ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

update : กันยายน 2564 แม้ว่ากิจการขององค์การมหาชนแห่งใดๆ จะไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่เมื่อองค์กรแห่งนั้นได้มีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนกรณีการเลิกจ้างพนักงาน ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว กฎเกณฑ์ดังกล่าวย่อมมีผลบังคับใช้กับพนักงานในองค์กรไปโดยปริยาย

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2562


พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 มาตรา 38 บัญญัติว่า "กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน... ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน..." 


ซึ่งจำเลยเป็นองค์การมหาชนที่มิได้แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดมิให้นำบทบัญญัติเรื่องค่าชดเชยมาใช้บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจด้วย 


ย่อมมีความหมายว่าจำเลยมีสิทธิไม่จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างในลักษณะเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานก็ตาม 


แต่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงาน นายจ้างย่อมมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์อันเป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานดังกล่าวกำหนดไว้ได้ 


เมื่อจำเลยโดยคณะกรรมการจำเลยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 (3) แห่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2546 กำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง โดยออกระเบียบจำเลยว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง พ.ศ.2555 ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2555 


ให้จำเลยจ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อถูกจำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุต่างๆ อันมีลักษณะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเช่นเดียวกันกับการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 

ทั้งที่จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตอบแทนในลักษณะดังกล่าวแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามกฎหมาย จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์อันเป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ 


จำเลยย่อมต้องผูกพันตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว 


การที่ พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2546 มาตรา 20 มิได้มีข้อกำหนดให้การออกระเบียบตามมาตรานี้ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีในกรณีนี้ก็เป็นเพียงกรอบนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติเท่านั้น 


และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของจำเลยให้เป็นไปตามกฎหมายในขณะนั้น ยับยั้งการใช้ระเบียบดังกล่าวของจำเลยตามความในมาตรา 43 รวมทั้งคณะกรรมการบริหารจำเลยมีมติจ่ายเงินตอบแทนตามระเบียบดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว 


แม้ต่อมาจำเลยจะออกระเบียบจำเลยว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง (ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2559 ยกเลิกการจ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างด้วยเหตุอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ก็หามีผลบังคับแก่โจทก์ไม่ เนื่องจากระเบียบดังกล่าวมีผลใช้บังคับหลังจากที่โจทก์กับจำเลยสิ้นสุดนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างต่อกันแล้ว

 

ขณะเดียวกันก็มีฎีกาที่  7485/2562 ระบุในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อองค์กรมหาชนนั้นๆ มีระเบียบแล้วย่อมจักต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด


โดยในฎีกาวางแนวไว้ว่า


แม้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ว่า คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 มีมติเห็นชอบแนวทางการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนว่า ในกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างนั้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 


ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 มาตรา 38 ที่บัญญัติว่า "กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน... ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน..." 


และอัตราการจ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้างตามระเบียบจำเลยที่ 1 ว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง พ.ศ.2555 ก็กำหนดไว้ในข้อ 5 ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม 


แต่เงินตอบแทนตามระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่ 


ทั้งมติคณะรัฐมนตรีในกรณีนี้เป็นเพียงการกำหนดกรอบนโยบายหรือแนวทางในการบริหารจัดการขององค์การมหาชนเท่านั้น หามีผลไปลบล้างระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ซึ่งออกโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยไม่ 


เมื่อคดีนี้ขณะโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และถูกเลิกจ้างในปี 2558 โดยระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยกเลิกและยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้ระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวบังคับแก่กรณีของโจทก์ 


ส่วนระเบียบจำเลยที่ 1 ว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง (ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2559 ซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากโจทก์ถูกเลิกจ้างไปแล้ว จะนำมาใช้บังคับย้อนหลังกับโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่



26/Sep/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา