ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

Gig Worker แรงงานอิสระยุค 4.0 ความท้าทายสร้างสมดุลเศรษฐกิจดิจิทัล (จบ) , ประชาชาติธุรกิจ 27 มีค. 64

คอลัมน์ นอกรอบ
จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์, เซฮา ยาทิม Access Partnership


แม้จะมีการให้ความเห็นว่า ไรเดอร์ ที่ให้บริการส่งอาหารหรือคนขับที่ให้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ถือเป็นผู้รับจ้างอิสระในระบบ gig economy ซึ่งไม่อาจถูกจัดอยู่ทั้งในกลุ่มแรงงานในระบบหรือนอกระบบตามกฎหมายแรงงาน


แต่หลายฝ่ายกลับมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานอิสระและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มนั้นมีความคล้ายคลึงกับความสัมพันธ์แบบลูกจ้างและนายจ้างมากกว่า ตัวอย่างเช่น ในบางแพลตฟอร์มผู้ให้บริการสามารถกำหนดเงื่อนไขการรับงานและจุดหมายปลายทางของคนขับได้ และยังมีบทลงโทษสำหรับคนขับที่ปฏิเสธงานหรือไม่สามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้อีกด้วย


อย่างไรก็ดี แนวคิดในการผลักดันที่จะเปลี่ยนสถานะของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระในระบบ gig economy จาก “ผู้รับจ้างอิสระ” ไปสู่การเป็น “พนักงาน” ของบริษัทอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากคนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับรูปแบบการทำงานที่เป็นอิสระและมีความยืดหยุ่น ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้งานรูปแบบนี้แตกต่างจากการทำงานประจำ


ในขณะที่บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพากลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ก็อาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหากต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างประจำจริง ๆ


ทั้งนี้ มีผลวิจัยระบุว่า หากประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดสถานะให้คนขับรถต้องกลายเป็นพนักงานประจำ ธุรกิจของ Uber ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นราว 20-40% และอาจส่งผลให้บริษัทต้องขึ้นค่าราคาบริการตั้งแต่ 25% ไปจนถึง 110% โดยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ไม่เพียงจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม แต่ยังกระเทือนไปถึงระบบเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวมของประเทศด้วย


บทบาทของภาครัฐรับมือความท้าทาย


หน่วยงานภาครัฐทั่วโลกต่างเร่งหาแนวทางในการจัดการกับประเด็นดังกล่าว โดยแต่ละประเทศมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันไป อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้รับรองข้อเสนอที่ 22 (หรือ proposition 22) ภายหลังมีการลงคะแนนเสียง และ 58% เห็นด้วยกับการจัดหมวดหมู่ของแรงงานในระบบ gig economy ให้เป็นผู้รับจ้างอิสระ


ในขณะที่รัฐบาลเกาหลีใต้มีแผนที่จะออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองกลุ่มแรงงานอิสระที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยข้อเสนอนี้จะกำหนดให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ต้องจัดหาประกันสุขภาพและประกันการว่างงานให้แก่กลุ่มแรงงานอิสระอย่างเหมาะสม ส่วนในประเทศเวียดนามรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ผู้พิการ และสวัสดิการสังคมอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางในการผนวกแรงงานอิสระให้เข้ามาอยู่ในระบบ โดยหนึ่งในนโยบายที่มีการนำเสนอ คือ การอนุมัติให้ใช้บัญญัติการจ้างงานปี พ.ศ. 2498 ครอบคลุมกลุ่มแรงงานดังกล่าว


สำหรับในประเทศไทยนั้นหากพิจารณาโดยคำนึงถึงประเด็นที่เกี่ยวกับกองทุนประกันสังคม รวมถึงจำนวนผู้ประกันตนที่ยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก การปรับสถานะของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระให้กลายมาเป็นพนักงานอาจไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้


ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่รัฐบาลควรดำเนินการ คือ การส่งเสริมความรู้ในด้านการเงิน และการพัฒนาทักษะความสามารถต่าง ๆ ที่จำเป็นให้แก่แรงงานอิสระเหล่านี้ เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาสามารถทำงานที่สร้างมูลค่าที่สูงขึ้นได้


แนวทางแก้ปัญหาแบบองค์รวมและยั่งยืน


ผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านแรงงาน ควรพิจารณาอย่างรอบด้านถึงประเด็นด้านสวัสดิการของแรงงานในระบบ gig economy และร่วมมือกับหน่วยงานภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ แรงงานอิสระ และองค์กรหรือสถาบันที่มีบทบาทในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนตามบริบทของแรงงานไทย


อีกหนึ่งวิธีในการพัฒนาสวัสดิการสังคม คือ การส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถให้กับแรงงานไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสร้างแรงจูงใจในการเข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ หรือเรียนรู้จากการทำงานจริง เพื่อให้พวกเขาสามารถก้าวสู่การเป็นแรงงานของอุตสาหกรรมที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้


การประกาศบังคับใช้หรือเปลี่ยนแปลงตัวบทกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่แรงงานอิสระต้องเผชิอาจฟังดูเป็นวิธีที่ง่าย แต่นั่นไม่ใช่หนทางที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้ทุกภาคส่วนได้ในระยะยาว แน่นอนว่าข้อถกเถียงเรื่องแรงงานอิสระในระบบ gig economy เป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบ


สิ่งสำคัญที่ควรจะต้องคำนึงถึงในการหาทางออกสำหรับประเด็นนี้ คือการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และต้องสอดคล้องไปกับยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายระยะยาวของประเทศไทย อาทิ การส่งเสริมการจ้างงานที่ยั่งยืน และการเสริมศักยภาพให้แรงงานปรับตัวกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เป็นต้น



29/Mar/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

14 มกราคม 66 : ก.แรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงาน จัดอบรมเร่งด่วน, ไทยรัฐออนไลน์ 14 มกราคม 66 : ก.แรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงาน จัดอบรมเร่งด่วน, ไทยรัฐออนไลน์

รมว.แรงงาน สั่ง ปลัดแรงงาน เร่งประสานสมาคมโรงแรม-ท่องเที่ยว หาสเปกแรงงานที่ต้องการ พร้อมจัดฝึกอบรมอย...

11 มกราคม 66 : ก.แรงงาน ชวนผู้ประกันตน ม.33 ที่อยากผ่อนบ้านดอกเบี้ยถูกรีบจองสิทธิ สามารถยื่นของสิทธิได้ถึง 19 ธ.ค.66 , ประกันสังคม 11 มกราคม 66 : ก.แรงงาน ชวนผู้ประกันตน ม.33 ที่อยากผ่อนบ้านดอกเบี้ยถูกรีบจองสิทธิ สามารถยื่นของสิทธิได้ถึง 19 ธ.ค.66 , ประกันสังคม

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน จ...

10 มกราคม 66 : ส่องแนวโน้ม และความท้าทาย 10 มกราคม 66 : ส่องแนวโน้ม และความท้าทาย "ตลาดแรงงานไทย" ในปีกระต่าย , ไทยรัฐออนไลน์

ปีเสือผ่านพ้นไป ตลาดแรงงานไทยเริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวและบร...

6 มกราคม 66 : “เข้าไทย” จุดหมายต่อไปของคนลาวในวันที่เงินกีบอ่อนยวบ , BBC NEWS ไทย 6 มกราคม 66 : “เข้าไทย” จุดหมายต่อไปของคนลาวในวันที่เงินกีบอ่อนยวบ , BBC NEWS ไทย

ในภาวะที่เงินกีบอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2565 ชาวลาวจำนวนมากเผชิญกับราคาสินค้าที่พุ่งสูงแ...

23 ธันวาคม 65 : เรารู้อะไรบ้าง เมื่อค้าปลีกยักษ์อังกฤษถูกฟ้องเพราะบังคับใช้แรงงานเมียนมาในแม่สอด , BBC NEWS ไทย 23 ธันวาคม 65 : เรารู้อะไรบ้าง เมื่อค้าปลีกยักษ์อังกฤษถูกฟ้องเพราะบังคับใช้แรงงานเมียนมาในแม่สอด , BBC NEWS ไทย

ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยยังคงถูกสังคมโลกจับจ้องมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือ การใช้แรงงาน...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

update 11-11-65 : คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ update 11-11-65 : คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา