ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ยื่นคำนวนภาษี 2558 อย่างไรให้ได้เงินคืน

หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าในการยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษีประจำปีนั้น สามารถนำรายจ่ายหลายรายการ มาหักลดหย่อนภาษีได้  ค่าใช้จ่าย หรือการลงทุนหลายประเภท รวมทั้งเงินบริจาคหลายรายการทีเดียวที่สามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวนภาษีได้ 

 

ข้อมูลจาก sanook money ได้รวบรวมข้อมูลมาให้เป็นแนวทางเบื้องต้นว่า แต่ละคนสามารถหักค่าใช้จ่ายจากอะไรได้บ้าง ในการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาปี 2558 นี้

 

 

เริ่มต้นจากการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช่จ่ายในครอบครัว


กรณีคนโสด สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 30,000 บาท

 

กรณีสมรส หากคู่สมรสไม่มีรายได้และไม่ได้แยกยื่นภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 30,000 บาท

 

และหากมีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 15,000 บาท(รวมบุตรบุตรธรรม) สามารถหักได้รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี และหากกำลังศึกษาอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มเติมได้อีกคนละ 2,000 บาท

 

นอกจากนี้หากใครมีบิดา มารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต้องเลี้ยงดูสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้อีกคนละ 30,000 บาท นอกจากนี้เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ยังนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทอีกด้วย

 

และใครมีภาระต้องอุปการคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 60,000 บาท

 

การหักค่าใช่จ่ายจากรายจ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ

 

เงินนำส่งกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนกบข.

 

ปรกติคนทำงานกรณีลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท จะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน ซึ่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักภาษีได้ทั้งหมด และ หากใครที่สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯมาหักภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

 

ส่วนข้าราชการซึ่งสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. ก็เช่นกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน

 

การหักค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต หรือ การสร้างหลักประกันในอนาคต

 

กรณีนี้ ใครที่มองเห็นเงินก้อน หรือ คาดว่าได้โบนัสก้อนงามในปีนี้แน่ๆวางแผนได้เลยครับว่าจะลงทุนในการลงทุน ประเภทนี้เท่าไรอย่างไร เพราะสามารถนำมาหักภาษีได้มากโขทีเดียว


ประกันฯ โดยเบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป


เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท



เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

 

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่ เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีมีคนกู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยกัน โดยเพดานคือรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาทเช่นกัน

 

หลังจากหักค่าลดหย่อนเหล่านั้นแล้ว หากใครที่สนับสนุนทางด้านการศึกษายังมีสิทธิทางภาษีโดย เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

 

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆที่ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกซึ่งสามารถติดตามรายระเอียดตามที่มีการ ประกาศโดยกรมสรรพากรอีกด้วย ทั้งนี้เงินบริจากที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น

 

การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาจะ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน

 

ข้อมูลจาก SANOOK MONEY เมื่อ 28 มกราคม 2558



02/Feb/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา