ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ที่บังคับใช้มาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยปรับปรุงเกี่ยวกับวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน การห้ามปิดงานหรือการนัดหยุดงาน หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการดำเนินงานของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์ และสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ
สาระสำคัญ ดังนี้
1.ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน เช่น 1) กำหนดระยะเวลาการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องยื่นภายใน 60 วันก่อนวันที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมจะสิ้นสุดลง 2) กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำโดยนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ซึ่งมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่า 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั้งหมด มีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างทุกคน
2.วิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน กรณีที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ดำเนินการประนอมข้อพิพาทนั้นต่อไป หรือไปเจรจาตกลงกันเอง หรือส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงานเป็นผู้ตัดสิน
3.การปิดงานและการนัดหยุดงาน เช่น
1)กำหนดให้นายจ้างอาจปิดงานหรือลูกจ้างอาจนัดหยุดงานได้ แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อน เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
2) กำหนดให้การปิดงานหรือการนัดหยุดงานในงานที่เป็นบริการสาธารณะ ได้แก่ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์หรือโทรคมนาคมบรรเทาสาธารณภัย ควบคุมการจราจรทางอากาศ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด โดยฝ่ายที่ปิดงานหรือนัดหยุดงาน จะต้องจัดให้มีบริการสาธารณะขั้นต่ำเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน
4.กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงาน ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
5. ปรับอัตราโทษให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น มาตรา 87 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 18 หรือ มาตรา 19 (การปิดงานหรือนัดหยุดงาน) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 90 ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการสหภาพแรงงานที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการจัดตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการจัดสัมมนาไตรภาคี เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้ จาก 15 กระทรวงที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 47 แห่ง และจัดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในลำดับต่อไป จะส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
วันที่ 12 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงา...
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศคณ...
กสร. แนะสถานประกอบกิจการจัดทำแผนป้องกันอัคคีภัยผ่านหลัก 3 ต ติดตั้ง ตรวจสอบ และเตรียมความพร้อม หวังส...
รมว.แรงงาน เผยปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ แต่ขึ้นเท่าไรต้องรอหลังประชุม เตรียมเสนอ ครม. เด...
จุดประสงค์ร่าง พรบ.ใหม่ในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนปฏิรูปประกันสังคม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ แก่ผู้ประกัน...
คำวินิจฉบับเต็มศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นบทนิยามคำว่า " การชุมนุมสาธารณะ" คำวินิจฉั...
คอลัมน์ นอกรอบ จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์, เซฮา ยาทิม Access Partnership แม้จะมีการให้ความเห็นว่า ไร...
นอกรอบ จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์, เซฮา ยาทิม, Access Partnership ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข...
คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...ผศ. ดร.อัธกฤตย์ เทพมงคล ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศา...