ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การลาออก ไม่ใช่การเลิกจ้าง

วันนี้ผมมีเรื่องแปลก ๆ เกี่ยวกับการลาออกมาเล่าสู่กันฟังกับท่านอีกแล้วนะครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราท่านพบเห็นได้ในชีวิตการทำงานอยู่เสมอ ๆ



นั่นคือ..การลาออกครับ



ปกติแล้วการลาออก ถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างจากทางฝั่งลูกจ้างคือลูกจ้างไม่อยากจะทำงานที่บริษัทนี้อีกต่อไปก็ยื่นใบลาออกให้หัวหน้าทราบว่าฉันไม่อยากจะทำงาน ที่นี่อีกต่อไปแล้วนะ ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทต่าง ๆ มักจะมีกฎเกณฑ์คล้าย ๆ กันว่าถ้าพนักงานจะยื่นใบลาออกก็ให้ยื่นล่วงหน้าสัก 30 วันหรือ 1 เดือนนั่นแหละครับ เขาจะได้หาคนมารับมอบงาน หรือส่งมอบงานให้คนใหม่ได้ทันโดยไม่ทำให้งานเสียหาย



แต่นั่นเป็นการลาออกตามระเบียบบริษัทนะครับ เพราะในความเป็นจริงแล้วในกรณีที่ลูกจ้างมีปัญหาอะไรก็ตามกับนายจ้าง ลูกจ้างมักจะยื่นใบลาออกวันนี้แล้วระบุวันที่มีผลลาออกเป็นวันพรุ่งนี้เสียเป็นส่วนใหญ่โดยไม่แคร์ว่าระเบียบบริษัทจะบอกไว้ยังไง



ในกรณีนี้ในทางกฎหมายแรงงานแล้วถือว่าถ้าลูกจ้างระบุวันที่มีผลลาออกเอาไว้วันไหนในใบลาออกลูกจ้างก็พ้นสภาพได้ในวันที่ระบุเลยนะครับ โดยไม่ต้องให้นายจ้างมาอนุมัติการลาออกด้วยซ้ำไป ส่วนถ้านายจ้างจะเสียหายจากการที่ลูกจ้างยื่นใบลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบบริษัท หรือทำให้บริษัทเสียหายยังไง บริษัทต้องไปฟ้องร้องลูกจ้างกันเอาภายหลังครับ



แต่เรื่องที่ผมนำมาคุยกันในวันนี้เป็นปัญหาในการลาออกอีกแบบหนึ่งน่ะสิครับ



คือลูกจ้างยื่นใบลาออกกับนายจ้างแต่ไปฟ้องศาลแรงงานว่าถูกเลิกจ้างโดยนายจ้าง!!??



ตัวอย่างเช่น นายมนู (นามสมมุติ) ทำงานบกพร่องต่อหน้าที่จนถูกบริษัทย้ายให้ไปทำงานในตำแหน่งอื่น และลดเงินเดือนลง (โดยนายมนูก็ยินยอม) และบริษัทก็ออกหนังสือตักเตือนให้นายมนูปรับปรุงตนเองใน 3 เดือน ต่อมานายมนูต่อรองกับทางบริษัท โดยให้บริษัททำหนังสือเลิกจ้างตนเอง แต่บริษัทเสนอกลับมาว่าให้นายมนูเขียนใบลาออกมา แล้วบริษัทจะจ่ายเงินพิเศษให้เท่ากับเงินเดือน 3 เดือน



นายมนูตกลงเขียนใบลาออกนำมายื่นให้ทางบริษัท โดยระบุสาเหตุการลาออกไว้ว่า ถูกบริษัทเลิกจ้าง ?



แล้วนายมนูก็ไปฟ้องศาลแรงงานโดยบอกว่าถูกบริษัทเลิกจ้าง (โดยอ้างตามสาเหตุในใบลาออก)



กรณีนี้ศาลฎีกาท่านได้ตัดสินไว้ว่า "....แม้ใบลาออกจะระบุเหตุที่ลาออกว่าถูกเลิกจ้าง ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายเขียนใบลาออก นายจ้างไม่ได้กระทำการใดที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้าง...." (ฎ.2393/2545)



หรืออีกสักตัวอย่างหนึ่งดังนี้ครับ



คุณบังอร (นามสมมุติ) ทำงานเป็นพนักงานขายหน้าร้าน แล้วรู้จักกับลูกค้าเป็นการส่วนตัว เที่ยวเตร่ด้วยกันจนสนิทสนมกันขนาดหยิบยืมเงินจากลูกค้าอยู่บ่อย ๆ ก็เลยถูกผู้จัดการฝ่ายขายตำหนิพฤติกรรมที่หยิบยืมเงินลูกค้าอย่างรุนแรงว่า ไม่เหมาะสมเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีทำอย่างนี้เป็นการทำลายชื่อเสียงของบริษัท และอาจจะกระทบกระเทือนถึงตำแหน่งหน้าที่ของคุณบังอรได้



คุณบังอรเลยย้อนถามว่า "แล้วบริษัทจะเอายังไง" ผู้จัดการฝ่ายขายเลยบอกให้คุณบังอรพิจารณาตัวเอง คุณบังอรเลยยื่นใบลาออก แล้วคุณบังอรเลยไปฟ้องศาลแรงงานว่าถูกหัวหน้าหลอกลวงให้ลาออก ทั้ง ๆ ที่คุณบังอรยังไม่อยากลาออก ?



เรื่องนี้ศาลฎีกาตัดสินว่า "....ไม่ใช่เป็นการหลอกลวงให้ลูกจ้างลาออก กรณีเป็นเรื่องที่ลูกจ้างสมัครใจลาออกเอง ไม่ใช่ถูกนายจ้างเลิกจ้าง" (ฎ.9450/2545)



จากเรื่องที่ผมเล่ามาข้างต้นจึงมาสู่ข้อสรุปที่ว่า....



ก่อนที่ท่านจะยื่นใบลาออกคิดให้ดีเสียก่อนจึงไม่ควรจะเขียนใบลาออก ในขณะที่ท่านกำลังมีอีคิวที่ไม่ปกติ เช่น กำลังโกรธ, กำลังท้อ, กำลังเซ็ง, กำลังเบื่อหน่าย ฯลฯ คิดให้รอบคอบในสภาพจิตที่ปกติ โดยใช้เหตุใช้ผลให้ดี เพราะเมื่อท่านตัดสินใจยื่นใบลาออกเมื่อไหร่ จะมีผลตามที่ท่านระบุไว้ทันที และจะมาเปลี่ยนประเด็นว่าเป็นการถูกเลิกจ้างมันขัดแย้งกัน



เพราะเราเป็นคนเซ็นใบลาออกเองระบุวันที่มีผลลาออกเองนี่ครับ

 

26 มิ.ย. 2558

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ HR Corner โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com

 

 



27/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา