ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
สรุปการเสวนา เรื่อง “พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ผลกระทบต่อการใช้สิทธิของแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518” จัดโดยสมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ INDUSTRIALL GLOBAL UNION วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 10.00-16.00 น. ณ ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อคนทำงาน ต.บางเกลือ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
ข้อสรุปสำคัญ
(1) ไม่มีกฎหมายฉบับใดที่จะเขียนขึ้นมาแล้วสมบูรณ์ ทุกฉบับต่างมีช่องว่างอย่างแน่นอน ดังนั้นการตีความจะเป็นอย่างไร มองว่าถ้าเป็นเวลาช่วงบ้านเมืองอยู่ในภาวะปกติ โอกาสที่การตีความจะเอื้อกับแรงงาน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ก็จะมีมากกว่าในภาวะบ้านเมืองแบบนี้ ที่มองว่าการชุมนุมเป็นเรื่องการก่อความรำคาญและทำให้สังคมได้รับผลกระทบมาก ทำให้จึงถูกมองในแง่ของการเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เป็นตัวตั้งในการตัดสินใจมากกว่า เช่น ไปปิดถนน ให้คนอื่นสัญจรไม่ได้ ไม่กล้าสัญจร
(2) ทางตัวแทนจากกระทรวงแรงงานเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเพราะยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน จึงส่งผลต่อความลักลั่นในการดำเนินการที่คาบเกี่ยวกับการชุมนุมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หลายประการ โดยเฉพาะระยะเวลาการชุมนุมที่มีความยากมากที่จะแจ้งก่อน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้รับปากว่าจะนำประเด็นที่เป็นช่องว่างและไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าควรจะดำเนินการอย่างไร กลับไปหารือกับกระทรวงแรงงานต่อไป รวมทั้งการหารือกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในแต่ละจังหวัดถึงกรณีการชุมนุมของแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
(3) การดำเนินการในตอนนี้เมื่อยังไม่ชัดเจนและไม่มีแนวปฏิบัติ ตัวแทนจากกระทรวงแรงงานเสนอแนะว่าให้แจ้งสถานีตำรวจในพื้นที่ตามขั้นตอนจะเป็นทางที่เหมาะสมและเพื่อเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งกันและกัน เป็นการแจ้งเพื่อทราบ ไม่ใช่เพื่ออนุมัติหรือต้องอนุญาตว่าทำได้ไม่ได้แต่อย่างใด
(4) สำหรับการชุมนุมในพื้นที่เอกชนทุกกรณีถือว่าไม่ใช่สถานที่สาธารณะ จึงไม่เข้าเงื่อนไขกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจึงไม่ต้องแจ้งตำรวจ นอกจากว่าจะเลยออกมาใช้พื้นที่สาธารณะ นั้นก็เป็นอีกกรณีที่ต้องแจ้ง ถ้าตำรวจไม่เข้าใจในกรณีนี้ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจ เพราะตำรวจจำนวนมากก็ยังใหม่กับกฎหมายนี้และยังไม่เข้าใจแนวปฏิบัติเช่นเดียวกัน เป็นข้อสัญญาของเอกชนกับเอกชน รัฐไม่สามารถแทรกแซงได้
(5) ตราบใดที่กระทรวงแรงงานยังไม่จัดทำแนวปฏิบัติออกมา สิ่งที่แรงงานจะต้องเตรียมไว้ก่อนที่จะจัดชุมนุม ได้แก่ (5.1) เตรียมลาหยุดงานในวันทำงานอย่างน้อยควรมากกว่า 3 วัน เพราะตามกฎหมายแล้วถ้าคนงานขาดงานติดต่อกัน 3 วัน สามารถถูกให้ออกจากงานถูกเลิกจ้างได้ ถ้าเกิดมีการชุมนุมยืดเยื้อหรือผู้นำแรงงานมีเหตุให้ต้องถูกดำเนินคดี (5.2) การเตรียมเครื่องสแกนวัตถุระเบิด อาวุธต่างๆ เพราะคงไม่สามารถควบคุมได้ว่าใครจะนำหรือไม่นำอาวุธเข้ามาในที่ชุมนุม (5.3) การเตรียมเงินประกันตัวให้พร้อมยามเกิดกรณีคดีความต่างๆ
อ่านสรุปทั้งฉบับได้ที่นี่ CLICK
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...