ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

23 มีนาคม 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติรับร่างวาระแรก พ.ร.บ.เงินทดแทนฉบับใหม่แล้ว

วันที่ 23 มีนาคม 2561 รัฐบาลนำร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้าง เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเห็นชอบรับร่างหลักการวาระที่ 1 แล้ว และได้มีการแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมาย สำหรับร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่…) พ.ศ. ….

 

ทั้งนี้ประเด็นการแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมายเงินทดแทนฉบับดังกล่าว อาทิ

 

  • ขยายความคุ้มครองแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ

  • ขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างซึ่งทำงาน ในองค์กรของนายจ้างที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ

  • แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ภัยพิบัติ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายหรือลักษณะของภัยพิบัติทำให้นายจ้างได้รับการลดการจ่ายเงินเพิ่ม ตามกฎหมายในท้องที่ที่รัฐมนตรีกำหนด

  • แก้ไขการบังคับใช้เกี่ยวกับขอบเขตการคุ้มครองลูกจ้างซึ่งได้รับการจ้างงานในประเทศ (Local staff) ของสถานเอกอัครราชทูตและองค์การระหว่างประเทศ

  • ทั้งนี้ได้แก้ไขการออกหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหายให้ดำเนินการออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ ดังนี้ การเพิ่มอัตราค่าทดแทนกรณีต่างๆ จากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เพิ่มราระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างทุพพลภาพ เป็นไม่น้อยกว่า 15 ปี ปัจจุบันไม่เกิน 15 ปี เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายเป็นไม่เกิน 10 ปี ปัจจุบันไม่เกิน 8 ปี แก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนสำหรับกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานได้ให้ได้รับตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงาน ปัจจุบันจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกิน 3 วัน เพิ่มการจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ปัจจุบันการจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

  • ในส่วนของนายจ้างก็จะได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทนนี้เช่นกัน คือ ได้มีร่างกฎหมายในการปรับลดเงิน เพิ่มจากเดิมร้อยละ 3 ต่อเดือนลดลงเหลือร้อยละ 2 ต่อเดือน และกำหนดเกณฑ์การคำนวณเงินเพิ่มกรณีนายจ้างค้างชำระเงินสมทบ โดยกำหนดให้จำนวนเงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย ปัจจุบันไม่ได้กำหนดเพดานเงินเพิ่มไว้

 

สำหรับขั้นตอนการนำร่างกฎหมายพระราชบัญญัติเงินทดแทนที่ทำการแก้ไขฉบับใหม่เข้าสู่การประชุมพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 2 และวาระ 3 จากนั้นเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆ ก็จะต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

 

สำหรับร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทนฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้ก็จะมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐทำให้ลูกจ้างมีหลักประกันของชีวิตดีขึ้น ค่าทดแทนและระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตในกรณีไม่สามารถทำงานได้มีความจำเป็นต้องหยุดงาน และในส่วนของนายจ้างเองก็จะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราเงินสมทบ ส่งผลให้สถานภาพด้านการเงินของนายจ้างมีความมั่งคง เสริมสร้างสังคมประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป



29/Mar/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา