ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

2 เมษายน 2561 เช็คกฎหมายเกี่ยวกับคนงาน 6 ฉบับ ที่กำลังมา

คุยกับนักวิจัยด้านแรงงาน มอง 6 กฎหมายเกี่ยวกับคนงานที่กำลังจะออกมาบังคับใช้ พร้อมทั้งไฮไลท์ข้อจำกัดของกฎหมายหลายฉบับที่ยังขาดกลไกแก้ไข และข้อเสนอแนะสร้างหน่วยจัดการและสื่อสารความรู้

 

1 เดือนก่อนถึง วันกรรมกรสากล (1 พ.ค.61) ที่คนงานทั่วโลกออกมาเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลประเทศตนเองในเรื่องที่แรงงานยังเข้าไม่ถึงสิทธิพื้นฐานต่างๆ  ประกอบกับช่วงนี้ประเทศไทยก็มีความคึกคักโดยเฉพาะรัฐบาลที่กำลังผลักดันกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน ทั้งในระบบ นอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานประมง กระทั่งในกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย ที่จะออกมาบังคับใช้ในอนาคต รวม 6 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่แรงงานจะได้รับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับเดือนมีนาคม 2561 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.....  ร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. ....  ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.... และ ร่าง พ.ร.บ. การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... รวมถึงกรณีที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร  หากใช้ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ก็จะแบ่งได้ 5 ระดับ

 

ในโอกาสนี้ ประชาไท จึงพูดคุยกับ บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิจัยประเด็นสิทธิแรงงานและผู้ติดตามนโยบายเกี่ยวกับแรงงาน เพื่อวิเคราะห์กฎหมายทั้ง 6 ฉบับ รวมทั้งกระบวนการที่แบ่งเป็น 5 ระดับนี้ ตามที่ บุษยรัตน์ ระบุว่า การแบ่งแบบนี้จะช่วยทำให้เห็นว่ากฎหมายอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้ประมาณการณ์ระยะเวลาได้ว่าอีกนานเท่าใดกว่าจะประกาศใช้ หรือหากคนงานจะไปเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะได้รู้ว่าต้องไปตามที่หน่วยงานใด เช่น ที่กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

 

“ตามถูกฝาถูกตัวถูกที่” บุษยรัตน์ กล่าวสรุปอย่างง่ายไว้

 

อ่านต่อทั้งหมดได้ที่ http://www.prachatai.com/journal/2018/04/76183



02/Apr/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา