ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

13 กย. 61 ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายกฟ้อง ในคดีที่นายเฉลียว ทิสาระ กับพวกรวม 18 ราย ซึ่งเป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนารอบเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ ฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีกรณีกำหนดพื้นที่แหล่งซากหอยขมดึกดำบรรพ์ในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายกฟ้อง ในคดีที่นายเฉลียว ทิสาระ กับพวกรวม 18 ราย ซึ่งเป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนารอบเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ ฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีกรณีกำหนดพื้นที่แหล่งซากหอยขมดึกดำบรรพ์ในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2547 ที่กำหนดพื้นที่ซากหอยขมดึกดำบรรพ์แม่เมาะเป็นพื้นที่อนุรักษ์เนื้อที่ 52 ไร่

โดยเป็นพื้นที่แหล่งหอยขมดึกดำบรรพ์ 18 ไร่ รวมพื้นที่อื่นอีก 34 ไร่ ซึ่งมีผลเป็นการเพิกถอนมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 ที่กำหนดพื้นที่ซากหอยขมดึกดำบรรพ์แม่เมาะเป็นพื้นที่ 43 ไร่ เป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ก็ได้ตรวจสอบและทำการรังวัดกันเขตพื้นที่ประทานบัตรเลขที่ 24349/15341 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ./ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4) ออกจากพื้นที่อนุรักษ์ซากหอยขมดึกดำบรรพ์ดังกล่าวแล้ว

ดังนั้น การทำเหมืองของ กฟผ. จึงเป็นการกระทำนอกพื้นที่อนุรักษ์แหล่งซากหอยขมดึกดำบรรพ์ตามมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า ซากหอยขมดึกดำบรรพ์ส่วนที่เหลือเนื้อที่ 18 ไร่ในพื้นที่อนุรักษ์ยังคงตั้งอยู่ได้ จึงยังไม่มีเหตุที่ศาลจะกำหนดคำบังคับให้ กฟผ.ดำเนินการจัดทำสิ่งป้องกันมิให้เกิดการพังทลายของซากหอยขมดึกดำบรรพ์อันเกิดจากการทำเหมือง ซึ่งหากมีเหตุการณ์พังทลายเช่นว่านั้นเกิดขึ้นจริง ผู้ฟ้องคดีก็ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลเป็นอีกเรื่องหนึ่งได้ต่อไป 

 

รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านจากคำพิพากษาฉบับเต็มที่แนบมาพร้อมนี้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.785/2561) 



18/Sep/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

2 มีค. 67 : 2 มีค. 67 : "ผู้ประกันตนเจ็บป่วย" ประกันสังคม ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา , กรุงเทพธุรกิจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบ...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา