ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คำแนะนำในการทำหนังสือร้องเรียน/ ขอความเป็นธรรมต่อประธานศาลฎีกา

1. ทำเป็นหนังสือ โดยวิธีการพิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือ ส่งมาถึง ท่านประธานศาลฎีกา

สำนักประธานศาลฎีกา

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2 , 8 - 9

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง

เขตหลักสี่ กทม. 10210

 

2. ผู้ร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม ยื่นหนังสือด้วยตนเองที่ส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักประธานศาลฎีกา อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องและดำเนินการ เสนอผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้นต่อไป

 

3. หนังสือร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม ให้มีรายละเอียด ดังนี้

3.1 ชื่อ – ชื่อสกุล และที่อยู่ปัจจุบัน ของผู้ร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม

3.2 ชื่อ – ชื่อสกุล ตำแหน่ง สังกัด ของผู้ถูกร้องเรียนกล่าวหา

3.3 ระบุข้อกล่าวหาการกระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม

3.4 บรรยายการกระทำความผิดอย่างละเอียด เช่น การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อใด มีพยานบุคคลรู้เห็นเหตุการณ์หรือไม่ และได้ร้องเรียนต่อหน่วยงานใดหรือไม่ อย่างไร และผลเป็นประการใด

3.5 กรณีขอความเป็นธรรมในคดี ให้ระบุรายละเอียด ดังนี้

* คดีแพ่ง/อาญา หมายเลขคดีดำ หมายเลขคดีแดง (ถ้ามี)

* ของศาลใด

* ชื่อโจทก์/จำเลย

* เรื่อง/ฐานความผิดใด

* บรรยายถึงเหตุที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

3.6 ข้อความในหนังสือ ต้องใช้ถ้อยคำและภาษาสุภาพ อ่านง่าย ไม่หยาบคาย หรือส่อไปในทาง

เสียดสี ใส่ร้าย หรือดูหมิ่นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

 

4. ลงลายมือชื่อ และเขียนชื่อ – ชื่อสกุล ด้วยตัวบรรจง พร้อมแจ้งที่อยู่ของผู้กล่าวหาให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน/ขอความเป็นธรรมและติดต่อกลับ ผู้ร้องเรียน/ขอความเป็นธรรม ควรแจ้งชื่อ – ชื่อสกุล และที่อยู่ ที่แท้จริง

 

5. โดยส่งหนังสือมาที่

สำนักประธานศาลฎีกา

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 2 , 8 - 9

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง

เขตหลักสื่ กทม. 10210

 

6. หากมีข้อสงสัยหรือขัดข้องประการใด สอบถามได้ที่ ผู้อำนวยการสำนักประธานศาลฎีกา หมายเลขโทรศัพท์ 0 2142 4299 ส่วนกฎหมายและระเบียบ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2142 4323 0 2142 4327



13/Feb/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา