ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

“เข้าใจ” คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-22404/ 2555 สิทธิลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ศาลแรงงานกลาง (มีนบุรี) ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 22326-22404 /2555 เกี่ยวกับการจ้างเหมาค่าแรง ตามมาตรา 11/1 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ

 

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่า มาตรา 11/1 ได้บัญญัติไว้ว่า

 

“ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิด ชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว

 

ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน กับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

 

ดังนั้นเมื่อมีการตีความมาตราดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า

 

  • ถ้าจะเข้ามาตรา 11/1 ต้องทำงานในขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือในขั้นตอนธุรกิจหลักปัจจุบัน (ช่วยจำหน่ายสินค้า / ให้บริการลูกค้า) ดังนั้นกรณีมาตรา 11/1 นี้ จึงไม่คุ้มครอง (1) ในสถานประกอบกิจการ ไม่มีการจ้างเหมาค่าแรง มีแต่จ้างโดยตรง (2) ในสถานประกอบกิจการไม่มีการจ้างโดยตรง มีแต่จ้างเหมาค่าแรง (3) ลักษณะงานระหว่างจ้างโดยตรงกับจ้างเหมาค่าแรงแตกต่างกัน

 

  • งานในลักษณะเดียวกัน  หมายถึง งานที่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงกับงานที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของผู้ประกอบ กิจการทำมีลักษณะเดียวกัน โดยอาจพิจารณาจากลักษณะงาน ตำแหน่งงาน หน้าที่การงาน หรืออำนาจหน้าที่ เช่น งานตัด งานเย็บ งานประกอบ งานตรวจสอบ คุณภาพงานบัญชี งานธุรการ งานช่าง งานเก็บข้อมูล งานขาย เป็นต้น

 

 

  • สิทธิประโยชน์ และ สวัสดิการ  หมายถึง ค่าตอบแทนหรือรางวัลที่นายจ้างจ่ายให้แก่พนักงาน หรือลูกจ้าง ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตแก่ลูกจ้าง เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่ากะ ค่าอาหาร ค่าครองชีพ หอพัก สิทธิในการได้หยุดพักผ่อนประจำปีเพิ่มขึ้นตามอายุงาน สิทธิการได้รับเงินโบนัส หรือเงินพิเศษอื่น การได้โดยสารรถรับส่งที่นายจ้างจัดให้ การได้รับชุดทำงานจากนายจ้าง เป็นต้น

 

  • เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ  หมายถึง การพิจารณาจากลักษณะงาน หน้าที่รับผิดชอบ คุณวุฒิ ประสบการณ์ ระยะเวลาทำงาน ทักษะฝีมือ คุณภาพของงานหรือปริมาณของงาน เป็นต้น ดังนั้นหากลูกจ้างทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติเหมือนกันจะต้องได้รับสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกัน เช่น ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงและลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงทำงานในลักษณะเดียวกัน มีหน้าที่รับผิดชอบเหมือนกัน ผลิตผลของงานอยู่ในระดับเดียวกัน เมื่อนายจ้างจัดสวัสดิการชุดทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงปีละ 2 ชุด ก็ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสวัสดิการชุดทำงานปีละ 2 ชุด เช่นกัน มิฉะนั้นอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลือกปฏิบัติ

 

(1) ที่มาที่ไปของคำพิพากษา : จุดเริ่มต้นจากคดีหมายเลขแดงที่ มบ.209,227 – 229, 272 – 350/2553

 

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ศาลแรงงานกลาง (มีนบุรี) ได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ มบ.209, 227229, 272350/2553

 

สามารถสรุปสาระสำคัญของคำพิพากษาได้ดังนี้

 

(1.1) โจทก์ ได้แก่ ลูกจ้างเหมาแรงงาน จำนวน 83 คน ส่วนจำเลยที่ 1 คือ สถานประกอบการที่เป็นผู้ว่าจ้างเหมาค่าแรง ในที่นี้ คือ บริษัท เอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด และจำเลยที่ 2-4 คือ บริษัทรับจ้างเหมาค่าแรง จำนวน 3 บริษัทตามลำดับ ได้แก่ บริษัททิตาราม เฮ้าท์วอร์สซิ่ง จำกัด บริษัทเอ ทีม วัน อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส จำกัด และบริษัทเฮท อาร์ ดีเจท จำกัด

 

(1.2) จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 ส่งโจทก์ทั้ง 83 คน ไปทำงานกับจำเลยที่ 1 โดยงานที่ทำมีลักษณะเช่นเดียวกับงานของพนักงานจำเลยที่ 1 ที่ได้จ้างโดยตรง คือ ผลิตชุดคลัตช์รถจักรยานยนต์ ซึ่งทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างตามสัญญาโดยตรงและบรรดาโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงก็ทำ งานผลิตชิ้นงานดังกล่าวเหมือนกัน

 

 

(1.3) จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดสวัสดิการให้โจทก์ทั้ง 83 คน ได้รับเหมือนกับพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ได้จ้างโดยตรง

 

  • โจทก์ทั้ง 83 คน ไม่ได้รับค่าครองชีพเช่นเดียวกับลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้างโดยตรง
  • จำเลย ที่ 2 - 4 มีการจัดอาหารและรถรับส่งให้แก่โจทก์ทั้ง 83 คน แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้จัดอาหารรถรับส่ง และยังจ่ายค่าอาหารกับค่ารถให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้างโดยตรงด้วย
  • จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ไม่ได้จ่ายเงินโบนัส
  • จำเลยที่ 2 จ่ายโบนัสให้แก่โจทก์ที่เป็นลูกจ้างของตน จำนวนน้อยกว่าที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้างโดยตรง

 

(1.4) พนักงานตรวจแรงงานเคยมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อโจทก์ทั้ง 83 คน และพนักงานที่จำเลยที่ 1 ได้จ้างโดยตรงโดยเสมอภาคกัน ภายใน 30 วัน นับแต่วันมีคำสั่งแต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย

 

 

(1.5) โจทก์ทั้ง 83 คน เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติไม่เสมอภาคและเลือกปฏิบัติขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คุ้มครองแรงงาน ขอให้ศาลแรงงานพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จ่ายเงินค่าอาหาร ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน เงินค่ารถ และเงินโบนัส ย้อนหลังไป 2 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ 15 ทุก 7 วัน จนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์แต่ละคน (จำนวนเงินแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่ากับเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างโดยตรง)

 

 

(1.6) ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 จ่ายเงินให้กับโจทก์แต่ละคน

 

 

มีรายละเอียดคำพิพากษาดังนี้

 

(1) ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงของบริษัทผู้รับเหมาแรงงาน 3 แห่ง จำนวน 83 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทเอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 บริษัท ทิตาราม เฮ้าท์วอร์สซิ่ง จำกัด จำเลยที่ 2 บริษัทเอ ทีม วัน อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส จำกัด จำเลยที่ 3 และบริษัทเฮท อาร์ ดีเจท จำกัด จำเลยที่ 4

 

(2) โจทก์ทั้ง 83 คนฟ้องว่าโจทก์ทั้งหมดทำงานกับจำเลยที่ 1 โดยลักษณะงานที่ทำมีลักษณะงานเช่นเดียวกับพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดสวัสดิการให้โจทก์ได้รับเหมือนพนักงานของจำเลยที่1 เมื่อโจทก์ไปร้องพนักงานตรวจแรงงาน โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อโจทก์เช่นเดียวกับพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย โจทก์ประสงค์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อโจทก์โดยเสมอภาค

 

 

(3) โจทก์ทั้ง 83 คน ขอให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันรับผิดชอบต่อโจทก์ ดังนี้ ค่าอาหารเดือนละ 350 บาท ค่าครองชีพเดือนละ 1,200 บาท เบี้ยขยันเดือนละ 560 บาท ค่ารถเดือนละ 300 บาท เงินโบนัสปีละ 6 เดือน เงินทุกรายการให้ชำระย้อนหลัง 2 ปี พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ทุก 7 วัน จนกว่าจะชำระเสร็จให้โจทก์แต่ละคน

 

(4) คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้ง 4 ต้องร่วมกันจ่ายเงินตามฟ้องให้กับโจทก์แต่ละสำนวนหรือไม่เพียงใด

 

 

  • จำเลย นำสืบก่อน มีนายชยุต ทัพพาภิกิณกุล ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยที่ 1 นายสนกาย มะลิ หัวหน้างานฝ่ายผลิตและประธานสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 กับนางอนงค์ ปัญญา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับเหมาค่าแรงให้กับจำเลยที่ 1

 

  • จำเลย ที่ 1 ให้การว่าได้จ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาจ้างแล้ว ส่วนการจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการให้กับลูกจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 จัดทำกับสหภาพแรงงาน ซึ่งหมายถึงเฉพาะลูกจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ซึ่งทักษะในการทำงาน ความชำนาญ ประสบการณ์แตกต่างกันออกไป

 

 

  • โจทก์ เบิกความว่า ลักษณะงานที่โจทก์ทำเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนของจำเลยที่ 1 หน้าที่การงานก็เหมือนกับของพนักงานจำเลยที่ 1 แต่ได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างกันโดยเฉพาะค่าอาหาร ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่ารถและเงินโบนัสปีละ 6 เดือน

 

  • จำเลย ที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ได้รับค่าจ้างมาไม่มาก โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้จ่ายค่าจ้าง สวัสดิการและเงินโบนัสให้ แต่เหตุที่แตกต่างจากพนักงานของจำเลยที่ 1 เพราะทั้งความสามารถในการจ่ายและผลประกอบการแตกต่างกัน โจทก์ทั้งหมดสมัครใจเข้าทำสัญญาจ้างตามข้อตกลงสภาพการจ้างของจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 

 

  • จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่มาศาลและไม่ติดใจซักถาม

 

(5) ศาลได้พิจารณาเจตนารมณ์และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเฉพาะอนุมาตรา 7 ที่ว่า “คุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” ประกอบกับมาตรา 11/1 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2551 เป็นต้นมานั้น

 

  • งาน หลักของจำเลยที่ 1 คือผลิตชุดคลัตช์รถจักรยานยนต์ซึ่งทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างตามสัญญาโดยตรงและบรรดาโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงก็ทำ งานผลิตชิ้นงานดังกล่าวเหมือนกัน ซึ่งเป็นงานหลักของจำเลยที่ 1 กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายตามที่กล่าวมา ทั้งนี้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โจทก์ต่างต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานของจำเลย ที่ 1

 

  • จำเลย ที่ 1 จะมาอ้างว่าจำเลยอื่นเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องหาได้ไม่ นอกจากนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงานทุกมาตราเป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบ ร้อย เห็นได้จากทุกมาตรามีโทษทางอาญาอยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ไม่จัดการให้บรรดาโจทก์ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกัน จึงยิ่งไม่อาจฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวได้

 

 

  • ใน ส่วนของค่าอาหารเป็นไปตามฟ้อง และค่ารถรับส่งนั้น แม้นายจ้างโดยตรงของโจทก์ได้จัดทั้งรถและอาหารให้แล้ว แต่เมื่อพิจารณาคำให้การของนายสนกาย มะลิ หัวหน้างานฝ่ายผลิตและประธานสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 ตอบทนายโจทก์ซักถามว่าจำเลยที่ 1 นอกจากจัดสวัสดิการดังกล่าวให้กับพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ยังได้จ่ายเป็นเงินให้อีกต่างหากเท่ากับจำนวนเงินตามฟ้องด้วย  หรือแม้มีข้อเท็จจริงตามที่จำเลยบางรายต่อสู้ว่าในการเข้าทำสัญญากับจำเลย ที่เป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ โจทก์เองรับทราบข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอยู่แล้วว่าจะต้องได้รับค่าตอบ แทนอย่างไรบ้าง แต่เมื่อโจทก์ทำงานที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่ค่าตอบแทนรวมทั้งสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ แตกต่างกัน โจทก์จึงต้องได้รับอีกต่างหากเพื่อความเท่าเทียมเช่นเดียวกัน

 

 

  • สำหรับ เบี้ยขยันมีลักษณะคล้ายเงินจูงใจให้พนักงานทำงานสร้างผลงานให้กับนายจ้าง ดังที่นางอนงค์ ปัญญา พยานจำเลยเบิกความว่า ในการจ่ายเงินเบี้ยขยันของจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้พนักงานที่มาทำงานสม่ำเสมอ ไม่ขาดงาน ไม่ลา ไม่มาสาย และจำเลยยังมีเอกสารแสดงว่าโจทก์ต่างไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินจำนวน นี้ ศาลจึงเห็นสมควรไม่กำหนดเงินจำนวนนี้ให้

 

  • แต่ เงินโบนัสนั้นตามคำเบิกความของพยานจำเลย จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานปีละ 6 เดือน โดยจำเลยอื่นไม่ได้จ่ายให้โจทก์ คงมีเพียงจำเลยที่ 2 ที่ได้จ่ายให้เฉพาะลูกจ้างของตนเพียงปีละ 13 วัน เมื่อยังมีความไม่เท่าเทียมกัน โดยที่โจทก์อีกจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับเงินโบนัส จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้กับโจทก์ที่ได้รับเพียงปีละ 13 วัน ให้ครบเท่ากับพนักงานของจำเลยที่ 2 และต้องจ่ายให้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยอื่นที่ไม่ได้รับเงินจำนวน นี้ด้วย

 

 

  • สำหรับ อัตราดอกเบี้ยที่ขอมาตามฟ้องร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วัน เนื่องจากเงินแต่ละรายการตามฟ้องไม่ใช่เงินตามมาตรา 9 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานตามที่จำเลยให้การต่อสู้ จึงกำหนดให้ตามขอไม่ได้ เห็นสมควรให้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีของทุกจำนวนเงิน นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าได้ชำระเสร็จ

 

  1. ศาล พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 จ่ายเงินให้กับโจทก์แต่ละคนทุกคน ดังนี้ ค่าอาหารรวม 8,400 บาท ค่าครองชีพรวม 28,800 บาท ค่ารถรวม 7,200 บาท และเงินโบนัสรวม 75,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้นทุกจำนวนนับตั้งแต่วันฟ้องของโจทก์แต่ละสำนวนไป จนกว่าได้ชำระเสร็จ ทั้งนี้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ได้รับเงินโบนัสไปแล้วปีละ 13 วัน หรือที่ขอมาตามฟ้องได้รับมาแล้วรวม 26 วัน ให้นำไปหักออกจากจำนวนเงินโบนัสที่ศาลพิพากษาให้ในคดีนี้เสียก่อน คำขออื่นให้ยก

 

 

(2) ผลการวินิจฉัยของศาลฎีกา: บทลงท้ายจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-22404/ 2555

 

จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-22404/ 2555 สามารถสรุปโดยย่อได้ความว่า

 

 (2.1) เนื่องจากโจทก์ทั้ง 79 คน (โจทก์ที่ 29 , ที่ 49, ที่ 52 และที่ 54 ขอถอนฟ้อง) ทำงานผลิตชิ้นงานชุดคลัตช์ ซึ่งเป็นงานหลักของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ในบังคับของมาตรา 11/1

 

 

(2.2) ตามมาตรา 11/1 วรรคสอง บัญญัติให้เฉพาะผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมา ค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้นให้บริษัท เอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่วิธีจ้างเหมาค่าแรง ต้องรับผิดชอบให้ลูกจ้างที่รับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ต่างๆทุกรายการ เท่ากับลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่ว่าจ้างโดยตรง

 

ไม่ ว่าจะเป็นโบนัสตามผลประกอบการ ค่าครองชีพ ค่าอาหาร เบี้ยขยัน และค่ารถ ในอัตราที่เท่ากันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของบริษัท เอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับ เพราะเป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่กิจการที่ใช้วิธีการเหมาค่าแรง ต้องดูแลให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ได้เท่ากับลูกจ้างที่บริษัท เอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด กิจการที่ใช้วิธีเหมาค่าแรงว่าจ้างมาโดยตรงนั่นเอง ทั้งนี้แม้จำเลยที่ 2-4 จะจัดสวัสดิการให้แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องจัดให้ครบหรือเท่ากับที่จำเลยที่ 1 จัดให้ลูกจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1

 

 

(2.3) ศาลฎีกาไม่เห็นด้วยกับศาลแรงงานกลาง (มีนบุรี) ที่ให้จำเลยที่ 2-4 ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท เอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด ในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการดังกล่าว เพราะตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่า "กิจการ ที่ใช้วิธีจ้างเหมาค่าแรง ต้องรับผิดให้ลูกจ้างที่รับเหมาค่าแรงได้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่กิจการที่ใช้วิธีจ้างเหมาค่าแรง ว่าจ้างมาเองโดยตรง"  ทั้งนี้กฎหมายมาตรา 11/1 วรรคสอง มิได้บัญญัติให้กิจการที่ใช้วิธีจ้างเหมาค่าแรง ต้องร่วมรับผิดกับนายจ้างโดยตรงของลูกจ้างผู้รับเหมาค่าแรง ดังนั้นศาลฎีกาจึงให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2-4  ไม่ต้องไปร่วมรับผิดในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการกับจำเลยที่ 1

 

ทั้ง นี้เพราะจำเลยที่ 2-4 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้ง 79 คน เป็นเพียงผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้จัดหาโจทก์ทำงานในกระบวนการผลิตของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย เพราะไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการ เป็นเพียงนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่เป็นลูกจ้างเหมาค่าแรง

 

 

(2.4) สภาพการจ้างต่างๆที่กิจการที่ใช้วิธีการเหมาค่าแรงได้ให้แก่ลูกจ้างโดยตรง นั้น แม้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงไม่ได้ลงชื่อในข้อเรียกร้อง ไม่ได้มีส่วนในการเลือกผู้แทนในการเจรจาต่อรอง ไม่ได้เป็นผู้ทำข้อตกลงใดๆกับบริษัท เอฟ ซี ซี (ไทยแลนด์) จำกัด แต่ถ้าสิ่งที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับอยู่นั้น เป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่กิจการที่ใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรงได้ให้ แก่ลูกจ้างของตน ไม่ว่าจะได้จากการทำข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือสัญญาจ้างก็ตาม กิจการที่ใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรง ก็มีหน้าที่ต้องจัดการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้เท่ากัน ในหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างของตน

 

(2.5) อย่างไรก็ตามเนื่องจากใช้มาตรฐานในการจ่ายสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเดียว กับลูกจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงไม่เพียงพอให้ศาลฎีกาใช้ในการ วินิจฉัยข้อกฎหมายตามมาตรา 11/1 ได้ในหลายประการ ดังนั้นศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมในวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง ให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงข้างต้นเพิ่มเติมให้ครบถ้วน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ได้แก่

 

  • ระยะ เวลาที่โจทก์ทั้ง 79 คน ฟ้องเรียกค่าอาหาร ค่ารถ และเงินโบนัส โจทก์แต่ละคนซึ่งได้รับค่าจ้างรายวันมีวันที่ไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่

 

  • โจทก์ ทั้ง 79 คน มีจำนวนวันทำงานและจำนวนวันหยุดงานคนละเท่าไร ในแต่ละเดือน โจทก์แต่ละคนได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าไร รวมแล้วเป็นค่าจ้างในแต่ละช่วงของการจ่ายเงินโบนัสเป็นจำนวนเท่าไร

 

 

  • โจทก์แต่ละคนมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินโบนัสและค่าครองชีพหรือไม่

 

  • โจทก์ ที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับเงินเงินโบนัสจากจำเลยที่ 2 ไปแล้วจำนวนเท่าไร เมื่อคำนวณตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสของจำเลยที่ 2

 

 

  • ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีกี่ประเภท โจทก์ทั้ง 79 คน เทียบได้กับลูกจ้างประเภทใด

 

  • จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอาหารและค่ารถให้เฉพาะวันที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 มาทำงานหรือไม่

 

 

  • จำเลย ที่ 1 จ่ายค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 ประเภทใด จ่ายเป็นเงินอย่างเดียวหรือจ่ายเป็นเงินและอาหาร มีหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างผู้ได้รับค่าอาหารเป็นเงินต้องปฏิบัติอย่างไรหรือไม่

 

  • จำเลยที่ 1 จ่ายค่ารถให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงเป็นเงินอย่างเดียวหรือจ่ายเป็นเงินและจัดรถรับส่งให้ด้วย

 

 

  • หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่ารถ

 

  • หลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงในช่วงเวลาที่โจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกเงินโบนัส

 

 

  • อัตราส่วนเงินโบนัส สูตรการคำนวณเงินโบนัส จำนวนครั้งของการจ่ายใน 1 ปี จ่ายเมื่อใด

 

  • วิธีคำนวณเงินโบนัสในกรณีมีวันที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 หยุดงาน

 

 

  • คุณสมบัติของลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส

 

  • หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1

 

 

  • จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 ให้จ่ายค่าอาหาร ค่ารถ เงินโบนัส และค่าครองชีพให้โจทก์แต่ละคนหรือไม่เพียงใด

 

  • กรณีจำเลยที่ 1 จ่ายเป็นอาหารคำนวณเป็นเงินได้เดือนละเท่าไร และในกรณีจัดรถรับส่งให้คำนวณเป็นเงินเดือนละเท่าไร

 

 

มีรายละเอียดคำพิพากษาดังนี้

 

 

อ่านต่อจนจบได้ที่นี่ครับ  : เอกสารประกอบด้วย

 

(1) ที่มาที่ไปของคำพิพากษา : จุดเริ่มต้นจากคดีหมายเลขแดงที่ มบ.209,227 – 229, 272 – 350/2553 (หน้า 1-4)

 

(2) ผลการวินิจฉัยของศาลฎีกา :บทลงท้ายจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-22404/ 2555 (หน้า 5-12)

 

(3) แนวโน้มการจ้างงานในอนาคตหลังมีคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ : ภาพสะท้อนความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 (หน้า 13-15)

 

click : http://thanaiphorn.com/files/deka_22326.pdf



04/Jul/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา