ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

จ้างหลังเกษียณ แม้มีการต่อสัญญาจ้างหลายครั้ง ไม่มีกำหนดเวลาในสัญญา แต่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา นิติสัมพันธ์จึงไม่ใช่จ้างแรงงาน

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๐๘/๒๕๖๐

 

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการบริษัทจำเลย สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา มีการต่อสัญญาหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายต่อสัญญาถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ต่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ๑๘๐ วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๔๙๕,๐๐๐ บาท แต่จำเลยไม่จ่าย ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ๒,๙๗๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

จำเลยให้การว่า โจทก์เคยทำงานกับจำเลยเป็นลูกจ้างตำแหน่ง Executive เกษียณอายุวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ เมื่อเกษียณแล้ว โจทก์จ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมายและเลขานุการของจำเลยเพื่อให้บริการและให้ความช่วยเหลือจำเลย ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย

 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า การที่โจทก์ทำงานให้จำเลยไม่ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน พิพากษา

ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์

 

ศาลฎีกา เห็นว่า การพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยจะมีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างลูกจ้างกันตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในคดี และบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๗๕ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

 

มิใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าฝ่ายรับจ้างตกลงทำงานให้ฝ่ายว่าจ้าง และฝ่ายว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ และผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานทั้งหมดให้แก่ฝ่ายรับจ้างเท่านั้น

 

คดีนี้ภายหลังโจทก์เกษียณอายุแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาฉบับใหม่กับโจทก์ ระบุว่าจำเลยจ้างโจทก์ต่อไปตามสัญญาจ้างที่ปรึกษา (Consultancy Service Agreement) เป็นผู้รับจ้างอิสระในการให้บริการแก่โจทก์ ไม่ได้เป็นการแต่งตั้งเป็นพนักงาน การทำงานไม่อยู่ภายในกรอบระเบียบ กำหนดเวลาทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของจำเลย แสดงว่าโจทก์รับทำการงานให้จำเลยโดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจการบังคับบัญชา ไม่มีเวลาทำงานปกติ

 

นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่สัญญาในเรื่องจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๗๕ และไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างกันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย

 

พิพากษายืน



03/Nov/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา