28/03/24 - 18:38 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: การเปลี่ยนกฏบริษัท  (อ่าน 4472 ครั้ง)

Kowil

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
การเปลี่ยนกฏบริษัท
« เมื่อ: เมษายน 27, 2016, 09:56:44 am »
บริษัทได้เปลี่ยนกฏใหม่ซึ่งบริษัทเป็นสันชาติญี่ปุ่น...
-จากเดิมทำงานวันหยุดจะได้วันหยุดชดเชย.เช่นทำงานวันเสาร์จะได้โอที 8:00-17:00 จะได้หนึ่งแรงและหลังห้าโมงได้สามแรง และได้หยุดชดเชยหนึ่งวัน โดยเวลาจะบันทึกตั้งแต่เริ่มออกจากบริษัทถึงที่ทำงาน.
-กฏใหม่เวลาจะไม่บันทึกที่ทำงานคือเวลาเดินทางจะไม่คิดให้ ทำงานวันหยุด 8:00-17:00 ถ้าเลือกวันหยุดชดเชย จะไม่ได้โอทีหนึ่งแรง และโอทีสามแรงจะคิดให้ หลังทำงาน17:00ที่ไซส์งานเท่านั้น
ทีนี่ทางพนักงานและบริษัทได้พูดคุยกันตั้งแต่เดือนมกราคม บริษัทให้ข้อเสนอมาถ้ารับข้อจะได้นู้นนี่นั้น ในเดือน มีนาคม เซ็นสัญญากัน ในช่วงที่พูดคุย จะมีการคำนวนโอทีย้อนหลังให้พร้อมพร้อมกับเงินเดือนใหม่ตั้งแต่มกราคม
หลังจากเงินเดือนออก พบว่าไม่พบเงินเดือนเก่าย้อนหลัง จึงสอบถามได้รับคำตอบว่า ได้คิดให้ตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วและได้คำนวนตามกฏใหม่ให้แล้ว กล่าวคือ เดินทางวันหยุดเคยได้โอที บริษัทก้อเอากฏใหม่ไปหักย้อนหลังกลับ..ทำงานในวันหยุด 8:00-17:00 ก้อถูกหักเงินกลับ เพราะใช้วันหยุดไปแล้ว ซึ่งในลักษณะแบบนี้จะทำไดไหม เพราะตอนคุยกันไม่ได้คุยเรื่องนี้ เหมือนโดนหลอก.
ซึ่งในสัญญาเป็นภาษา อังกฤษ We will back date salary caculation to january 2016.

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: การเปลี่ยนกฏบริษัท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2016, 02:16:38 pm »
ต้องขออภัยแฟนๆเว็บไซด์ทนายพรด้วยนะที่ตอบช้า เพราะทนายจะมาตอบคำถามทุกคำถามด้วยตัวเอง และช่วงนี้ภารกิจรัดตัวจริงๆ คงไม่ว่ากันนะครับ เอาเป็นว่ายึดถือตามหลักการที่ว่า ตอบช้าดีกว่าไม่ตอบ...ตามนี้นะครับ

ขอตอบดังนี้นะครับ ประเด็นแรก ไม่ได้อธิบายว่าบริษัทที่ทำอยู่ ทำเกี่ยวกับอะไร และทำไมถึงนำเอาเวลาเดินทางเป็นเวลาทำงานด้วย ซึ่งโดยปกติหากเป็นงานโรงงานโดยทั่วๆไป จะไม่นำเวลาเดินทางมาคิด เว้นแต่งานที่ต้องเดินทาง เช่น งานตรวจไซด์งานก่อสร้างที่ไม่ได้กำหนดสถานที่ทำงานไม่แน่นอนอย่างนี้เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อปฎิบัติมาเป็นเช่นนี้แล้วก็ถือเอาว่า ในระหว่างเดินทางให้นับระยะเวลาดังกล่าวเป็นเวลาทำงาน และเป็น “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” โดยปริยาย (โดยยึดถือตามประเพณีที่ปฎิบัติกันมาอย่างยาวนาน)

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นและถามมาก็คือ “ ถูกหักหลัง” ไม่จ่ายเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้
โดยถามมาว่า “บริษัทก้อเอากฏใหม่ไปหักย้อนหลังกลับ..ทำงานในวันหยุด 8:00-17:00 ก้อถูกหักเงินกลับ เพราะใช้วันหยุดไปแล้ว ซึ่งในลักษณะแบบนี้จะทำได้ไหม เพราะตอนคุยกันไม่ได้คุยเรื่องนี้ เหมือนโดนหลอก”

อืมมม...น่าคิดครับว่า “โดนหลอกหรือเปล่า?” คนที่จะบอกได้ดีที่สุดก็คือ ผู้ร่วมในเวทีเจรจาล่ะครับ...เรื่องนี้น่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะ ถ้าจะเอาคำตอบแบบฟันธง คงต้องโทรมาคุยกันแล้วละครับ

แต่อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาในส่วนของข้อตกลงที่ได้มีการเจรจากันไว้ครับว่า ได้คุยรายละเอียดในเรื่องนี้ว่าอย่างไร ถ้ามีการตกลงกันว่าจะเริ่มกฎใหม่หลังจากที่มีการตกลงกัน (หลังจากเดือนมกราคม )และในส่วนที่ผ่านมาก็ให้ใช้กฎเก่า (ก่อนเดือนมกราคม) อย่างนี้ถือว่า บริษัทไม่ปฎิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แล้วครับ ซึ่งทางแก้ก็คือ ต้องไปใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่เราอยู่ หรือจะไปใช้สิทธิทางศาลก็ได้ครับ แต่ก็ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และสิ่งที่น่าจะทำในตอนนี้ก็คือ รวมตัวกันไปขอคุยกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อขอคำอธิบายและหาทางออกร่วมกันจะดีที่สุดครับ ขอให้โชคดีมีชัยครับ

ทนายพร

Nophawee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: การเปลี่ยนกฏบริษัท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2016, 03:34:03 pm »
อ่านเเล้วเป็นความรู้ที่ดีมากเลยนะครับ