ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

update : 7 สิงหาคม 2564 กสร. ชี้แจงประเด็นในสื่อออนไลน์ กรณีนายจ้างหักเงินเยียวยาที่ลูกจ้างได้รับสิทธิกรณีเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จากเงินเดือน เป็นเหตุให้ลูกจ้างขาดรายได้ที่ควรได้รับ จำนวน 2,500 บาท ถือว่านายจ้างละเมิดสิทธิ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

นางโสภา เกียรตินิรชา รองอธิบดีและโฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวชี้แจง ประเด็นสื่อออนไลน์มีการวิจารณ์ว่า สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าเมื่อลูกจ้างได้รับเงินเยียวยาของรัฐบาล ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จ่ายเงินเยียวยาให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สำหรับ 9 กลุ่มกิจการ เฉพาะจังหวัดที่กำหนด โดยลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินเยียวยา จำนวน 2,500 บาท นั้น นายจ้างจะหักเงินจำนวนดังกล่าวออกจากเงินเดือน โดยอ้างว่ารัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนให้แล้ว ซึ่งใน

 

กรณีนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความกังวลและห่วงใยลูกจ้างอาจไม่ได้รับสิทธิตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติการจ่ายเงินเยียวยาครั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

การกระทำดังกล่าวของนายจ้างถือเป็นการละเมิดสิทธิที่ลูกจ้างพึงได้รับ จึงสั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตรวจสอบพร้อมชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่งกรมขอชี้แจงว่า กรณีเงินเยียวยาที่รัฐบาลจ่ายให้กับผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 คนละ 2,500 บาท เป็นเงินเยียวยาที่รัฐบาลจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือนเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานให้กับลูกจ้างที่ทำงานให้ ดังนั้นนายจ้างไม่สามารถนำเงินเยียวยา ตามมาตรา 33 ที่ลูกจ้างได้รับมาหักจากค่าจ้างได้ การหักค่าจ้างเช่นนี้ ถือเป็นการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

 

โฆษก กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอเตือนนายจ้างที่คิดจะหักค่าจ้างลูกจ้างที่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ไม่ว่าลูกจ้างจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม หากฝ่าฝืนมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยหากนายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546



07/Aug/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา