ขอตอบแทน ทนาย ครับ
ข้อเท็จจริงจากการเล่ามาว่า
ตอนนี้สถานการณ์ของบริษัทกำลังแย่ ผลประการณ์ไม่สู้ดี มีแนวโน้มอาจจะปิดกิจการลง แต่นายจ้างมีความคิดจะหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยลูกจ้าง โดยใช้วิธีเรียกลูกจ้างทีละคนเพื่อไปพูดคุยให้ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น
ปัจจุบันบริษัท มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ และสาขาที่ประจวบ และมีโรงงานที่เชียงใหม่(ไม่ได้เป็นสาขา แต่เราจ้างที่นั่นผลิต โดยลูกจ้างเราอยู่ในฐานะinspectorคอยตรวจสอบระบบ)
ตามที่ ข้อ 1,2,3ก็ตอบไปพร้อมกันเลย
ตอบว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้บัญญัติว่า "(วรรคหนึ่ง)นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด
(วรรค ๒) ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(วรรค ๓) หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘..."
จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้รับรองไว้ว่าหากการย้ายสถานประกอบการนั้น "มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้าง" เช่น ไม่มีเวลาไปส่งลูกไปโรงเรียน เสียเวลาเดินทางมากกว่าเดิมมาก หรือใช้เวลาเดินทางจากเดิม ๓๐ นาทีถึงบริษัท เปลี่ยนเป็น ๒ ชั่วโมง อย่างนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตแล้ว ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานครับ
สู้ๆๆครับ