ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นายจ้างประสบปัญหาทางการเงิน ยอดสั่งซื้อลดลง จึงเชื่อได้ว่าหยุดประกอบกิจการเนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอย นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 1499 – 1509/2563

 

คดีนี้โจทก์กับพวกรวม 11 คน ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับพวกโดยอ้างว่าไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ

 

แต่แท้จริงจำเลยมิได้ปิดกิจการ การเลิกจ้างจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร ขอบังคับให้จำเลยจ่าย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์คนละ 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

จำเลยให้การว่า จำเลยประสบปัญหาเศรษฐกิจและมีหนี้สินทางการค้าจำนวนมาก ทั้งประสบปัญหาการปกครองและการบริหารงานในสถานประกอบกิจการ โดยสหภาพแรงงานกับพนักงานจำนวนหนึ่งแสดงตนเป็นปรปักษ์และต่อต้านด้านการบริหาร

 

จำเลยเลิกจ้างยังได้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทุกคนด้วย

 

ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์กับพวกอุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์กับพวกทั้ง 11 คน เป็นลูกจ้างประจำรายเดือน จำเลยได้รับคำสั่งการผลิตจากลูกค้าแล้วไม่สามารถทำการผลิตได้ตามเป้าหมาย และสินค้ามีปัญหา ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้

 

จนทำให้บริษัทที่สั่งการผลิตไปว่าจ้างบริษัทอื่นแทน เป็นเหตุให้รายได้ของจำเลยลดลง เมื่อพิจารณาแบบนาส่งงบการเงินของจำเลยตั้งแต่ปี 2557 – 2561 ปรากฏว่าจำเลยมีกำไรสุทธิลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

จนกระทั่งปี 2561 มีกำไรเพียง 94,774.51 บาท ทั้งจำเลยยังมีหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอกซึ่งถูกเจ้าหนี้ฟ้องหลายคดีรวม 11,653,993.91 บาท

 

แต่จำเลยเป็นเจ้าหนี้ที่ฟ้องลูกหนี้เพียง 4,585,551.19 บาท จึงฟังได้ว่าจำเลยประสบปัญหาทางการเงิน ยอดสั่งซื้อลดลง ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

 

ประกอบกับก่อนเลิกจ้างและปิดกิจการโรงงานนั้น จำเลยได้ให้บริษัท เอ ทำสัญญาเช่าโรงงานและโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จึงเชื่อได้ว่าจำเลยหยุดประกอบกิจการอันเนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอย

 

เมื่อจำเลยเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมด โดยไม่ปรากฏว่ามีการกลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติ โดยก่อนเลิกจ้างมีการปิดประกาศกำหนดระยะเวลาให้ลูกจ้างทราบและจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีความจำเป็นและมีเหตุผลสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

ที่โจทก์กับพวกอุทธรณ์ในทำนองว่า จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์กับพวกเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ทำให้จำเลยไม่พอใจจึงหาทางกำจัด หรือล้มสหภาพก็ดี จำเลยไม่ได้ปิดกิจการเพียงแต่ให้บริษัท เอ เช่าโรงงาน

 

เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย

 

พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์กับพวก



13/Jan/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา