ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย : อะไรคงอยู่ อะไรหายไปในประเด็น “แรงงาน”

กว่า 4 เดือนเต็มนับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2558 ที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะที่ได้ยกร่างขึ้นมา หลังจากนั้นทางคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง และเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อ 29 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ตามทราบแล้วนั้น

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีจดหมายด่วนที่สุดเลขที่ รง 0204.4/5539 จากกระทรวงแรงงานถึงสำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรี เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ สาระสำคัญของจดหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเสนอความเห็นต่อร่างรัฐ ธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงแรงงาน ต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เพื่อพิจารณา ก่อนส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต่อไปนั้น

 

พบว่า กระทรวงแรงงานได้มีความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ โดยระบุว่า เนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

 

แต่ได้ขอแก้ไขถ้อยคำจากเดิมที่ระบุไว้ในมาตรา 70 ว่า “รัฐ พึงส่ง เสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานโดยเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้รับสวัสดิการ รายได้ และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ และพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นวัยทำงาน”

 

ขอแก้ไขถ้อยคำใหม่เป็นดังนี้ “มาตรา 70 รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานโดยเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และพึงคุ้มครองให้ได้รับความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้รับสวัสดิการ รายได้ และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพและเป็นธรรม รวมทั้งพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นภาวะการทำงาน”

 

โดยให้เหตุผลว่า (1) เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจของกระทรวงแรงงานในทุกมิติทั้งแรงงานในระบบและนอก ระบบ (2) ในปัจจุบันประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุทำงานมากขึ้น จึงไม่ควรใช้คำว่า “วัยทำงาน”

 

อย่างไรก็ตามจากการทบทวนสาระสำคัญที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือเรียกว่า “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย” พบว่า ยังคงมีประเด็นต่างๆที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540, ฉบับ 2550 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับ สปช. ที่เกี่ยวข้องกับ “ผู้ใช้แรงงาน” โดยตรงอีก 5 ประเด็น ดังนี้

 

อ่านต่อทั้งหมดได้ที่นี่ click



15/Feb/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา