ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิด 16 คำด่ารุนแรง... ต้องห้าม!! คมชัดลึก 12 กรกฎาคม 2560

ในชีวิตของคนเรา ต้องพยายามใช้ความอดทน  อดกลั้น กับสิ่งที่คุณไม่ถูกใจ ไม่สบอารณ์ผ่านมากระทบ เพราะหากขืนไปด่าใครโดยพล่อยๆ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา393 'ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า' 

           แม้ว่าโทษตามกฎหมายจะไม่มากเนื่องจากเป็นลหุโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งส่วนมากศาลจะลงแค่โทษปรับเท่านั้น แต่ก็ทำให้คุณต้องมีคดีความติดตัว เสียเวลาไปโรงพัก ขึ้นโรงขึ้นศาล                 ทั้งนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ ‘ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า’ ไว้ว่า... การดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า  หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย

           เท่าที่รวบรวมจากคำพิพากษาศาลฎีกา           คำหยาบคายทั้งหลาย ‘อีดอก’-‘อีเหี้ย'-'อีสัตว์'-‘อีควาย’-‘อีตอแหล’-‘ไอ้ระยำ’-‘ไอ้เบื๊อก’-‘ไอ้ตัวแสบ’-‘เฮงซวย’ -‘ผู้หญิงต่ำๆ’ -‘พระหน้าผี’-‘พระหน้าเปรต’-‘มารศาสนา’ -‘ไอ้หน้าโง่’ -‘ อีร้อย...(ตามด้วยคำลามก)’ -‘ อีดอกทอง’    หากคำเหล่านี้ไปพูดใส่หน้าใครเข้า คนพูดจะมี‘ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า’ ทันที

           คราวนี้มาศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกากัน....            

            'อีดอก' -   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2521     จำเลยถ่มน้ำลายไปทางผู้เสียหายและด่าผู้เสียหายว่า พวกอีดอกดำ คำว่าอีดอก เป็นถ้อยคำหยาบคาย สามัญชนฟังแล้วเข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่าผู้ถูกด่า เป็นหญิงไม่ดี จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393  พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ปรับ 500 บาท

          *****

           'อีเหี้ย'-'อีสัตว์' -'อีควาย'   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548   จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า ‘ อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง ’ และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย  จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393  พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3  ลงโทษปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับจัดการตาม ป.อ. มาตรา 29 (ยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ), มาตรา 30 (กักขังแทนค่าปรับ)  

          ****

          'อีตอแหล'   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552   ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อผู้เสียหายว่า “อีตอแหล มาดูผลงานของแก” เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่า ถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวหรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า “ตอแหล” ว่า เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ปรับ 200 บาท  ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 (ยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ) มาตรา 30 ( กักขังแทนค่าปรับ)  

            ******

          'ไอ้ระยำ'-'ไอ้เบื๊อก'-'ไอ้ตัวแสบ' คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2538  หลังจากประธานที่ประชุมกล่าวเปิดประชุมแล้ว จำเลยได้พูดในที่ประชุมซึ่งมีโจทก์และบุคคลอื่นรวมแล้วประมาณ 30 คน เข้าร่วมประชุมว่า “ผมข้องใจว่าไอ้ผู้อำนวยการกองอุทธรณ์มันมานั่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการ อ.ก.พ.นี้ได้อย่างไร ผมไม่เคยเสนอชื่อมัน” เมื่อประธานในที่ประชุมได้ชี้แจงให้ทราบแล้ว จำเลยได้พูดขึ้นอีกว่า “ไอ้ระยำ มันไปล็อบบี้มาเพื่อจะมาเป็นผู้ช่วยเลขานุการเพื่อเอาเบี้ยประชุมไปกินเปล่า ๆ” และจำเลยยังพูดอีกว่า “ไอ้เบื๊อก ไอ้ตัวแสบ มันแส่เข้ามานั่งหาอาวุธด้ามยาวอะไรในที่นี้” เพราะไม่พอใจโจทก์ แม้จำเลยจะชี้หรือไม่ชี้หน้าโจทก์ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อผู้อำนวยการกองอุทธรณ์และร้องทุกข์มีเพียงตำแหน่งเดียวคือโจทก์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ตาม ป.อ.มาตรา 393 และฐานกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายต่อหน้าธารกำนัล ตาม ป.อ. มาตรา 397

***

          ' ​เฮงซวย'  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551 การดูหมิ่นผู้อื่นอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวถึง หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นการใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

           ตามพจนานุกรมให้หมายความคำว่า “เฮงซวย” ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยพูดใส่ผู้เสียหายด้วยความไม่พอใจว่า “ไอ้ทนายเฮงซวย” จึงเป็นถ้อยคำที่จำเลยด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นทนายความเฮงซวย เป็นความผิด ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 (ยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ), มาตรา 30( กักขังแทนค่าปรับ)

*****

          ‘ผู้หญิงต่ำๆ ’ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537  จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็น ผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่า เป็นผู้หญิงไม่ดี มีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไป เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1ซึ่งหน้า หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารภปรับทุกข์ไม่ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393  ปรับ1,ooo บาท

   ************

           ‘พระหน้าผี’-‘พระหน้าเปรต’ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2527   จำเลยว่าโจทก์ว่า “พระหน้าผี พระหน้าเปรต ไปฟ้องกู กูไม่กลัว” โจทก์เป็นพระภิกษุซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนทั่วไปถือว่าควรเคารพ การที่จำเลยว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าว จึงเป็นการดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393

        *****

          ​​​​​​​‘มารศาสนา’  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525 คำว่า ‘มารศาสนา’ ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง บุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้า คอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับ 1,000 บาท

        ****

          ​​​​​​​‘ไอ้หน้าโง่’ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542   การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า “มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่ มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล” นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วมว่า กูและมึงนั้น เป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ ส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้น เป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของพ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่ นั้น ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม พิพากษาปรับจำเลย 1,ooo บาท

   ****

            อีร้อย...(ตามด้วยคำลามก), อีดอกทอง  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2495   ด่าเขาว่า “อีร้อย.... อีดอกทอง” เป็นคำด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทซึ่งหน้าตาม กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 339(2)

          ​​​​​​​ดังนั้นจะพูดจาอะไรต้องระวัง !! จะได้ไม่เข้าทำนอง..‘ปากพาจน’



12/Jul/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา