ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

7 เรื่องต้องรู้: อ่าน “รัฐธรรมนูญ 2560” ฉบับเร่งรัด เมื่อ 6 เม.ย. 2560 โดย iLaw

ก่อนอื่นขอทวนความจำกันก่อนว่า รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์จะทรงโปรดเกล้าเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายสูงสูงของประเทศนั้น มีสมญานามหลายชื่อ ไล่ตั้งแต่ “รัฐธรรมนูญปราบโกง” “รัฐธรรมนูญฉบับลิ้นหัวใจรั่ว เอาชีวิตไม่รอด” “รัฐธรรมนูญฉบับศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”ไปจนถึง “รัฐธรรมนูญฉบับทุนขุนนาง” โดยสาเหตุที่มีชื่อแตกต่างกันมาจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามเพิ่มอำนาจของ “รัฐราชการ” ให้เข้ามาควบคุม “รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” และหากจะให้สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ต้องรู้ก็มีดังนี้
 
หนึ่ง: มาตรา 44 ยังไม่ตาย จนกว่าจะยกเลิก
 
ดูเหมือนเมื่อรัฐธรรมนูญผ่าน คสช. ก็ยังไม่ถอยจากอำนาจไปอย่างง่ายๆ เพราะว่า ในบทเฉพาะกาลมาตรา 265 กล่าวไว้ว่าให้ คสช. อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง โดยระหว่างนี้ คสช. จะยังคงมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 อำนาจเบ็ดเสร็จของมาตรา 44 จะยังคงอยู่จนกว่าจะมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้น พร้อมกับจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้เป็นที่เรียบร้อย เท่ากับว่า การเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลจะดำเนินไปโดยยังมีอำนาจพิเศษนี้ครอบงำอยู่ นอกจากนี้ บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่รวมแล้วไม่น้อยกว่า 323 ฉบับ รวมไปถึงคำสั่งหัวหน้าคสช. (มาตรา 44) อีกอย่างน้อย 148 ฉบับ ที่เคยประกาศใช้ก็จะยังมีผลต่อไป ตราบที่รัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้ออกพระราชบัญญัติมายกเลิก
 
สอง: ส.ว. วาระแรก สองร้อยห้าสิบนาย มาจากการ “แต่งตั้ง” โดยคสช.
 
ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรก (ส.ว.ชุดแรก) มีทั้งหมด 250 คน ซึ่งมาจากการคัดเลือกของ คสช. เกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดย ส.ว. ชุดนี้จะมีวาระดำรงตำแหน่งยาวนานกว่า ส.ว. ชุดอื่น คือ มีวาระ 5 ปี นอกจากนี้ ยังมีอำนาจร่วมโหวตเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจกำกับดูแลให้รัฐบาลชุดใหม่ต้องทำตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ คสช. จะจัดทำขึ้น
 
สาม: ปรากฎการณ์ “นายกฯ คนนอก”
 
ตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า พรรคการเมืองต้องเสนอชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า และเมื่อผ่านการเลือกตั้งมาจะเลือกใครนอกรายชื่อที่เสนอมาไม่ได้ เว้นแต่
 
  1. ส.ส.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 250 คน เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา
  2. รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว.ทั้งหมด ลงมติด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 หรือ 500 คนจาก 750 คน ให้มีนายกรัฐมนตรีนอกเหนือจากรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ได้
  3. ส.ส. เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 หรือ 50 คนเสนอชื่อบุคคลใดก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และให้รัฐสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 251 คน
ซึ่งทั้งหมดนี้คือที่มาหรือขั้นตอนของการเปิดทางไปสู่ “นายกฯ คนนอก” นั่นเอง
 
สี่: ระบบเลือกตั้งแบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่มีบัตรเลือกตั้งแค่ใบเดียว
 
หลังรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ ประเทศไทยจะใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ชื่อว่า  “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” โดยระบบการเลือกตั้งแบบนี้ จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่ “บัตรเลือกตั้งใบเดียว” โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพยายามชี้ชวนว่าระบบเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้ “ทุกเสียงมีความหมาย” คะแนนจากการเลือกตั้ง ส.ส.เขต จะไม่สูญเปล่า แต่จะถูกนำมาคำนวณเป็นที่นั่งของ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) แทน หรือหมายความว่า การครั้งเดียวเท่ากับเลือกทั้งคนทั้งพรรค
 
ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่า เป็นระบบเลือกตั้งที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะคะแนนเสียงอาจถูกบิดเบือนไปเลือกคนหรือพรรคที่ไม่ชอบโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการรัฐศาสตร์ อาทิ  รศ.สิริพรรณ นกสวน อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ระบบเลือกตั้งแบบนี้ มีแนวโน้มที่จะซื้อเสียงมากขึ้น เพราะพรรคการเมืองจะแข่งขันที่ตัวบุคคลมากกว่านโยบาย รวมไปถึง เป็นระบบที่ทำให้พรรคขนาดกลางมีอำนาจต่อรองสูงขึ้นและมีโอกาสเกิดรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพทางการเมือง อีกทั้ง ตัดโอกาสการเกิดขึ้นของพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากไม่สามารถส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตได้ทุกเขต[1]
 
ห้า: องค์กรอิสระมีอำนาจกำกับดูแลรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
 
ตามรัฐธรรมนูญใหม่ มีการเพิ่มอำนาจให้กับองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญเพื่อควบคุมสภาและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมีการกำหนดให้องค์กรอิสระสามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ว่า รัฐมนตรีคนใดขาดคุณสมบัติ อาทิ ไม่มี “ความซื่อสัตย์สุจริต” เป็นที่ประจักษ์ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม “มาตรฐานทางจริยธรรม” ที่องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญจะเขียนขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกลไกควบคุมอื่นๆ อีก เช่น ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เป็นไปตาม “กฎหมายว่าด้วยวินัยทางการเงินการคลัง” ซึ่งรัฐบาล คสช. และสนช. จะเขียนขึ้น
 
หก: รัฐธรรมนูญฉบับนี้ “แก้ไขยาก” กว่าทุกฉบับ!
 
จากปัญหาที่สั่งสมในรัฐธรรมนูญนี้ มีปัญหาก้อนใหญ่มากอีกก้อนก็คือ "มันแก้ยากจนเหมือนแก้ไม่ได้" เพราะเงื่อนไขใหม่คือ ต้องมี ส.ว. เห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ทั้งในวาระแรกและวาระที่สาม นอกจากนี้ ต้องมี ส.ส. จากพรรคฝ่ายค้าน ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพรรคฝ่ายค้านทุกพรรคอีกด้วย และบางหมวดถ้าจะแก้ไขก็ต้องผ่านการออกเสียงประชามติก่อนด้วย
 
เจ็ด: มีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ต้องจับตา
 
นอกจากโครงสร้างอำนาจในรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ยังไปกำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และรัฐบาลหรือ คสช. ต้องเข็นกฎหมายใหม่ๆ ออกมาอีกหลายฉบับ อันได้แก่
 
“ยุทธศาสตร์ชาติ”
 
โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติขึ้นเพื่อเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ให้จัดทำกฎหมายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติขึ้น ภายใน 120 วัน และจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้เสร็จภายในหนึ่งปี นับจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ นั่นหมายความว่า ครม. ชุดปัจจุบัน (รัฐบาลคสช.) จะเป็นผู้เขียนขึ้นเอง
 
“มาตรฐานจริยธรรม”
 
โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระ เป็นผู้เขียนมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นบังคับใช้ ภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เมื่อเขียนขึ้นแล้วจะบังคับใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ฯลฯ รวมทั้ง ส.ส. ส.ว. และ ครม.ด้วย ผู้ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมต้องพ้นจากตำแหน่ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี
 
“กฎหมายลูก 10 ฉบับ”
 
โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อ เพื่อจัดทําพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ "กฎหมายลูก" 10 ฉบับ ให้เสร็จภายในระยะเวลา 240 วัน หรือ 8 เดือนนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้ โดยมีกฎหมายสำคัญ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่มา ส.ว. และกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรอิสระ
 
“กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูป และคณะกรรมการปฏิรูปสองชุด”
 
โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีกลไกการปฏิรูปที่ร่างรัฐธรรมนูญวางเอาไว้ อยู่ในหมวดที่ 16 มาตรา 257-261 กำหนดให้รัฐบาลปัจจุบันจัดทำกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปภายใน 120 วัน และให้เริ่มดำเนินการตามแผนภายใน 1 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ โดยต้องคาดหวังว่าจะเห็นผลในระยะเวลา 5 ปี
 
นอกจากนี้ ให้มีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่งด้วย โดยมีทั้งคนที่เคยเป็นตำรวจและไม่เคยเป็นตำรวจมาทำงานด้วยกัน ซึ่งต้องทำงานให้เสร็จภายใน 1 ปี ส่วนการปฏิรูปการศึกษาก็ให้มีคณะกรรมการอิสระขึ้นมาอีกคณะหนึ่งเช่นกัน ซึ่งต้องแต่งตั้งภายใน 60 วัน คณะกรรมการทั้งสองชุดมาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลปัจจุบัน
 
“กฎหมายปฏิรูปสามฉบับ”
 
ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 278 กล่าวถึงกฎหมายอีกสามฉบับที่ต้องเร่งรัดให้ออกให้ได้โดยเร็ว หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการดำเนินโครงการใด ตามมาตรา 58 กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ตามมาตรา 62 และกฎหมายที่คุ้มครองประชาชนที่ชี้เบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามมาตรา 63 อีกทั้งยังกำกับอีกด้วยว่าต้องดำเนินการร่างทั้งสามฉบับให้เสร็จภายใน 240 วัน และให้สนช.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน


12/May/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา