ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

บริการของเรา

สำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน
 
ให้บริการงานด้านกฎหมาย พร้อมให้คำปรึกษาและรับว่าความดำเนินคดี ว่าต่าง แก้ต่าง และให้บริการด้านอรรถคดีทุกประเภทในศาลทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ทั้งนี้มีความเชี่ยวชาญพิเศษในคดีแรงงาน และคดีที่เกี่ยวเนื่อง
 
รวมถึงยังเป็นทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial Services Attorney) ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.2551 (REG. NO.361/2563)
 
สำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ผู้ก่อตั้ง คือ นายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงาน มีประสบการณ์ในงานว่าความคดีแรงงานในกลุ่มลูกจ้างที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงานเป็นการเฉพาะ รวมถึงคดีแพ่ง คดีอาญาทุกประเภท และงานด้านการให้คำปรึกษาแก่องค์กรด้านแรงงานต่าง ๆ ประสบการณ์กว่า 14 ปีในด้านคดีความ และด้านแรงงานกว่า 20 ปี
 
กลุ่มลูกความผู้รับบริการของสำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน ดำเนินงานอยู่ในหลายจังหวัด เช่น สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร นครนายก ชลบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุโขทัย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ภูเก็ต มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ อุตรดิตถ์  ฯลฯ รวมทั้งในต่างประเทศ ได้แก่ เวียดนาม , สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
 
นายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย ใบอนุญาตทนายความเลขที่ 3602/2553 ซึ่งมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญด้านการว่าความด้านแรงงาน รวมทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งทั่วไป
 
สำนักงานยินดีให้คำแนะนำปรึกษา และรับดำเนินงานด้านกฎหมายทั่วราชอาณาจักร
 
การให้บริการ สามารถจำแนกตามประเภทของงานโดยสังเขป ได้ดังนี้
 
ด้านการดำเนินคดี
 
(1)  คดีแรงงาน  ได้แก่ คดีที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายแรงงานทุกฉบับ เช่น กรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ฟ้องเรียกค่าจ้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหาย  ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ฯลฯ
 
(2)  คดีแพ่งสามัญ ได้แก่ คดีแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป เช่น ซื้อขาย เช่าซื้อ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ หุ้นส่วนบริษัท ฯลฯ
 
คดีมรดก เช่น การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดก ร้องคัดค้านผู้จัดการมรดก ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกร่วมฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดก ในฐานะทายาท-ทายาทแทนที่-ผู้รับพินัยกรรม และรับทำพินัยกรรม

คดีครอบครัว เช่น การร้องขอรับรองบุตร ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร การร้องขอให้มีอำนาจปกครองบุตร การร้องขอเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร ขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ ฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรส เรียกค่าทดแทน ค่าเลี้ยงชีพ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าเสียหายอื่น ๆ
 
คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน  เพิกถอนโฉนด  น.ส.3  สิทธิครอบครองต่างๆ เป็นต้น
 
(3)  คดีอาญา ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติใด ๆ ซึ่งกำหนดให้มีโทษทางอาญา อาทิ ฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร หมิ่นประมาท หน่วงเหนี่ยวกักขัง  ทำร้ายร่างกาย ฯลฯ
 
(4) คดีปกครอง ได้แก่ คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แก้ต่างคดีศาลปกครองทุกประเภท 
 
(5) การบังคับคดี ได้แก่ การติดตามทวงถาม เจรจาให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่ต้องดำเนินคดี การสืบหากรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล อาทิ การยึดทรัพย์ การขายทอดตลาดทรัพย์ และการรับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์ ฯลฯ
 
(6) คดียาเสพติด ได้แก่ การมีไว้ครอบครอง จำหน่าย หรือเสพ ฯลฯ
 
(7) คดีผู้บริโภค ได้แก่ บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อ ฯลฯ
 
(8) การให้บริการด้านอื่นๆ
     → รับไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททุกข้อหา ในชั้นตำรวจ หรือก่อนฟ้องศาล
     → รับดำเนินการขอประกันตัวผู้ต้องหาในโรงพัก ประกันตัวจำเลยในชั้นศาล หรือระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา
     → รับเป็นที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กรแรงงานต่างๆ
     → รับจัดทำและตรวจสอบนิติกรรมสัญญาต่างๆทุกประเภท
     → รับจัดการเร่งรัดหนี้สิน รับทวงหนี้ การติดตามหนี้สินค้างชำระ
 
กระบวนการทำงาน
 
ขั้นตอนที่ 1 : ปรึกษาหารือถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือปัญหาที่ท่านมีอยู่ ทั้งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และการเข้ามาที่สำนักงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หรือนัดหมายสถานที่ที่ท่านสะดวก(ถ้าระยะทางไกลมาก อาจมีค่าเดินทางสำหรับทนายความบ้าง แต่พิจารณาเป็นรายกรณีแล้วแต่ความเดือดร้อนและฐานะลูกความ) การให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาเป็นไปตามหลักกฎหมายและบรรทัดฐานต่าง ๆ ที่ศาลฎีกาได้วางหลักไว้เกี่ยวกับคดีนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบข้อกฎหมายและพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดี
ขั้นตอนที่ 3 : ดำเนินการเจรจาก่อนฟ้องคดีความ
ขั้นตอนที่ 4 : สรุปความเห็นและขออนุมัติดำเนินคดี พร้อมแจ้งค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 5 : รวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อจัดทำสำนวนคำฟ้อง และยื่นดำเนินการต่อศาลที่มีอำนาจ
ขั้นตอนที่ 6 : ดำเนินคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตามที่กำหนดในสัญญา จนเสร็จสิ้นคดีความ
 
ข้อควรรู้ : ทนายความมีหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงต่อศาล ผลของคดี ชนะหรือแพ้ อยู่ที่พยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ดังนั้นลูกความจึงควรต้องบอกความจริงทุกสิ่งอย่างให้ทนายความรู้เพื่อ ประโยชน์แห่งรูปคดี

ทั้งนี้ไม่รับจ้างล้มคดี  หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายโดยเด็ดขาด
 

ด้านการฝึกอบรม

 

งานฝึกอบรมสัมมนาของสำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน ก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553  โดยทนายความพรนารายณ์ ทุยยะค่าย และคณะ  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านกฎหมายแรงงานอย่างมาก เพื่อให้ทุกองค์กรได้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนทางกฎหมายแรงงาน  กฎหมายที่ลูกจ้างควรรู้และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ตัวอย่างเช่น

• แนวคิดเรื่องสิทธิแรงงาน                                                                  

• กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน

• แนวทางการให้ความช่วยเหลือแรงงาน และช่องทางการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

• สิทธิประโยชน์คนงานเมื่อถูกเลิกจ้าง                                                               

• การสอบข้อเท็จจริงในการรับเรื่องร้องทุกข์                                                         

• การกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและช่องทางการร้องเรียน                                  

• หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ช่องทางการใช้สิทธิ                                               

• การใช้สิทธิทางศาล                                                                                   

• ขั้นตอนในการดำเนินการในการใช้สิทธิ                                                            

• วิธีการยื่นคำร้องทุกข์ / ร้องเรียน                                                                  

• แนวทางการเขียนคำฟ้องคดีแรงงาน                                                               

• แนวทางการเขียนคำร้อง/คำขอ/คำแถลง/การระบุบัญชีพยาน        

                         

เกาะติดข่าวกฎหมาย

2 มีค. 67 : 2 มีค. 67 : "ผู้ประกันตนเจ็บป่วย" ประกันสังคม ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา , กรุงเทพธุรกิจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบ...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา