ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ทนายความประกันตัวผู้ต้องหาได้ แต่เฉพาะญาติพี่น้องเท่านั้น

ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 504/2543 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวแก่ทนายความ มีประเด็นพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

 

ทนายความผู้ยื่นคำขอทำสัญญาประกันหรือใช้ตัวเองเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว ในขณะยื่นคำขอจะต้องเป็นสมาชิกสภาทนายความอยู่ในขณะนั้น และต้องไม่อยู่ระหว่างการถูกห้ามทำการเป็นทนายความ หรือถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ทนายความผู้นั้นจะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นยื่นคำร้องแทนไม่ได้ นอกจากทนายความเองแล้ว บุคคลที่ทนายความสามารถใช้ตนเองเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวได้แก่ บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา

 

คำสั่งฉบับเดียวกันยังปรากฏหลักเกณฑ์ด้วยว่า การทำสัญญาประกันดังกล่าว ทนายความจะต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัด โดยในกรุงเทพฯผู้ลงนามคือ นายกสภาทนายความหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนในจังหวัดอื่นผู้ลงนามคือ กรรมการภาคหรือผู้ที่รับมอบหมาย หรือประธานทนายความจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งทนายความผู้ยื่นคำขอประกันมีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในจังหวัดนั้นๆ อย่างไรก็ดี ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่อาจแสดงหนังสือรับรองได้ อาจใช้ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ หรือบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความแสดงไปก่อนได้ แต่ต้องส่งหลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด และสำหรับการขอทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวนี้ หากทนายความมีคู่สมรส ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสแนบท้ายด้วย

 

สำหรับวงเงินค้ำประกันที่สามารถทำสัญญาประกันได้ กำหนดไว้ดังนี้คือ

 

1. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วยังไม่ถึง 2 ปี ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้เฉพาะตนเองในวงเงินไม่เกิน หกหมื่นบาท

 

2. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 5 ปี ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในวงเงินไม่เกิน หกหมื่นบาท

 

3. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 15 ปี ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในวงเงินไม่เกิน สองแสนบาท

 

4. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ห้าแสนบาท

 

อนึ่ง การประกันผู้ต้องหาในที่นี้ เป็นการประกันเฉพาะตัวทนายความเองกับบุคคลที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ทำสัญญาประกันแก่คนทั่วไปได้ ตามที่บางคนเข้าใจผิด




15/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา