ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประวัติและผลงาน

 
เป็นสำนักงานกฎหมายและทนายความชั้น 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2553 โดยนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย เป็นสำนักงานที่ให้บริการงานทางด้านกฎหมายทุกประเภท โดยมีวัตถุประสงค์ให้คำปรึกษาในทางกฎหมาย การปรึกษาคดีความ รวมทั้งรับว่าความทั่วราชอาณาจักร ให้แก่นิติบุคคลและบุคคลทั่วไป
 
ทนายความ พรนารายณ์ ทุยยะค่าย ได้ผ่านหลักสูตรวิชาว่าความของสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ รุ่นที่ 33 (ใบอนุญาตทนายความเลขที่ 3602/2553) และยังเป็นทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial Services Attorney) ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.2551 (REG.NO.361/2563)
 
มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูงในการฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับคดีแรงงาน ​ใน​การ​เข้า​ถึงกระบวน​การยุติธรรม​ให้​แก่​ลูกจ้างที่ได้รับการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้รับค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง รวมทั้งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งทั่วไป
 
คดีครอบครัว : การผิดสัญญาหมั้น การจดทะเบียนสมรสซ้อน หนี้สินระหว่างสามีภริยา บุตรนอกกฎหมาย อำนาจปกครองบุตร ค่าเลี้ยงดู ค่าอุปการะ การหย่า และแบ่งปันสินสมรส
 
คดีมรดก : การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทหลายลำดับชั้น เช่น บุตร บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ น้องต่างๆ รวมทั้งบุตรนอกกฎหมาย หรือบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น การร้องต่อศาลเพื่อเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หรือการคัดค้านการเป็นผู้จัดการมรดก หรือการฟ้องร้องผู้จัดการมรดกที่แบ่งปันทรัพย์มรดกโดยไม่ถูกต้องเท่าเทียม หรือโดยมิชอบประการใดๆ
 
คดีผิดสัญญา : การผิดสัญญาทางแพ่งต่างๆ เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ขายฝาก สัญญาว่าจ้างประเภทต่างๆ ค่าปรับล่าช้าต่างๆ หรือให้ทำการส่งมอบทรัพย์สินแก่กันหรือให้ชำระหนี้ตามสัญญา
 
คดีอาญา : การกระทำความผิดทางอาญาข้อหาต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร โกงเจ้าหนี้ ทำให้เสียทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ทะเลาะวิวาท เจตนาฆ่า หมิ่นประมาท
 
การทำงานคดีทั้งหมดจักใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกความ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนคดี การเตรียมคดี การหาพยานหลักฐาน การซักซ้อมพยาน การสืบพยานในศาล ตลอดจนการสืบทรัพย์บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา

ทนายความพรนารายณ์ ยังเป็นที่ปรึกษากฎหมายด้านแรงงานประจำสหภาพแรงงานต่างๆจำนวนมาก รวมถึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เพื่อให้คำแนะนำ คำปรึกษา ช่วยเหลือ ติดตาม การละเมิดสิทธิแรงงานทางกฎหมาย และมีการติดตามคดีอย่างต่อเนื่อง
 
มีความมุ่งมั่นที่จะประกอบวิชาชีพเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้กับทุกท่านด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ให้คำปรึกษาที่ชัดเจนแบบตรงไปตรงมา รวมทั้งเสนอแนะทางออกให้ท่านเดินในเส้นทางที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุด และเราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเส้นทางและเดินเคียงข้างท่านไปสู่ความสำเร็จต่อไป
 

เกาะติดข่าวกฎหมาย

2 มีค. 67 : 2 มีค. 67 : "ผู้ประกันตนเจ็บป่วย" ประกันสังคม ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา , กรุงเทพธุรกิจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบ...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา