ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
“คำพิพากษาศาลฎีกา” หรือ “คำพิพากษาฎีกา”
อนึ่ง คำว่า 'คำพิพากษาฎีกา' และ 'ฎีกา', ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปนั้น, ผู้เขียนเห็นว่าคำที่ถูกต้องคือ 'คำพิพากษาศาลฎีกา' ข้อนี้อาจมีนักกฏหมายเป็นจำนวนมากแย้งว่า 'คำพิพากษาฎีกา' ถูกต้องอยู่แล้ว. ผู้เขียนใคร่ขอยืนยันว่า คำว่า 'คำพิพากษาฎีกา' เป็นเพียงชื่อหนังสือชุดหนึ่งซึ่งเนติบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์เท่านั้น,
ถ้าจะใช้คำว่า 'คำพิพากษาฎีกา' ในฐานะเป็นคำรวบรัดในทำนองเดียวกันกับคำว่า 'ฎีกา' ก็ไม่น่าจะมีข้อขัดข้องแต่ประการใด. แต่ถ้าจะใช้คำนี้อย่างเป็นทางการหรือในคำพิพากษาหรือคำคู่ความ, น่าจะใช้ไม่ได้, มิฉะนั้นแล้วเราก็ควรเรียก 'คำพิพากษาอุทธรณ์', 'คำพิพากษาชั้นต้น', โดยไม่ต้องใช้คำว่า 'ศาล' ไว้ด้วย, ซึ่งไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นเลย.
ที่มา: ภาษากฎหมายไทย
โดย ศาสตราจารย์พิเศษธานินทร์ กรัยวิเชียร
อ่านสรุปคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. 2565 ได้ที่ link นี้
https://thanaiphorn.com/files/P165.pdf
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...