ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
รมว.แรงงาน เผยปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ แต่ขึ้นเท่าไรต้องรอหลังประชุม เตรียมเสนอ ครม. เดือน ต.ค. 2565 คาดมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2566
วันที่ 4 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่รัฐสภาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดพิเศษ วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลุกขึ้นชี้แจงหลังจากฝ่ายค้านกล่าวว่ารัฐบาลไม่สามารถปรับขึ้นค่าแรงเป็น 425 บาท ได้ตามที่พรรคพลังประชารัฐเคยระบุไว้ในนโยบายหาเสียง ว่าจะขึ้น 400- 425 บาท
โดยนายสุชาติกล่าวว่า ถ้าก่อนหน้านี้ไม่เกิดสถานการณ์โควิด-19 จะได้ขึ้นไปแล้วแน่นอน แต่ที่ผ่านมามีการใช้มาตรา 75 เพื่อชะลอการจ้างงานแรงงานกว่า 2 ล้านกว่าคน ถ้าขึ้นค่าแรงช่วงนั้นนายจ้างก็จะไม่รอด และรัฐบาลก็ต้องนำงบมาอุ้มคนที่กำลังตกงาน
อย่างไรก็ตาม ปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ แต่ขึ้นเท่าไรนั้นต้องรอหลังจากสภานายจ้าง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ผู้ประกอบการ และนายจ้างได้ประชุมร่วมกัน
โดยเดือนมิถุนายนนี้มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัด และจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งน่าจะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2566
ทั้งนี้ การพิจารณาปรับอัตราค่าจ้าง ต้องดูตามสถานการณ์เงินเฟ้อ และจีดีพี
วันที่ 12 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงา...
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศคณ...
กสร. แนะสถานประกอบกิจการจัดทำแผนป้องกันอัคคีภัยผ่านหลัก 3 ต ติดตั้ง ตรวจสอบ และเตรียมความพร้อม หวังส...
รมว.แรงงาน เผยปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ แต่ขึ้นเท่าไรต้องรอหลังประชุม เตรียมเสนอ ครม. เด...
จุดประสงค์ร่าง พรบ.ใหม่ในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนปฏิรูปประกันสังคม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ แก่ผู้ประกัน...
คำวินิจฉบับเต็มศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นบทนิยามคำว่า " การชุมนุมสาธารณะ" คำวินิจฉั...
คอลัมน์ นอกรอบ จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์, เซฮา ยาทิม Access Partnership แม้จะมีการให้ความเห็นว่า ไร...
นอกรอบ จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์, เซฮา ยาทิม, Access Partnership ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข...
คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...ผศ. ดร.อัธกฤตย์ เทพมงคล ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศา...