในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก จนเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อรายได้ของพวกเขาในที่สุด


ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้ รวมถึงภาคประชาสังคมบางส่วน ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดูแลในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม การให้ความคุ้มครองและการทำประกัน รวมถึงเสนอให้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายของแรงงานในระบบจาก “ผู้รับจ้างอิสระ” สู่การเป็น “พนักงาน” ของบริษัท


และเนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายแรงงาน จึงส่งผลให้พวกเขาไม่ได้รับสวัสดิการหรือความคุ้มครองทางกฎหมายที่เหมาะสม ประเด็นนี้จึงกลายเป็นที่ถกเถียงว่า ควรหรือไม่ที่จะพิจารณาขยายบทบัญญัติเรื่องสวัสดิการแรงงานให้ครอบคลุมไปสู่ระบบ Gig Economy ด้วย


และแม้ว่ากลุ่มแรงงานอิสระเหล่านี้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต รวมทั้งสิทธิด้านเงินบำนาญ แต่กลับมีเพียง 55% จากกว่า 38.3 ล้านคน ในกองทุนประกันสังคมเท่านั้นที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ นั่นหมายความว่าแรงงานนอกระบบจำนวนมากยังคงไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กองทุนประกันสังคม


แรงงานอิสระ…ประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก


ประเด็นการเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ที่ผ่านมาเราได้เห็นกรณีตัวอย่างในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ไรเดอร์คนขับนับร้อยคนที่รวมตัวกันประท้วงที่หน้าสำนักงานของ Grab ในกรุงฮานอย เพื่อต่อรองเรื่องการถูกเรียกเก็บค่าคอมมิสชั่นที่สูงขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมา หรือ Garda Nasional หรือสหภาพคนขับรถจักรยานยนต์ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งข่มขู่ว่าจะปลุกระดมกลุ่มคนขับทั่วประเทศให้ออกมาประท้วง หากยังคงมีการเดินหน้าแผนเจรจาควบรวมกิจการระหว่าง Grab และ Gojek โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสหภาพ ด้วยความกังวลว่าจะส่งผลให้มีการปรับลดจำนวนคนขับลง


และล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา คนขับรถส่งอาหารของ Ele.me ผู้ให้บริการฟู้ดดีลิเวอรี่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา ได้จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงเรียกร้องการจ่ายค่าตอบแทน เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้จุดชนวนให้ประเด็น Gig Economy กลายเป็นที่สนใจในระดับโลก


ปัญหาที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือ บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานที่อาจล้าสมัย ไม่ครอบคลุมหรือคุ้มครองกลุ่มแรงงานอิสระ ปัจจุบันกฎหมายแรงงานของไทย แบ่งแรงงานออกเป็น 2 ประเภท คือ แรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระไม่ได้รับความคุ้มครองเต็มที่ตามสิทธิประกันสังคม มีเพียงสิทธิในการได้รับการคุ้มครองบางส่วนในฐานะผู้ประกันตนโดยสมัครใจเท่านั้น



29/Mar/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา