ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

update พฤษภาคม 2564 : เงินเบี้ยขยันหาใช่เป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 34/2563 (คดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน)

 

เรื่อง เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยัน คำนึงถึงการขาด ลา มาสาย หรือชั่วโมงเวลาการทำงานตอบแทนเป็นสำคัญ หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงาน ในหน้าที่ตนด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้นเป็นสำคัญ

 

โดยจะเห็นได้ว่าลูกจ้างจะต้องมาปฏิบัติงานสอน โดยไม่ขาดลาตามจำนวนวันที่กำหนด ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนหลังนี้เต็มตามจำนวนที่กำหนดในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท เงินเบี้ยขยันหาใช่เป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง

 

คดีนี้โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน (จำเลยที่ ๑) กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อจำเลยว่า จำเลยที่ ๒ นายจ้าง ค้างจ่ายค่าสอน ค่าภาระงานที่เกี่ยวกับการสอน สื่อการสอน และทำเอกสารต่าง ๆ ๑๕,๐๐๐ บาท แต่จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้าง ๒,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้าง นอกจากนี้จำเลยที่ ๒ ยังค้างจ่ายค่าจ้างเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ มีนาคม และเดือนเมษายน ๒๕๕๙ เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๑ และบังคับให้จำเลยที่ ๒ จ่ายค่าจ้างรวม ๔๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ ๑ ให้การว่า เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนแล้วรวม ๕ วันเท่านั้น จำเลยที่ ๒ จึงมีหน้าที่จ่ายค่าการสอนเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท

 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๒ ซึ่งประกอบกิจการจัดหาครูผู้สอนแก่โรงเรียนผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ ๒ จ้างโจทก์เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้แก่โรงเรียน A ข้อตกลงการจ้างตามสัญญาจ้างงาน นายจ้างและลูกจ้างตกลงแบ่งค่าจ้างออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกคือเงินเดือนอัตราเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่ ๒ เรียกว่า เบี้ยขยัน ซึ่งจะจ่ายเป็นค่าปฏิบัติการสอนส่วนหนึ่ง ค่าอุปกรณ์ เอกสารและสื่อประกอบการสอน อีกส่วนหนึ่ง โดยจะจ่ายเฉพาะเดือนเปิดภาคการศึกษา คือ มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ ในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท

 

สำหรับเดือนตุลาคม มีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่ปิดภาคการศึกษาจะไม่มีการจ่ายเบี้ยขยัน มีเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยันว่า ลูกจ้างจะได้รับเบี้ยขยันเฉพาะวันที่ปฏิบัติการสอนเท่านั้น หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติการสอน หรือไม่ทำอุปกรณ์ เอกสาร สื่อการสอน ลูกจ้างตกลงให้นายจ้างหักเบี้ยขยันได้ตามส่วน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นเจตนาและวัตถุประสงค์การจ่ายค่าตอบแทนของนายจ้างว่า ประสงค์จะจ่ายค่าตอบแทนเป็น ๒ ส่วน

 

โดยข้อตกลงและเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยัน คำนึงถึงการขาดลามาสายหรือชั่วโมงเวลาการทำงานตอบแทนเป็นสำคัญ หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงาน ย่อมแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าค่าตอบแทนทั้งสองส่วนนี้ มิใช่ค่าตอบแทนในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะค่าตอบแทนในส่วนที่ ๒ แม้จะอาศัยการทำงานเป็นเงื่อนไขการจ่ายแต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ตนด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้นเป็นสำคัญ โดยจะเห็นได้ว่าลูกจ้างจะต้องมาปฏิบัติงานสอนโดยไม่ขาดลาตามจำนวนวันที่กำหนด ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนหลังนี้เต็มตามจำนวนที่กำหนดในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินเบี้ยขยันหาใช่เป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงในอันที่จะถือเป็นค่าจ้างไม่ใช่

 

พิพากษายืน



05/May/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา